อดีตรองหัวหน้าพรรคส้ม โพสต์ข้อมูล “สยามไบโอฯ” ตอกหน้า “ตี๋ทอน” ลูกพี่เก่า แถมไล่ไปศึกษาหาข้อมูล

9765

ไม่ไว้หน้าลูกพี่เก่า!? อดีตรองหัวหน้าพรรคส้ม โพสต์ข้อมูล “สยามไบโอฯ” ตอกหน้า “ตี๋ทอน” ลูกพี่เก่า แถมไล่ไปศึกษาหาข้อมูล!!

จากกรณีที่ทางด้านของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้ออกมาไลฟ์ผ่านเพจคณะก้าวหน้า ถึงประเด็น “วัคซีนพระราชทาน” โดยเป็นการบิดเบือนข้อมูลต่างๆ เพื่อมุ่งเป้าหมายไปที่การโจมตีรัฐบาล และหมิ่นสถาบันฯ โดยจะใช้คำว่า “วัคซีนพระราชทาน” ในการจุดประเด็นให้ประชาชนที่ไม่ได้ศึกษาหาข้อมูลหลงเชื่อว่า สถาบันฯ มีส่วนเกี่ยวข้อง กับวัคซีนผูกขาดกับรัฐบาลไทย

หลังจากนั้นทางด้านของ นายธนาธร ได้ถูกโจมตีอย่างหนัก เนื่องจากมีประชาชนไทยจำนวนมาก ที่ศึกษาหาข้อมูลและตามข่าวสารเกี่ยวกับ บริษัทสยามไบโอฯ รวมถึงเรื่องวัคซีนมาเป็นอย่างดี เข้ามาแย้งข้อมูลที่บิดเบือนของนายธนาธร เป็นอย่างมาก

หลังจากนั้นในวันที่ 20 ม.ค.64 ทางด้านของ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) มอบหมายให้นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพย์ ผู้ช่วยรมว.ดิจิทัลฯ ร่วมกับ นายทศพล เพ็งส้ม และนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยื่นแจ้งความเอาผิด นายธนาธร ฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560

ล่าสุดในวันที่ 25 ม.ค.64 ทางด้านของ พล.ท.พงศกร รอดชมภู อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ในเรื่องของวัคซีน Astra Zeneca และ Siam Bioscience ถึงความเป็นจริง เรียกได้ว่าตบหน้าอดีตลูกพี่ใหญ่ อย่าง นายธนาธร อย่างแรงโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เรื่องนี้อยู่ในกลุ่มข้าราชการ เอาข้อมูลมาให็ศึกษาเพิ่มเติมครับ
………..
สำหรับเภสัช เราคาดหวังอยากให้ทุกคนเข้าใจ
(แชร์โพสต์นี้ได้นะครับ)
…..
ทำไมไทยถึงเลือกวัคซีน Astra Zeneca
1. ถ้าเทียบกับ เทคโนโลยี ของ AZ ดีสุด เมื่อเทียบกับไฟเซอร์และ โมเดนา ตรงที่ผลของการสร้างภูมิคุ้มกันไม่สวิง

2. ของไฟเซอร์ ใช้เวลาทดลองแค่ 2 เดือน และใช้คนทดลองน้อยกว่า มันจึงเร็วกว่าเพือน ในขณะที่ของเจ้าอื่นใช้เวลา ทดสอบ 3 เดือน และคนมากกว่า แต่ทางแพทย์ก็ประเมินแล้วว่าการทำวัคซีนมันมีความเสี่ยง โดยปกติเค้าทดลองวิจัยวัคซีนกัน 10 ปี ดังนั้น การเลือกผลที่ยาวกว่า ค่อนข้างมันใจมากกว่า

3. เรื่องนี้ แอบมีดรามานิดๆ ถ้าใครติดตามข่าว จริงๆแล้ว Astra น่าจะเป็นบริษัทแรกที่ได้รับรองวัคซีน ก่อนไฟเซอร์นิดเดียวเพราะเข้าการทดลองระยะที่ 3 ก่อนเพื่อนด้วย แต่ดันมาติดตรงที่ว่า เดือน ตค. มีกลุ่มทดลองคนนึงเสียชีวิต แล้ว อย.สหรัฐ และ อังกฤษหยุดการทดสอบเพื่อสืบสวน แต่พอสืบแล้วพบว่าเป็นคนไข้กลุ่มควบคุมหรือ placebo ที่ไม่ได้รับวัคซีนจริง อย. UK ให้ทดลองต่อในสัปดาห์เดียว แต่ อย. สหรัฐดึงเรื่องไว้เกือบเดือน ทำให้ วัคซีนของ AZ ผลออกมาช้ากว่า แต่เราไม่ทราบเหตุผลของ US FDA

4. ที่เลือกทุ่มแทงม้าตัวเดียว ก็เพราะมหาวิทยาลัย OXFORD ได้ทำสัญญากับ Astra Zeneca ไว้ว่า ต้องขายราคาไม่เกิน 5 USD หรือไม่เกิน 180 บาท โดยได้ตกลงว่าถ้าหมดภาวะ Pandemic แล้ว หรือการระบาดแล้ว

AZ สามารถ ปรับราคาได้ตามกลไกตลาด ทั้งนี้ได้มีการตกลงร่วมกันว่า นิยามของ Pandemic Period คือ วันที่ 1 July 2021 ด้วยผลที่เทียบกันแล้ว ตามตาราง การลงทุนใน AZ สมเหตุสมผลกว่าเยอะ

5. เมื่อเทียบกับต้นทุนอื่นแล้ว Astra ถูกสุด ทั้ง pfizer ต้องลงทุนการขนส่งทำเครื่องเก็บอุณหภูมิใหม่ในราคาอีก 10,000. USD หรือ 350,000 บาท อายุก็สั้นกว่า moderna ก็อายุสั้น ต่างจากของ AZ ที่เก็บได้นาน 180 วัน

6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้มาเป็นของแถมด้วยถือว่าคุ้ม
ถ้าเทียบกับ candidate ที่มีในตอนนี้ ของ Astra ดีสุด
แต่ผมเชียร์ของ JNJ นะกับของ Sanofi ที่ใช้เทคโนโลยีของ GSK นะ เพราะเค้าใช้การตัดต่อยีนส์ที่เรียกว่า recombinant หรือพันธุวิศวกรรม ที่ให้ผลเกือบ 100% แต่มาช้าไป

อย่าง JNJ จะเสร็จสิ้นการทดลองระยะที่ 3 สิ้นเดือน มค. 64 นี้ และคาดว่าจะใช้ได้จริงเดือนเมษายนนี้ ส่วน Sanofi น่าจะรออีกนาน
ที่เลือกเพราะว่า มันกันได้เกือบ 100% แต่ของดีต้องรอ

7. ประเด็นเรื่องโรงงานผลิต
โรงงานองค์การเภสัชกรรม เป็นโรงงานที่ผลิตวัคซีนจากเชื้อตาย ซึ่งมันคือวัคซีนแบบโลกเก่า ต้องมีการเพาะเลี้ยงเชื้อก่อน อีก 3-4 เดือน ซึ่งวัคซีนแบบนี้ที่องค์การเภสัชกรรมทำเหมือนกับวัคซีนของ shinovac เทคโนโลยีนี้มันช้า และมีความเสี่ยงสูง

ในขณะที่วัคซีนของ Astra หรือ เป็นวัคซีนโลกใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีแบบ non replicating DNA ต้อง คือ ต้องเป็นเครื่องมือที่เจาะลงไประดับยีนส์ ซึ่งปัจจุบัน Siam Bioscience เค้าผลิตยามะเร็ง และยาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่คุ้นเคยเทคโนโลยีแบบนี้อยู่แล้ว ความเชี่ยวชาญมันได้กว่า

คำตอบคือ อภ. ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันแต่ Siam Bioscience เค้ามีทรัพยากรเหมาะสมกว่า แค่เราเทคโนโลยีมาลง แล้วทำได้เลย เครื่องมือพอ
ไปด้วยกันได้แต่อาจจะเป็นไปได้ที่จะให้ โรงงาน อภ. ช่วย repack ให้ได้
วิชาชีพเภสัขกรรม นั้นเป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้นะ คือมันเป็นวิชาชีพ
ต้องฝึกฝนให้เชี่ยวชาญนะ

การพูดว่า ถ้า Siam Bioscience ผลิตวัคซีนผิดพลาด
เรารู้ว่าคุณจะตั้งใจพูดกระทบใครนะ แต่ไม่ขอเอามายุ่ง
แต่ก่อนจะกระทบคนนั้น
มันกระทบจิตใจ เภสัชกร แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ก่อนนะ
คุณกำลังดูถูกวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่นะ
เราไม่ได้ถูกสอนเผื่อผลิตยาไปฆ่าใคร
เราตั้งใจผลิตยาและเวชภัณฑ์เพื่อปกป้องทุกคน
เราเหนื่อยเพื่ออยากให้ทุกคนหายจากโรค

8. ทำไมถึงไม่ประมูล
การประมูลใช้กับของชิ้นเดียวกัน ที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่เลือกว่าจะให้ใครทำ
แต่วัคซีนคือการเลือกซื้อของที่แตกต่างกัน ต่างคนทำ การประมูลทำไม่ได้ แต่มันคือ การจัดซื้อมากกว่า เพราะ แต่ละเจ้าไม่เหมือนกันเลย หน้าที่หมอและเภสัชคือการเลือกเจ้าที่ดึที่สุด คือ AZ ถูกแล้ว ทั้งถูกและผลก็โอแม้จะห่างกันแค่ 4-5% แต่ราคาห่างกันมาก

แล้วที่สำคัญ ถ้าไม่ซื้อตอนนี้ เดือน 6 ราคาจะขึ้นล่ะนะ เทียบให้ดูแล้ว เห็นกันชัดๆ ว่าของใครดีกว่า การทดลองก็ใช้คนมากกว่า side effect ก็น้อยกว่า ทดลองก็นานกว่า ราคาก็ถูกกว่า อายุก็ยาวกว่า ยังไงก็เป็นเหตุผลที่สมควรที่สุดแล้ว

การเลือกวัคซีนนั้นไม่ได้ผ่านรัฐบาล แต่ผ่านหมอผู้เชี่ยวชาญหลายๆคน
ที่มีทั้งประสบการณ์ วุฒิภาวะสูงทุกท่าน ไตร่ตรองถี่ถ้วนแล้ว เพียงแต่รัฐบาลรองรับความเสี่ยง

การเลือกวัคซีนจึงไม่ใช่เลือกตามหลักการลงทุนที่ต้องกระจายความเสี่ยงตามหลักการตระกร้าหลายใบของนักลงทุน
สำหรับแพทย์นะ การตายเพียงแค่คนเดียวจากล้านคนก็มีความหมาย

ฝากบอกต่อด้วยนะ
ว่าบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ก็ทุ่มเทเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดกับสุขภาพของคนไทยทุกคนสำหรับเภสัช เราคาดหวังอยากให้ทุกคนเข้าใจ