“แอสตราเซเนกา” เปิดเหตุผลที่เลือก “สยามไบโอฯ” เป็นผู้ผลิตวัคซีนโควิดให้คนไทย!?!

3115

ปลดแอกเลิกมโน!?! ผู้บริหาร แอสตราเซเนกา ผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 รายใหญ่ของโลก เปิดเหตุผลที่เลือก “สยามไบโอไซเอนซ์”

จากกรณีเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ไลฟ์สดทางเพจคณะก้าวหน้าในหัวข้อ “วัคซีนพระราชทานฯ : ใครได้-ใครเสีย?” เปิดเผยข้อมูลสำคัญว่าด้วยการจัดหาและผลิตวัคซีนโควิดในประเทศไทย ที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่ง, ทำไมประเทศไทยได้วัคซีนช้า, และทำไมรัฐบาลถึงจัดหาวัคซีนได้ไม่ครอบคลุมจำนวนประชากรที่เหมาะสม

นายธนาธร ระบุว่า การที่คนไทยได้วัคซีนช้าและไม่ครอบคลุมจำนวนประชากร จะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในปี 2564 เป็นอย่างมาก หลายประเทศวันนี้เร่งมือฉีดวัคซีนให้กับประชากรแล้ว แต่การที่ประเทศไทยได้วัคซีนช้า ย่อมหมายถึงการเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศ การเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน การเจรจาธุรกิจกับคู่ค้าจากต่างประเทศเริ่มได้ล่าช้า และเพิ่มความเสี่ยงให้กับประชาชน ที่ยังไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้

เหตุผลที่รัฐบาลหาวัคซีนได้ช้า ก็เพราะประมาท ไม่ได้ใส่ใจในการเร่งจัดหาวัคซีนอย่างเหมาะสมทันท่วงที สมัยพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบใหม่ๆ ได้เคยเสนอกับรัฐบาลไปแล้ว ว่าต้องจัดสรรวัคซีนให้เพียงพอ ให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศโดยเร็วที่สุด แต่ความความประมาททำให้เกิดการเจรจาช้า และเมื่อเจรจาได้เพียงบริษัทเดียวก็ไม่มีความพยายามเจรจากับบริษัทอื่นๆอีกเท่าที่ควร ต่างจากหลายประเทศที่ล้วนแสวงหาวัคซีนจากเอกชนหลายราย ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ต่อมาทางกลุ่มแนวร่วมปลดแอก และกลุ่มแกนนำ ได้ออกมาโจมตีในเรื่องของการผลิตวัคซีน ซึ่งบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ที่ก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ว่าเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการผลิตวัคซีน

ล่าสุดเมื่อวานนี้ (19 มกราคม 2564) นายอวิรุทธ์ ชาญชัยกิตติกร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาคดีทุจริตฯ  ได้โพสต์เฟซบุ๊ก โดยแชร์บทความจาก https://reporter-journey.com ในเรื่อง เปิดคำสัมภาษณ์ผู้บริหาร AstraZeneca ว่าทำไมวัคซีนจาก Oxford ถึงห้ามขายทำกำไร-และในอาเซียน บริษัทที่เข้าเงื่อนไขการผลิตวัคซีนโดยไม่ประสงค์ต่อกำไรมีเพียงบริษัทเดียวคือ “สยามไบโอไซเอนซ์” ของประเทศไทย ซึ่งมีการแชร์บทความดังกล่าวจำนวนมาก โดยมีเนื้อหาว่า

บทความแปลจาก Reporter Journey นี้ เป็นการคัดบางส่วนจากบทความต้นฉบับของ BBC (ประเทศอังกฤษ) โดยบทความดังกล่าวที่หยิบยกมาชื่อว่า “Oxford-AstraZeneca vaccine: Bogus reports, accidental finds – the story of the jab.” ที่เล่าถึงกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่วันแรก ผ่านผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนจริง ๆ การเผชิญหน้ากับปัญหาและความยากลำบากจริง ๆ รวมทั้งการทดสอบวัคซีนกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเขียนไว้อย่างละเอียด

ซึ่งประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในบทความนี้คือ คำพูดของทาง Sir Mene Pangalos รองประธานบริหารของ AstraZeneca หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 รายใหญ่ของโลก ที่ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง BBC อังกฤษ ถึงข้อตกลงในการผลิตวัคซีนที่คิดค้นและวิจัยโดย Oxford มหาวิทยาลัยชื่อดังอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในความหวังของการมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค

สำหรับเส้นทางการทดสอบวัคซีนของ Oxford นั้นจากเดิมที่มีการวิจัยและทดสอบกันในโรงงานของสถาบันฯ ซึ่งมีขนาดที่เล็กมากและกำลังการผลิตน้อย จึงไม่สามารถรองรับความต้องการได้ ทีมวิจัยจึงตัดสินใจที่จะจ้างการผลิตบางส่วนไปยังอิตาลี แต่เมื่อตัวอย่างวัคซีนชุดแรกพร้อมจะผลิตก็เกิดปัญหาขึ้น จากการปิดตายการเดินทางทั่วยุโรป นั่นหมายความว่าไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ใดที่จะขนส่งไปกรุงโรม ประเทศอิตาลีได้

ในที่สุดทีมวิจัยจึงต้องเช่าเหมาเครื่องบินเพื่อนำวัคซีน 500 โดสไปผลิต เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะได้รับวัคซีนนี้ทันเวลา ซึ่งนี่เป็นส่วนที่สำคัญมากของเรื่องราวการเริ่มต้นขยายปริมาณวัคซีนให้มากขึ้นในหลายเดือนให้หลังจากนั้น โดยผู้ผลิตชาวอิตาลีใช้เทคนิคที่แตกต่างกันใน Oxford เพื่อตรวจสอบความเข้มข้นของวัคซีนว่า มีอนุภาคไวรัสจำนวนเท่าใดเจือปนอยู่ในแต่ละครั้ง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของ Oxford ใช้วิธีการของพวกเขาปรากฏว่า วัคซีนของอิตาลีมีความเข้มข้นขึ้น 2 เท่า!!

ทั้งนี้มีการพูดคุยไปยังหน่วยงานกำกับดูแลทางการแพทย์ เป็นที่ตกลงกันว่าอาสาสมัครควรได้รับวัคซีนเพียงครึ่งเดียวโดยพิจารณาว่า นี่เป็นเรื่องของความปลอดภัยต่อผู้ทดสอบ และการให้น้อยลงคงปลอดภัยมากกว่าที่จะให้โดสเข้มข้นมากเกินไป แต่หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์นักวิทยาศาสตร์ก็ตระหนักว่ามีบางอย่างเกิดขึ้น อาสาสมัครไม่ได้รับผลข้างเคียงตามปกติ เช่น เจ็บแขนหรือมีไข้ อาสาสมัครประมาณ 1,300 คนได้รับวัคซีนเพียงครึ่งเดียวแทนที่จะเต็ม 1 เข็ม หน่วยงานกำกับดูแลอิสระกล่าวว่าการทดลองควรดำเนินต่อไปและกลุ่ม Half-Dose สามารถอยู่ในเคสการศึกษาได้

ในตอนนั้นทีมวิจัยของ Oxford ยอมกัดฟันเมื่อมีข้อเสนอแนะว่าการให้วัคซีนในสูตรของ Oxford อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเข้มข้น แต่มันได้รับการพิสูจน์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าว่า พวกเขาคือกลุ่มดาวเด่นในแง่ของประสิทธิภาพของวัคซีน

ตั้งแต่เริ่มต้นทีมงานของ Oxford มีเป้าหมายในการสร้างวัคซีนที่สามารถช่วยโลกได้ ดังนั้นพวกเขาต้องการปริมาณหลายพันล้านโดสซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตในระดับอุตสาหกรรมเท่านั้นที่สามารถทำได้ ทำให้ Sir Mene Pangalos รองประธานบริหารของ AstraZeneca ยักษ์ใหญ่ด้านเวชภัณฑ์ในเคมบริดจ์ แนะนำว่าบริษัทสามารถช่วยให้ความต้องการของ Oxford เป็นจริงได้

แต่ Oxford ก็มีเงื่อนไขอยู่ว่า “วัคซีนควรมีราคาไม่แพง” ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีผลกำไรสำหรับบริษัทยา กล่าวคือ “บริษัทยาที่จะผลิตวัคซีนของ Oxford ห้ามกระทำการค้าที่ก่อให้เกิดผลกำไร”

“เพราะจุดประสงค์หลักของวัคซีนสูตร Oxford ก็เพื่อช่วยคนทั่วโลก ไม่ใช่ช่วยสร้างความมั่งคั่งให้กับนายทุน”

หลังจากการเจรจาอย่างเข้มข้นพวกเขาบรรลุข้อตกลงเมื่อปลายเดือนเมษายนปี 2563 ว่า วัคซีนนี้จะจัดให้โดยไม่หวังผลกำไรทั่วโลก เพราะเอาเข้าจริงแล้วในช่วงเวลาของการระบาดแบบนี้ วัคซีนหรือยามักจะมีราคาแพงสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ดังนั้นเพื่อการกระจายวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันจึงต้องไม่มีผลกำไรมาเกี่ยวข้อง

โดยบริษัทที่เข้าเงื่อนไขการผลิตวัคซีนโดยไม่ประสงค์ต่อกำไรคือ “สยามไบโอไซเอนซ์” ของประเทศไทย และถูกกำหนดให้เป็นบริษัทเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนสูตร Oxford กระจายไปทั่วทั้งย่านนี้

ที่สำคัญที่สุด AstraZeneca ตกลงที่จะรับความเสี่ยงทางการเงินแม้ว่าวัคซีนจะไม่ได้ผลก็ตาม

ในเดือนพฤษภาคม 2563 ด้วยความเชื่อมั่นอย่างมาก รัฐบาลสหราชอาณาจักรตกลงที่จะซื้อวัคซีน 100 ล้านโดสและให้การสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนอีกเกือบ 90 ล้านปอนด์

ในช่วงต้นฤดูร้อนที่ผ่านมา ระดับการติดเชื้อโคโรนาไวรัสลดลงในสหราชอาณาจักร แม้ว่านี่จะเป็นข่าวดี แต่ก็ทำให้การใช้ชีวิตยากขึ้นสำหรับการทดลองซึ่งต้องอาศัยอาสาสมัครที่สัมผัสกับไวรัส เพื่อที่จะทราบว่าวัคซีนจะป้องกันพวกเขาได้หรือไม่ ดังนั้นวัคซีนจึงต้องลองส่งไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างในประเทศอื่น ๆ ด้วยเพื่อดูว่ามันทำงานอย่างไรในประเทศที่มีลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน

และแล้วการทดสอบก็ได้เริ่มขึ้นในแอฟริกาใต้ และบราซิลซึ่งในไม่ช้ากลายเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ผลการวิจัยเบื้องต้นได้รับการเผยแพร่ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของอาสาสมัคร 1,000 คนแรกหรือไม่ ตอนนั้นทีมงานรู้สึกกดดัน
Prof Katie Ewer ผู้เป็นหัวหน้าทีมทดสอบกล่าวว่า “ฉันทำงานเกี่ยวกับวัคซีนมานานพอที่จะรู้ว่าวัคซีนส่วนใหญ่ที่ผลิตกันมาจากที่ต่าง ๆ ใช้ไม่ได้ผล และมันเป็นความรู้สึกที่เลวร้ายที่สุดในโลกที่มีความคาดหวังสูงเช่นนี้แล้วก็ไม่เห็นอะไรเลย”

ข่าวดี วัคซีนของ Oxford – AstraZeneca ดูเหมือนจะปลอดภัย และได้กระตุ้นการตอบสนองระบบภูมิคุ้มกันแบบที่พวกเขาหวังไว้ มันผลิตแอนติบอดีที่ต่อต้านไวรัสและเซลล์ T ซึ่งสามารถฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อได้ แต่ข้อมูลยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ เพราะก่อนหน้านี้ทีม Oxford หวังว่าจะผลิตวัคซีนที่สามารถส่งมอบได้ในครั้งเดียวดังนั้นจึงมีวัคซีนเพิ่มขึ้นอีกรอบ

อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมทดสอบ 10 คนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส แสดงให้เห็นว่ามีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นมาก ดังนั้นอาสาสมัครทุกคนจึงได้รับเชิญให้กลับมารับวัคซีนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มโอกาสในการป้องกัน ซึ่งแม้ว่าผลลัพธ์ในช่วงแรกเหล่านี้จะมีแนวโน้มที่ดี แต่ในขั้นตอนนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าวัคซีนสามารถป้องกันโควิด -19 ได้จริงหรือไม่

อย่างไรก็ตามในบทความยังกล่าวถึงการทดลองวัคซีนจากบริษัทอื่นว่า ในเดือนพฤศจิกายนมีการเผยแพร่ผลการทดลองวัคซีนอีก 2 รายการ คือ Pfizer-BioNTech เป็นเจ้าแรก จากนั้นหนึ่งสัปดาห์ต่อมา Moderna ได้ประกาศว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพประมาณ 95% ทำให้ทีมงาน Oxford เริ่มมีกำลังใจ

ในที่สุดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน คณะกรรมการอิสระด้านความปลอดภัยของข้อมูลก็พร้อมที่จะเปิดเผยผลการวิจัยของ Oxford-AstraZeneca แต่ผลลัพธ์ที่ได้น่าประหลาดใจและซับซ้อนกว่าที่คาดไว้

ในขณะที่ Pfizer-BioNTech และ Moderna มีตัวเลขประสิทธิภาพที่สูงมาก ส่วน Oxford ได้ตัวเลขผลลัพธ์
ว่าป้องกันได้โดยรวม 70%โดยมาจากผู้ได้รับ 2 โดสเต็มสามารถป้องกันไวรัสได้ 62%
ในขณะที่ผลลัพธ์ที่ไม่มีใครคาดคิดคือในกลุ่มเล็ก ๆ ที่ได้รับยาครึ่งโดสครั้งแรก และเต็มโดสในเข็มที่ 2 จะมีภูมิคุ้มกันสูงสุด 90% แถมยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากการรับวัคซีนสูตร Oxford

มันเรื่องที่น่าสนใจคือ เมื่อรับวัคซีนไป ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายค่อย ๆ ถูกสร้างขึ้นเรื่อย ๆ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ นอกจากนี้อาสาสมัครทั้งหมดในกลุ่มนี้อายุต่ำกว่า 55 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความแข็งแรงของร่ายกายสูง

เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2563 ทีมวิจัย Oxford ได้เผยแพร่การวิเคราะห์ข้อมูลการทดลองของพวกเขาในวารสารทางการแพทย์ Lancet ความโปร่งใสนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญมั่นใจได้ว่า แม้ประสิทธิภาพของวัคซีนต่อการฉีด 1 เข็มจะน้อยกว่าของ Pfizer-BioNTech เล็กน้อย แต่ความปลอดภัย และอาการแพ้ที่รุนแรงไม่มีปรากฏเหมือนกับวัคซีนของบริษัทอื่น

อีกทั้ง Oxford-AstraZeneca ก็มีข้อได้เปรียบที่สำคัญคือขวดของมันสามารถเก็บและขนส่งได้ที่อุณหภูมิตู้เย็นปกติ ในขณะที่ Pfizer-BioNTech ต้องจัดเก็บในอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส ซึ่งมีต้นทุนตู้แช่และการขนส่งที่สูง ทำให้วัคซีนจะมีราคาสูงตามไปด้วย

สำหรับบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ มาจากพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสเรื่องสุขภาพของประชาชน ด้วยทรงเห็นว่า คน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาประเทศ สร้างความพอมี พอกิน และทรงให้ความสำคัญในการฟื้นฟูปัญหาสุขภาพของประชาชน เพื่อการพัฒนาประโยชน์สุขให้เกิดกับส่วนรวมและประเทศชาติ โดยสยามไบโอไซเอน​ซ์ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนกระทั่งปัจจุบัน บริษัท #ยังไม่เคยทำกำไรแม้แต่บาทเดียว และยังขาดทุนสะสมมาแล้วไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งกินทุนไปแล้วถึง 1/5 ขาดทุนทุกปี ปีละ 20-30 ล้าน เพิ่งรับรู้กำไรปีแรก 2561 จำนวน 4 ล้านบาท และ 2562 กำไร 39 ล้านบาท รวมๆ แล้วเฉพาะเอเพ็กซ์เซล่า ก็ยังขาดทุนสะสมร่วมร้อยล้านบาทอยู่ แต่ก็ยัง ช่วยประหยัดเงินงบประมาณแผ่นดินปีละ 3 พันล้านบาท แม้ปัจจุบันสยามไบโอไซเอนซ์จะขาดทุนต่อปีที่ 70 ล้านบาท ต่อไปก็ตาม