คนกรุงพี่งใครไม่ได้?!? ต้องจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียว 104 บาทตลอดสาย เพราะรัฐบาลยังไม่ว่างแก้ปมสัมปทาน

1965

กทม.และบีทีเอสตกลงได้ข้อสรุป เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว104 บาทตลอดสายชั่วคราว เริ่ม 16 ก.พ.2564  จนกว่าจะมีข้อสรุปการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว โปรโมชั่นนั่งฟรีหมดอายุ 15 ม.ค.ทำคนกรุงแบกภาระเพิ่ม จะโทษใครได้ เรื่องผลกระทบประชาชนโดยตรงเพราะต้องจ่ายค่าเดินทางทุกวัน พิจารณาช้ามาก แต่การต่อขยายสนามบินเร่งด่วนมาก ไม่ต้องรับฟังคำท้วงติง คมนาคมให้สร้างได้ฉลุยเลย ทั้งๆที่ทั่วโลกติดโควิดกับระเบิดระเบ้อ ใครจะมาเที่ยว ยังเตรียมสร้างสนามบินเพิ่มกันยกใหญ่ ทีคนไทยเดินทางทุกวันจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ก็รีบช่วยๆตัดสินเสียทีว่า จะเอาไงให้มันแน่ชัด แบบนี้มันไม่แฟร์กับประชาชนว่าไหมท่านผู้นำ??

รถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีเส้นทางสายหลักประกอบด้วยช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน กทม.ได้ให้สัมปทานแก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นเวลา 30 ปี จากปี 2542 – 2572 โดยบีทีเอสเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดเป็นเงินประมาณ 53,000 ล้านบาท แต่มาสะดุดเดินต่อไม่ได้เพราะกระทรวงคมนาคม ท้วงติงเรื่องราคาและข้อกฏหมาย จนป่านนี้ยังไม่มีข้อสรุป ก็ต้องขายผ้าเอาหน้ารอดไปก่อน

จากประเด็นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เป็นที่พูดถึงกันมากในขณะนี้ เนื่องจากล่าสุด นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เปิดเผยถึงราคาค่าโดยสาร BTS เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2564 ว่า ได้หารือกับกรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดค่าโดยสารอัตราใหม่ช่วงต่อขยาย จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.พ.2564 เป็นต้นไป แต่จะใช้เป็นการชั่วคราว 

โดยการปรับราคาค่าโดยสารใหม่นี้ แบ่งเป็น 4 ช่วง ซึ่งรวมค่าโดยสารตลอดสายจะไม่เกิน 104 บาท เนื่องจากจะไม่เสียค่าแรกเข้าในช่วงที่รถไฟฟ้าวิ่งจากส่วนต่อขยายเข้าช่วงที่เป็นสัมปทานของ BTS โดยมีการแบ่ง 4 ช่วงดังนี้

1.ช่วงสัมปทานของบีทีเอส (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน) ค่าโดยสาร 16-44 บาท

2.ส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)

3.ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)

4.ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน-บางหว้า 15-33 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)

ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารของโครงการสายสีเขียวสูงสุดตลอดสายจะอยู่ที่ 158 บาท แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 กทม. จะปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุดตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท ซึ่ง กทม. จะมีผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายประมาณปีละ 3,000-4,000 ล้านบาทเมื่อนับรวมตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2572 จะมีผลขาดทุนถึงประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตามตารางดังนี้

ล่าสุด“คมนาคม”ออกแถลงการณ์ด่วน เบรกกทม. เก็บค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุด 104 บาท จนกว่าจะได้ข้อยุติเรื่องสัมปทาน ชี้เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน อ้างขอเอกสารต้นทุนค่าโดยสารจาก มท.-กทม. ไปกว่า 1 เดือนแล้ว หวังหั่นจาก 65 เหลือ 42 บาท แต่ยังเงียบจริงไหมไม่รู้ แต่หนี้สินที่เพิ่มขึ้นทุกวันทีกทม.และบีทีเอสต้องรับผลกระทบของความล่าช้า คมนาคมไม่ต้องรับผิดชอบกระมัง