Truthforyou

เมื่อเซเว่นฝ่าโควิด1ปีไม่เคย(ถูก)ปิด?ฟังเสียงจิตอาสาตู่จากร้านข้าวต้ม ในวันที่เปลี่ยนไป

จากที่“จตุพร” นำพนักงานพีซทีวีและหมู่มิตร จัดโครงการไทยช่วยกัน ตั้งเต้นท์ลานหน้าสถานี Peace TV  แจกอาหารกล่องมื้อเที่ยงช่วยผู้ได้รับผลกระทบโควิด19 ประเดิม 500 กล่อง โดยยืนยันเป็นโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆทางการเมืองนั้น

ทั้งนี้น่าสนใจว่ากิจกรรมดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2564 โดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จัดโครงการ ไทยช่วยกัน เปิดครัวปรุงอาหาร

และเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 นายจตุพร ได้เฟชบุ๊คไลฟ์ peace talk ถ้ารัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเร็ว ประเทศก็จะฟื้นเร็วขึ้น ถ้าทำไม่ได้ก็เกินเยียวยา จะอยู่ไปทำไม ถ้าแก้ปัญหาให้ประชาชนไม่ได้ รวมทั้งตนไม่เข้าใจว่า รัฐบาลมีหลักคิดอะไร จึงออกมาตรการให้ร้านข้าวต้มปิด 3 ทุ่ม แต่ร้าน 7-11 ของเจ้าสัวเปิดได้ 24 ชม. ท้ายที่สุด เงินก็ไหลเข้ากระเป๋านายทุนผูกขาดหมด ดังนั้น มาตรการเช่นนี้คนได้ประโยชน์ก็คือกลุ่มทุน ซึ่งแบบนี้คิดได้อย่างไรกัน

11 มกราคม  2564 โครงการไทยช่วยกันตั้งโรงครัวทำอาหารแจกประชาชนที่สถานีโทรทัศน์พีซทีวี ยังคงดำเนินต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยนายจตุพร ย้ำว่าจะต้องแยกเรื่องนี้ออกจากการเมือง เพราะหากคิดบนมิติทางการเมืองทุกอย่างก็จะกลายเป็นความเลวร้ายไปหมด เนื่องจากสภาพสังคมไทยนั้นเราเห็นว่า อะไรก็ตามหากคิดเป็นการเมือง เรื่องที่ดีก็จะกลายเป็นเรื่องที่เลวร้ายไปทันที

“ดังนั้นจึงขอเชิญชวนคนไทยทั้งประเทศอีกครั้งว่า วันนี้คนที่ยังมีพลังจะได้ช่วยกันเพราะความหิวโหยนั้นเป็นเรื่องที่รุนแรง พร้อมแนะรัฐบาลหยุดโครงการก่อสร้างที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน เพราะขณะนี้ไม่มีเรื่องอะไรที่ใหญ่ไปกว่าการรักษาชีวิตประชาชน และเชื่อว่าหากนายกรัฐมนตรีนำประชาชนร่วมกันเสียสละ เช่น นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ไม่รับเงินเดือนในในช่วงนี้ หรือ ส.ส.ลดเงินเดือนลงเพื่อเเสดงให้เห็นในเรื่องของขวัญกำลังใจว่า คนไทยต้องร่วมกันเสียสละเพื่อรักษาชาติบ้านเมือง”

กระนั้นเสียงเรียกร้องถึงการปิดตลาด ปิดร้านอาหาร แต่ยังคงเปิดร้านสะดวกซื้อ นั้นไม่ได้มีแต่เพียงนายจตุพร เพราะยังมีอีกหลายคนที่ส่งเสียง ถามถึงความไม่เท่าเทียมหรือความเหลื่อมล้ำ กระทั่งว่าไปถึง รัฐบาลเอื้อนายทุน เอื้อทุนใหญ่ทุบชาวบ้าน??? ซึ่งหากย้อนไปนับแต่วันที่ไวรัสร้ายจู่โจมประเทศไทยนับปี ก็อดสงสัยไม่ได้เช่นกันว่า ทำไมเซเว่นไม่เคยปิดสนิท!?!

1 เมษายน 2563 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 5) ตามที่ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว(ฉบับที่ 4) ลงวันที่27 มีนาคม 2563 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร  เพื่อลดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดขยายไปในวงกว้าง แต่เนื่องจากจำนวน ผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพิ่มเติม

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 จึงมีคำสั่งดังนี้หนึ่งในนั้นคือ ร้านสะดวกซื้อ ชุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านลักษณะเดียวกับร้านสะดวกซื้อ ให้ปิดตั้งแต่ 24.00 น. – 05.01 น.

15 เมษายน 2563 ผ่านมาเพียง สองสัปดาห์ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชน ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้ข้อมูลและชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศฯ และข้อกำหนดฯ รวมทั้งมติของ ศบค.และหนึ่งในนั้นก็พบว่า

“กำหนดปิดร้านสะดวกซื้อเวลาเดียวกันทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 22:00 ถึง 04:00 น.ไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศและข้อกำหนดฯ แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548”

ดังนั้นเองจึงเห็นว่านับตั้งแต่โควิดเข้ามาระบาดในประเทศไทย จะเรียกว่าระลอกใหม่ หรือ ระบาดรอบสองก็แล้วแต่ ก็จะพบสิ่งที่น่าสังเกตว่าเกือบระยะเวลาหนึ่งปี (365วัน – 8,760 ชั่วโมง)  แม้รัฐบาลจะประกาศปิดสถานอะไรก็ตาม ก็ยังยกเว้นร้านสะดวกซื้อเสมอมา ซึ่งจะอ้างว่าไม่ได้เปิด 24 ชั่วโมงอย่างเช่นเดิมก็ดูเหมือนจะดูออกไปในแนวเล่นลิ้น เช่นนั้นจะบอกว่า เซเว่นของซีพีไม่ได้เปิดแค่24ชั่วโมงแต่เปิดตลอดมาก็ไม่ผิดหมายความใช่หรือไม่???

Exit mobile version