จากที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเรื่องวิกฤตทางทางาเศรษฐกิจและวิกฤตทางการเมือง โดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152
ทั้งนี้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ซึ่งเมื่อประธานในที่ประชุม ได้เปิดการประชุมอย่างเป็นทางการนั้น น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำเสนอญัตติ นำอภิปรายต่อที่ประชุมถึงวิกฤตทางการเมืองในขณะนี้ มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา อย่างกว้างขวาง และเรียกได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่สร้างการชุมนุมได้มากที่สุด
อย่างไรก็ดีช่วงหนึ่ง น.อ.อนุดิษฐ์ ได้อภิปรายโดย ชูสามนิ้วขึ้นว่า ขอให้ทางรัฐบาลยกเลิกการออกหมายจับกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในขณะนี้ทั้งหมด ยุติการคุกคามการเคลื่อนไหว การปิดกั้นการแสดงความเห็น เปลี่ยนเป็นการคุ้มครองและรับฟัง
“ผมขออนุญาตชู 3 นิ้ว เป็นคำมั่นสัญญา ปฏิญาณตนต่อหน้าคนไทยทั้งประเทศว่า เราจะขอคืนอำนาจอธิปไตยกลับมาให้กับประชาชน เราจะใช้รัฐสภา แห่งนี้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อหาทางออกของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ไม่ตอบโจทย์ทำให้เกิดปัญหาด้านการจัดงบประมาณ เพื่อแก้ปัญหา ดังนั้นผมมีข้อเสนอแนะ คือ ลดรายจ่ายประจำ ลดจำนวนข้าราชการประจำที่เกินความเหมาะสม เพื่อนำเงินไปลงทุนสิ่งที่มีคุณภาพ กำหนดเป้าหมายประเทศสร้างฐานการผลิตใหม่ตอบสนองความต้องการของโลกตามศักยภาพของประเทศ ต้องเปลี่ยนวิธีงบประมาณ โดยกำหนดเป้าหมาย นำกระบวนการ และเรื่องสำคัญสุดท้ายคือ เคารพสิทธิเสรีภาพและอำนาจของประชาชน เพราะหากประเทศเป็นประชาธิปไตย นักลงทุนจะให้ความเชื่อมั่น ต้องหยุดการคุกคาม และทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” น.อ.อนุดิษฐ์ อภิปราย
นอกจากนี้เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ยังอภิปราอีกว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลทำให้ประเทศจมกองหนี้ คนส่วนใหญ่เดือดร้อน มีปัญหาเศรษฐกิจ โดยหลายปัญหาเกินเยียวยา โดยตนมีข้อเสนอสุดท้ายต่อรัฐบาล ถึงนายกฯ ว่า หากต้องการช่วยเหลือประเทศไทยอย่างแท้จริง คือ การลาออก ตามเสียงเรียกร้องของคนไทยทั้งประเทศ
อย่างไรก็ตาม อำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ
อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไป ในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ในสมัยก่อน)อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นต้น
อนึ่ง อำนาจอธิปไตยนี้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า “รัฐ” ได้
(ที่มาวิกิพีเดีย
สำหรับการแบ่งอำนาจอธิปไตย ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงใช้อำนาจในการปกครองประเทศเหมือนในอดีต แต่พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจในการปกครองประเทศตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ พระองค์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติเพื่อออกกฎหมายบังคับใช้แก่ประชาชนผ่านทางรัฐสภา และทรงใช้อำนาจบริหารในการปกครองประเทศผ่านทางคณะรัฐมนตรีโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี รวมทั้งทรงใช้อำนาจตุลาการอันเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ผ่านทางศาล
อำนาจอธิปไตยสามารถแบ่งออกเป็นอำนาจย่อย 3 อำนาจ โดยหนึ่งนั้นคือ อำนาจนิติบัญญัติ เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา พิจารณาออกกฎหมายบังคับให้แก่ประชาชนตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญกำหนด กฎหมายที่จะออกมาจากรัฐสภาต้องผ่านความเห็นชอบทั้งจากสภาผู้แทนราษฎรและจากวุฒิสภา จึงจะนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ดังนั้น อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาของไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไป เช่นการออกกฎหมาย เพื่อใช้เป็นแนวทางและเครื่องมือในการบริหารประเทศ