“ดร.นิว” ซัดหน้า “บ.ก.ปอท.” ทำงานไร้ประสิทธิภาพ จับ-ปล่อย แก๊งปลุกม็อบ ยกสหรัฐเทียบ ไทยไร้ความมั่นคงโลกไซเบอร์

2261

จากกรณีที่ก่อนหน้านี้ ได้มีกระแสของพิมรี่พายยูทูบเบอร์ชื่อดัง ขึ้นไปมอบโซลาร์เซลล์ให้กับโรงเรียนบ้านแม่เกิบ จังหวัดเชียงใหม่

ต่อมาสาวกม็อบคณะราษฎรได้โยงประเด็นดังกล่าวมาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้มีการโพสต์จาบจ้วงพาดพาดพิงไปถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และโครงการในพระราชดำริของพระองค์ จนทำให้เกิดกระแสความแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคมออนไลน์ระหว่างประชาชนคนไทยที่มีความจงรักภักดีและสาวกม็อบล้มเจ้า อย่างไรก็ตามการโพสต์จาบจ้วงมีอย่างแพร่หลาย แต่กลับไร้วี่แววการดำเนินการใดๆของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ

ต่อมา ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า

“ทุกวันนี้ประเทศไทยยังไม่มี “อธิปไตยทางไซเบอร์ (Cyber Sovereignty)” เพราะใครก็ตามที่มีเงิน มีสื่อโซเชียลจำนวนมากอยู่ในการควบคุม ตลอดจนเครื่องมือและเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ก็จะสามารถปั่นกระแสบิดเบือนในโลกโซเชียล เพื่อยุยงปลุกปั่น ครอบงำทางความคิดและคอยควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่นได้ นอกจากนี้ต่างประเทศก็สามารถทำการแทรกแซงทางความมั่นคงได้เช่นเดียวกัน

เหตุผลที่ขบวนการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติและสร้างความแตกแยกยังสามารถลอยนวลอยู่ได้ เป็นเพราะกฎหมายความมั่นคงของไทยที่อ่อนแอ มีช่องโหว่ ขาดความรัดกุม ไม่เท่าทันต่อยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง จึงไม่แปลกที่ไม่สามารถทำอะไรผู้อยู่เบื้องหลังการปลุกม็อบโดยอาศัยโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือ (Weaponization of Social Media) ได้ อีกทั้งยังขาดหน่วยงานรับผิดชอบที่มีอำนาจหน้าที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในการดูแลและจัดการแบบครบวงจรอย่างรวดเร็ว”

ล่าสุด ดร.นิว ได้โพสต์ข้อความ เพิ่มเติมโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า
“#ความมั่นคงทางไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกาที่ประเทศไทยไม่เคยมี
แค่ผู้ชายคนหนึ่ง (นาย Cleveland Grover Meredith) ส่งข้อความไปหาเพื่อนในทำนองขู่ว่าจะทำร้ายประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา (นาง Nancy Pelosi) แล้วเขาก็ถูกจับกุมตัวโดยตำรวจ FBI จากสำนักงานสอบสวนกลางในระยะเวลาอันรวดเร็ว

เหตุการณ์ในครั้งนี้บ่งบอกถึงอะไร?

1.สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security) อย่างมาก และมีระบบปฏิบัติการสอดแนมทางไซเบอร์ (Cybersurveillance Operation) ที่ทันสมัย สามารถสอดแนมและตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ แม้แต่การส่งข้อความหากัน เพื่อเฝ้าระวังภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ในด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกเปิดเผยขึ้นครั้งแรกโดยนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ภายใต้ชื่อโครงการ PRISM ของ สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ หรือ National Security Agency (NSA) แม้จะถูกมองว่ามีแนวโน้มเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่โครงการดังกล่าวยังคงดำเนินการเรื่อยมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

2.สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงอย่างสูงสุด หลังจากมีการส่งข้อความที่เข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคง บุคคลดังกล่าวก็ถูกจับกุมตัวทันทีภายในระยะเวลาราว 1 วัน อีกทั้งยังสามารถตรวจค้นและยึดวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างเต็มที่

3.สหรัฐอเมริกามีกระบวนการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงที่รวดเร็ว มีการบูรณาการและการประสานงานระหว่างเทคโนโลยี อัยการ ศาล รวมถึงตำรวจ ที่ดำเนินไปด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

ถ้าประเทศไทยมีความมั่นคงทางไซเบอร์อย่างสหรัฐอเมริกา ขบวนการปลุกม็อบสร้างความแตกแยกรวมถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังคงถูกจับกุมและล้างบางด้วยการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงอย่างที่ควรจะเป็นไปตั้งนานแล้ว อีกทั้งคนไทยทั้งประเทศคงไม่ต้องมาเห็นภาพจับๆปล่อยๆจนดูเป็นเรื่องตลกดังเช่นทุกวันนี้ เสมือนว่าทั้งระบบของประเทศไทยไม่เข้าใจบริบทของ “กฎหมายความมั่นคง” แถมยังอ่อนข้อให้ผู้บ่อนทำลายความมั่นคงจน “กฎหมายความมั่นคง” แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย

แต่ที่น่าอับอายที่สุด คือ ประเทศไทยมี ส.ส.กบฏ ที่วันๆคอยแต่สนับสนุนขบวนการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติและสร้างความแตกแยก นอกจากนั้นก็ทำตัวเป็นสุนัขรับใช้ของนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังม็อบคนสำคัญ โดยที่ไม่ได้รับใช้ประชาชนเหมือนที่พูดจาไว้สวยหรู ประชาชนที่พวกเขาแอบอ้างจึงมีเพียงแค่ม็อบ ซึ่งก็คือมวลชนผู้ตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือทางการเมืองของเจ้านายพวกเขา ไม่ใช่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ หรือความั่นคงของชาติอันเป็นตัวแทนความมั่นคงของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศแต่อย่างใด

ดร.ศุภณัฐ
13 มกราคม พ.ศ. 2564
#ประชาธิปไตยTheseries by ดร.ศุภณัฐ”

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้เปิดเผยว่าตนได้เร่งรัดคดีไปยังกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้โพสต์ข้อความและภาพไม่เหมาะสมเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างจริงจัง

รุ้ง กวิ้น เดินเล่นสยามพาราก้อน - YouTube

โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจบก.ปอท. ได้เชิญให้นายพริษฐ์ ชีวารักษ์ และน.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมมารับทราบข้อกล่าวหาตามฐานความผิด พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้ว และให้ทั้งสองส่งหนังสือให้การภายในวันที่ 14 ม.ค. นี้