“อานนท์” ขู่ฟ่อกลางปีมีม็อบแน่ คุยโวลุงป้าเสื้อแดงมีฝากความหวังตายตาหลับ

2750

หลังจากที่การชุมนุม ของม็อบราษฎรได้เงียบหายไป เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด และความสนใจของมวลชนที่ได้ลดน้อยถดถอยไปตามเนื้อหาที่ออกนอกลู่นอกทางขึ้นทุกวัน

ล่าสุด นายอานนท์ นำภา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า

“เชื่อมั้ย ช่วงหลังเวลาเจอพี่ๆ ป้าๆลุงๆ ที่สู้มาก่อน เขาจะบอกกับผมว่า เขาดีใจมากและมีความหวังมาก หลังจากการตื่นลุกขึ้นสู้ของคนรุ่นใหม่คราวนี้ เขาบอกว่าเขาตายตาหลับ
ตอนแรกๆก็ไม่คิดว่าเขาพูดจริงจังอะไรมากนะ แต่พอหลังๆมานี่พูดและเห็นเขาลุกขึ้นมาทำอะไรหลายอย่างเหมือนคนที่สดชื่นและลุกขึ้นมาร่วมสู้ใหม่ ผมก็ขนลุกเหมือนกัน
ต้นปีนี้ขอให้เป็นช่วงบ่มเพราะข้อมูล บ่มความโกรธต่อเผด็จการ กลางปีเราจะขย่มมันอีก เอาให้มันจบที่รุ่นนี้แหละ”

โดยลุงๆป้าๆที่อานนท์หมายถึงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากมวลชนเสื้อแดง ซึ่งก่อนหน้านี้ คนเสื้อแดงได้ร่วมชุมนุมกับม็อบคณะราษฎรอยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะการชุมนุมที่ถนนอักษะ เมื่อวันที่ 22 พ.ย 63 โดยม “กลุ่มราษฎร” และกลุ่มเสื้อแดง ในชื่อ “แดงก้าวหน้า 63” ได้นัดชุมนุมใน ที่ถนนอักษะ เพื่อย้ำถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มราษฎร และรำลึกถึงเหตุการณ์ปี 2557

โดยกลุ่มผู้ชุมนุมนำโลงศพ จำนวน 3 โลง สื่อถึงผู้ชุมนุมแนวร่วม นปช.ที่ต้องบาดเจ็บและสูญเสียในช่วงการถูกสลายชุมนุมที่ถนนอักษะ เมื่อการชุมนุมปี 57 ไปวางไว้บริเวณหน้าแนวรับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนจัดพิธีเชิงสัญลักษณ์วางดอกไม้จันทน์และสวดมนต์

หลังจากนั้นมวลชนเสื้อแดงได้เดินหน้าสนับสนุนม็อบราษฎรอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการ์ดเสื้อแดงได้ประกาศพร้อมดูแลปกป้องม็อบราษฎรอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม ย้อนไปดูวีรกรรมของคนเสื้อแดงไอดออลม็อบเด็ก เมื่อครั้งชุมนุมประท้วงรัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

การชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2552 ในปีต่อมา นปช. ประกาศจะเริ่มการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์จึงเพิ่มมาตรการรักษาความมั่นคงอย่างมาก

ผู้ชุมนุมส่วนมากเดินทางมาจากต่างจังหวัด แต่ก็มีชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่งเข้าร่วมการชุมนุมเช่นกันการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมรวมเลือดไปเทที่หน้าประตูทำเนียบรัฐบาล หน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และหน้าบ้านพักอภิสิทธิ์เพื่อกดดันรัฐบาล จากนั้นมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมสองครั้ง ได้ข้อสรุปว่าจะมีการยุบสภา แต่ไม่สามารถสรุปวันเวลาได้ โดยทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุม มีการยิงลูกระเบิดชนิดเอ็ม-79 หลายสิบครั้ง แต่ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำมาลงโทษได้แม้แต่คนเดียว

10 ปีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง : มองเมษา-พฤษภา 53 ผ่านวาทกรรม “จำไม่ลง” - BBC  News ไทย

ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน กลุ่มผู้ชุมนุมปิดการจราจรที่แยกราชประสงค์ รวมทั้งสร้างแนวป้องกันในบริเวณโดยรอบ มีผู้เสียชีวิตจากการปะทะหลายครั้ง

ต่อมาอภิสิทธิ์เสนอแนวทางปรองดอง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งเสนอให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่อภิสิทธิ์ก็ยกเลิกข้อเสนอดังกล่าวไปเอง หลังจากที่แกนนำ นปช. ยื่นข้อเรียกร้องให้รองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ เข้ามอบตัวกับตำรวจ แม้จะมีท่าทียอมรับในระยะแรกก็ตาม ต่อมา รัฐบาลสั่งการให้กำลังทหารเข้าล้อมพื้นที่แยกราชประสงค์ ซึ่งได้เกิดการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตหลายราย แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุม และยอมมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นผลให้ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ

จากนั้น เกิดการก่อจลาจลและวางเพลิงสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งศาลากลางและสถานที่สำคัญหลายแห่ง รวมถึงห้างเซ็นทรัลเวิร์ดก่อให้ความเสียหายมูลค่ามหาศาล ในช่วงค่ำ รัฐบาลประกาศห้ามออกจากเคหสถานในหลายจังหวัด และให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องนำเสนอรายการของรัฐบาลเท่านั้น โดยทหารได้รับคำสั่งให้ใช้อาวุธปืนยิง ผู้ที่ทำการปล้นสะดม วางเพลิง หรือก่อความไม่สงบได้ทันที

ตำราเผาเมือง “มาร์ค-เสื้อแดง” ผิดทั้งคู่!

ทั้งนี้จากกรชุมนุมครั้งนั้นก่อให้เกิดความเสียหายทั้งความมั่นคงและเศรษฐิจ ประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่า หากม็อบคณะราษฎรเห็นวีรกรรมของคนเสื้อแดงเป็นไอดอล เหล่าแกนนำจะพยายามลอกเลียนแบบแนวทางการทำลายล้างของการชุมนุมครั้งนั้นด้วยหรือไม่!?