จากกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ชี้แจงว่า ตนเองไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มคำว่า วัคซีนพระราชทาน โดยระบุว่าเป็นคำพูดของพล.อ.ประยุทธ์ ในพิธีลงนามสัญญาจัดหาวัคซีนโควิด-19 และยังท้าให้รัฐบาลกางสัญญาการสั่งซื้อ
รวมไปถึงงบ 600 ล้านบาท ที่สนับสนุนการผลิตให้กับบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เพื่อแสดงความโปร่งใส โดยการกระทำดังกล่าวของนายธนาธร เรียกได้ว่าเข้าข่ายและดูจงใจหมิ่นพระเกียรติในหลวงร.9 รวมทั้งยังมีการโจมตีสถาบันมาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ล่าสุดในเฟซบุ๊ก Pasakorn Ton Kongsakorn ได้โพสต์เล่าเรื่องราวของในหลวงร.9 กับการวางรากฐานเรื่องวัคซีน จะวันนี้นำมาสู่การใช้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เป็นฐานการผลิต โดยระบุว่า “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ป้อนวัคซีนโปลิโอให้กับเด็กชาวเขาคนหนึ่ง ”
ครั้งหนึ่ง โปลิโอเคยเป็นโรคระบาดในประเทศไทย
โดยต้องย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ.2495 ครั้งนั้นเกิดโรคโปลิโอระบาดหนัก
โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
โดยเชื้อจะเข้าไปทำลายเซลล์ประสาท
ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ
หากทำลายส่วนกล้ามเนื้อแขน หรือ ขา
ก็ทำให้แขนขาลีบเล็ก อ่อนแรง หรือกระทั่งใช้งานไม่ได้ และหากทำลายกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ก็จะทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้
ในหลวง รัชกาลที่ 9 จึงทรงพระราชทานทุนประเดิม เพื่อจัดตั้ง “กองทุนโปลิโอสงเคราะห์” ขึ้น
พร้อมออก ประกาศเชิญชวนปวงชาวไทย โดยเสด็จพระราชกุศลด้วยการ
“ทรงโซโลแซ็กโซโฟนเพลงตามคำขอ” ทางวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต ทำให้ได้เงินจำนวนมาก
ส่งไปพระราชทานแก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
และมหาวิทยาลัยมหิดล (รพ.ศิริราช)
ใช้เป็นทุนก่อสร้างอาคาร และซื้อเวชภัณฑ์
สนับสนุนการค้นคว้าทางวิชาการและผลิตวัคซีน
เมื่อสามารถผลิตวัคซีนป้องกันออกมาใช้ได้แล้ว
ทุกครั้งที่ในหลวงออกเยี่ยมราษฏรในต่างจังหวัด
ก็ทรงให้แพทย์หลวงนำวัคซีนไปด้วย
เพื่อไปหยอดให้กับเด็ก ๆ ตามหมู่บ้าน
มีเรื่องเล่ากันว่า เด็กบางคนไม่ยอมให้หยอด
แต่พอในหลวงจะหยอดให้
ก็อ้าปากให้หยอดโดยดี
จากวันนั้นจนวันนี้ ประเทศไทยได้รับการรับรอง
จากองค์การอนามัยโลกว่า เป็นประเทศที่
ปลอดจาก โปลิโอ แล้ว
โดยพบผู้ป่วยรายสุดท้ายเมื่อปี 2540
ขณะที่ประเทศอินเดียได้เกิดข่าวเศร้าขึ้น เมื่อสำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นในพื้นที่ของบริษัทสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ที่เมืองปูเน่ รัฐมหาราษฏระ ซึ่งปัจจุบันใช้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชื่อ “โควิชีลด์” (Covishield) หลายล้านโดสที่พัฒนาโดยบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ
สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น ได้เผยแพร่ภาพควันไฟหนาทึบ ลอยออกจากอาคารที่กำลังก่อสร้างในพื้นที่ดังกล่าว แต่บริษัทสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียยืนยันว่า ทั้งโรงงานผลิตและวัคซีนของบริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากเพลิงไหม้ครั้งนี้ อย่างไรก็ตามทางด้านเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงได้แล้ว แต่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้อย่างน้อย 5 คน
สำหรับบริษัทสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ก่อตั้งในปี 2509 เป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยกำลังการผลิต 1,500 ล้านโดสต่อปีก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19
โดยปกติแล้วบริษัทดังกล่าว จะผลิตวัคซีนสำหรับหลายโรค ได้แก่ โปลิโอ คอตีบ บาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบบี หัด คางทูม และหัดเยอรมัน และส่งออกวัคซีนให้กว่า 170 ประเทศทั่วโลก