หม่อมโจ้ เปิดสมอง ธนาธร หลังวิจารณ์วัคซีน “แทงม้าตัวเดียว” อธิบายชัดทำไมต้องแอสตร้าเซนเนก้า

4196

ยังคงเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง สำหรับพฤติกรรมของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ซึ่งได้ออกมาไลฟ์สดทางเพจคณะก้าวหน้าในหัวข้อ “วัคซีนพระราชทานฯ” พูดถึงการจัดหาและผลิตวัคซีนโควิดในประเทศไทยก่อนที่จะพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์โดยอ้างถึงการถือหุ้นบริษัทผลิตวัคซีน???

ทั้งนี้ แม้ว่าเจ้าตัวจะออกมาแถลงถึงกรณีโดนแจ้งข้อกล่าวหาทั้งความผิดตามมาตรา 112 และพรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 โดยมีบางช่วงระบุว่า ถ้าประเทศไทยยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ก็ยังเหมือนอยู่ในอุโมงค์ แม้จะมีแสงสว่าง แต่ก็ยังอยู่ในความมืดมิดอยู่กับ 6 เดือนที่ยังไม่มีวัคซีนมาฉีด คนไทยก็จะอยู่ในอาการหวาดผวา การออกมาพูดของตนนั้นเพียงวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

“ตนเห็นว่าพลเอกประยุทธ์ พยายามบิดเบือนเมื่อไหร่ที่ทำผิดพลาดก็จะใช้คดีความมาปิดปากคนอื่น การที่ตนพูดเรื่องวัคซีนก็เพราะสงสัยว่าเป็นการเอื้อให้กับบริษัทเอกชนรายใดรายหนึ่งหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้เองที่ทำให้ไม่ว่าชอบหรือไม่ชอบสถาบันก็จะทำให้คนพิจารณามากขึ้นจากเรื่องนี้ และไม่ใช่ผมที่ดึงสถาบันมายุ่งกับเรื่องนี้ อย่าใช้คดีมาตรา 112 ปิดปาก” นอกจากนี้นายธนาธร ยังอ้างว่าไม่ได้เป็นคนเริ่มใช้คำว่า วัคซีนพระราชทาน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร หรือ หม่อมโจ้ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “รุ่งคุณ กิติยากร” ว่า โชคของคนไทย กรณี Oxford-AstraZeneca? กับบรรดาวัคซีนในปัจจุบัน ที่เสี่ยงที่สุด คงไม่พ้น mRNA วัคซีน เช่น Pfizer และ Moderna ซึ่งเป็นการทดลองวิธีการใหม่ กับสิ่งที่ดูจะเป็นผลข้างเคียงในระยะสั้น เราได้เห็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดในทางลบบ้าง เช่นกับผู้สูงอายุทั้งใน Norway ที่เสียชีวิต 23 ราย และที่ New York อีก 24 ราย อย่างกะทันหัน ภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน

ส่วนผลข้างเคียงระยะยาว ไม่สามารถเดาได้เลยว่าจะมีอะไรบ้าง ตั้งแต่การเป็นหมัน หรือการจะเกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ใช่อะไรที่จะทราบได้เลยว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากเป็นกรณีที่ 2 ยอดผู้เสียชีวิตจากวัคซีน (แม้อาจลงว่าเสียชีวิตด้วยโรคอื่น) อาจสูงกว่ายอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดทั้งหมด ก็เป็นได้

ด้วยความเสี่ยงของวัคซีนประเภทนี้ ตามผลสำรวจ เราจึงเห็นว่าคนจำนวนมากจะไม่ยอมรับ เช่น ชาวอเมริกัน 40% และชาวฝรั่งเศส 60% เพราะไม่คุ้มความเสี่ยงเลย โดยเฉพาะเพื่อการคุ้มกันเพียงชั่วคราว โดยตามสถิติของผู้ติดเชื้อ หลัง 4 เดือน Antibody จะเริ่มลดลงอย่างเร็ว

ด้วยประการเหล่านี้ ต่อให้ไม่เกิดผลเลวร้ายในวงกว้างอย่างที่กลัวกัน ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคได้ โดยโควิดที่มีอัตราการแพร่ (R0) สูง การจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ Herd Immunity จะต้องไม่ต่ำกว่า 70%-75% แต่เมื่อเพียงจำนวนหนึ่งพร้อมที่จะเสี่ยงฉีด ยังไงก็ไม่เกิดกับวัคซีนตามแบบแผนเดิม Traditional

Sinovac จากที่อ้างว่ามีประสิทธิภาพ 78% แต่ในการใช้จริงที่ Brazil ปรากฏว่า มีประสิทธิภาพจริงเพียง 50.3% โดย 50% คือมาตรฐานต่ำสุดที่จะผ่าน ต่ำกว่านี้อีก 0.4% ก็ตก ไม่สามารถจำหน่ายแล้ว

แม้ความเสี่ยงของ Traditional วัคซีน จะน้อยกว่ากลุ่มของ mRNA แต่ด้วยกระบวนการที่เร่งรัดรวดเร็ว ก็เสี่ยงกว่าวัคซีนที่ปกติทำเกิน 4 ปี ตรงนี้ประกอบกับประสิทธิภาพเพียง 50% ก็คงจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะไปคิดว่าคุ้มค่าความเสี่ยง เช่นเดียวกับ mRNA วัคซีน และต่อให้ฉีดกันทุกคนทั้งโลก ด้วยประสิทธิภาพเพียง 50% ก็ไม่ได้ใกล้เคียงจะไปสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่ 70% หมู่ได้เลย

ม้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เหลือตัวเดียวเท่านั้น ที่มีโอกาส จะควบคุมโรคนี้ได้ นั่นก็คือวัคซีน Oxford-AstraZeneca ที่ได้เลือกไทยผู้ผลิตในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากจะเป็นวัคซีนตามแบบแผนเดิม Traditional ที่ปลอดภัยกว่า ล่าสุดด้วยการลดปริมาณในการฉีด ได้เพิ่มประสิทธิภาพสูงถึง 90% และอีกองค์ประกอบสำคัญ เป็นการผลิตโดยไม่แสวงหากำไร ซึ่งผลไม่ใช่เพียงแค่ราคาจะถูกกว่า แต่มากกว่านั่น คือความน่าเชื่อถือและศรัทธา

หากจะมีวัคซีนตัวไหนในปัจจุบัน ที่จะนำสู่การสร้างภูมิคุ้มกันในวงกว้าง ถึง 70% หรือ Herd Immunity ที่จะควบคุมโรคโควิดได้ วัคซีนตัวนั้นคือวัคซีนของ Oxford-AstraZeneca (หากมีประสิทธิภาพตามอ้างจริง)

จากภาวะความเป็นอยู่และเศรษกิจ หลายคนเรียกร้องความรวดเร็ว การนำหลากหลายวัคซีนมาใช้ โดยหวังจะกลับสู่โดยเร็ว แต่ความจริงคือ ไม่ว่าอย่างไร มันไม่ได้สามารถที่จะกลับคืนใกล้เคียงปกติได้อีกนาน

แค่สถิติ 2 ประเทศที่ฉีด mRNA วัคซีนไปก่อนเป็นเดือน และฉีดประชากรไปเยอะที่สุดในโลก 2 ประเทศ Israel และ UAE ก็จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังทำสถิติการติดสูงสุดต่อวันอยู่อย่างไม่หยุดยั้ง (ภาพลงกล่อง comment แรก)

หากจะควบคุมโรคนี้ โดยสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในสังคมจากวัคซีน แทนมาตรการกักกัน หมายถึง วัคซีนต้องมีประสิทธิภาพจริง และ จำนวนมากพอของสังคมต้องพร้อมรับ และรับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เมื่อ antibody ลดลง เป็นอะไรที่ หากจะเกิด ก็ยังจะใช้เวลาอีกนาน ไม่ใช่อะไรที่จะเกิดในเร็วนี้ หรือแม้ปีนี้

โดยสิ่งที่ทำให้ช้าลง หรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ก็คือ นำการเอาวัคซีนที่ไม่เกิดผลหรือเกิดผลเสีย มาทดลองฉีด จนทำลายความเชื่อมั่นในวัคซีน จนในที่สุดจำนวนน้อยที่ยอมรับ

ที่ผ่านมา ในการควบคุมโควิดด้วยมาตรการ ประเทศไทยเรามีความสำเร็จอยู่ในระดับต้น ๆ ของโลก ด้วยการแทงม้าตัวเดียวที่ยังมีโอกาสวิ่งถึงเส้นชัยได้ ตอนนี้เรามีโอกาสดีมากที่จะประสบความสำเร็จในระดับต้น ๆ ของโลก ในการควบคุมโควิดด้วยภูมิคุ้มกันหมู่เช่นกัน