“ดร. อานนท์” ตอกหน้า “ไมค์” แบนดอยคำ โง่ไม่กินของดีราคาถูก ทั้งช่วยชาวเขาลืมตาอ้าปากได้

8385

จากกรณีที่ นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง แกนนำกลุ่มคณะราษฎร ที่ออกมาโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์มาตลอด

ได้โพสต์ข้อความถึงโครงการหลวง “ดอยคำ” ผลิตภัณฑ์สินค้าที่แปรรูปผ่านโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป หนึ่งในโครงการตามพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 โดยระบุข้อความว่า

“ผลิตภัณฑ์ #ดอยคำ
ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ “ดอยคำ” มาจากการพัฒนาของ “มูลนิธิโครงการหลวง” ที่ #ได้งบประมาณจากรัฐปีละหกร้อยกว่าล้านบาท สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ โดยหนึ่งในกิจกรรมที่ใช้งบประมาณที่ว่านี้ คือการแปรรูปและพัฒนาสินค้าเกษตร ก่อนจะถูกนำไปผลิตและจำหน่ายโดย “#บริษัทดอยคําผลิตภัณฑ์อาหาร จํากัด” ภายใต้แบรนด์ “ดอยคำ”
ที่หลายคนอาจจะเข้าใจว่า “#บริษัทดอยคำฯ” เป็นของมูลนิธิโครงการหลวง แต่ข้อเท็จจริงคือมูลนิธิฯ ถือหุ้นเพียง 2.94% ส่วนที่เหลืออีก 97.06% นั้นถือหุ้นโดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ อันนี้ว่าตามข้อมูลปี 2560 เพราะปัจจุบันหุ้นในส่วนนี้ #ถือตรงโดยพระนามของในหลวง ร.10 ของเรา
งบประมาณจากเงินภาษี -> อุดหนุนมูลนิธิโครงการหลวง -> ม.โครงการหลวงใช้งบประมาณรัฐพัฒนาผลิตภัณฑ์ (ปั้นโปรดักส์) ก่อนจะให้ บจก.ดอยคำ ซึ่งมีฐานะเป็น “บริษัทเอกชน” (และถือหุ้นใหญ่โดยในหลวง ร.10) ผลิตและจำหน่าย”

ซึ่งความจริงแล้วบทความดังกล่าวนั้น เป็นบทความของผู้ใช้ทวิตเเตอร์รายหนึ่งที่ได้เขียนไว้ ซึ่งนายภาณุพงศ์ ได้ก็อปปี้บทความดังกล่าวมาโพสต์โดยมิได้ให้เครดิทผู้้เขียนแต่อย่างใด

นอกจากนั้น ก่อนหน้านี้ นายภาณุพงษ์ได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ระบุว่า
“ใครถือหุ้นดอยคำ ? (ถือหุ้นแต่ไม่เปิดเผยนาม) #ชวนเที่ยวโครงการหลวง”

สำหรับ ดอยคำ ก่อตั้งขึ้นจากแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระราชประสงค์ในการแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย ทรงก่อตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้นในพื้นที่การเกษตร ดำเนินการส่งเสริม รับซื้อ พัฒนา และแปรรูปผลผลิต เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพที่มีคุณภาพ ในราคาเป็นธรรม โดยเริ่มต้นเพียง 10 รายการ ใน 2 กลุ่มสินค้า ต่อมาในปี ได้จัดตั้งองค์กรเป็นนิติบุคคลภายใต้ชื่อ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม ตามศาสตร์พระราชา พัฒนาสร้างสรรผลิตภัณฑ์คุณภาพจากชุมชนและผลผลิตของเกษตรกรไทย ส่งเสริม รับซื้อ พัฒนา และแปรรูปผลผลิต พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรปลอดภัย พลังงานทดแทน เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการมุ่งพัฒนาชุมชน ให้เกิดความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างยั่งยืน จวบจนปัจจุบัน

ในขณะเดียวกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า
“พวกปลดแอกเล่นงานสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์​ ไม่สำเร็จ ตอนนี้ก็มาเล่นงานใส่ร้ายโครงการหลวงดอยคำ​ และบริษัทสยามไบโอไซนส์​ ที่กำลังมุ่งมั่นผลิตวัคซีนโควิด​ มันจ้องใส่ร้ายป้ายสีกันไม่เลิกจริงๆ”

และล่าสุด ดร.อานนท์ได้โพสต์ข้อความระบุว่า

“ใครจะแบนแบนไป ผมจะกิน ใครมันจะโง่ไม่ได้กินของดีราคาถูก ทำให้ชาวเขามีรายได้ ลืมตาอ้าปากได้ ไม่ต้องปลูกฝิ่น
ก็ปล่อยมันโง่ ไม่ต้องกินของอร่อยไป รสนิยมมันดีไม่พอ ช่างหัวมัน
สินค้าอีกตัวหนึ่งที่ผมชอบมาก และไม่ค่อยจะมีขาย มีขายบางฤดูกาลคือชาสมุนไพรสดของดอยคำ อันนั้นคือสุดยอดมากเช่นกัน”

ทั้งนี้ โครงการหลวงของพระบาาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีจุดเริ่มต้นจากที่ พระองค์ท่านได้ทรงเห็นปัญหาของชนกลุ่มน้อย เหล่าชานติพันธ์คนชายขอบ ที่ถูกละเลยจากภาครัฐ โดยสมัยนั้นมีปัญหาเรื่องการปลูกฝิ่น ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2512 ได้มีการเริ่มต้นโครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย สำหรับเป็นงบประมาณดำเนินงานต่าง ๆ และพระราชทานมีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน ดังนี้
1. ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม
2. ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร
3. กำจัดการปลูกฝิ่น
4. รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก
อย่าสองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน

น้อมรำลึก ๑๐ พระราชกรณียกิจโดดเด่น ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙

การดำเนินงานต่าง ๆ ของโครงการหลวง มีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านต่าง ๆ ปฏิบัติงานถวาย ทำให้การปฏิบัติงานก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูก พืชเขตหนาวชนิดต่าง ๆ เกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ผลดี

โดยโครงการหลวงมีเจตนาเพื่อมุ้งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาโดยมองข้ามความแตกต่างของอัตลักษณ์และชาติพันธุ์ เพื่อให้ชาวขาวและชนกลุ่มน้อยสามารถดำรงชีวิตและพึ่งพาตนเองเลี้ยงชีพตนได้อย่างยั่งยืน จนนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและยกระดับความมั่นคงในด้านต่างๆ