เปิดเอกสาร UN ชื่นชม “โครงการหลวง” พัฒนาดอย ตอกย้ำ “ความโง่เขลา” ม็อบสามนิ้ว

4757

อยากแซะ แต่ไม่มีสมอง!! เปิดเอกสาร UN ชื่นชม “ในหลวง ร.9-สมเด็จย่า” ตอกย้ำ “ความโง่เขลา” แต่ต้องการบิดเบือนของ “ม็อบสามนิ้ว”

จากกรณีที่กลายเป็นประเด็นร้อนชั่วข้ามคืน หลังจากที่ “พิมรี่พาย” หรือ พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ แม่ค้าออนไลน์ฝีปากกล้า และยังเป็นยูทูปเปอร์คนดังด้วยนั้น โดยเจ้าตัวโด่งดังมาจากการขายสินค้าออนไลน์ และยังนำเงินไปช่วยเหลือคนยากจนบ่อย ๆ จนได้รับกระแสชื่นชมอย่างมากในโลกโซเชียล

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2564 ชื่อของพิมรี่พาย ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในประเทศไทย หลังจากที่เจ้าตัว ได้มุ่งหน้าสู่ หมู่บ้านแม่เกิบ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งตอนแรกเธอตั้งใจว่าจะนำแค่เสื้อผ้า รองเท้า มาม่า ปลากระป๋องและอาหารไปให้เด็ก ๆ เท่านั้น แต่เมื่อไปถึงแล้วได้เห็นสภาพเด็ก ๆ เนื้อตัวมอมแมม และคุณครูที่อยู่กับเด็ก ๆ ได้บอกว่า

“…เด็กที่นี่ …ไม่มีความฝัน… นึกภาพอะไรไม่ออก นึกภาพการเรียนต่อไม่ออก ไม่เคยมีใครจบสูงกว่า ม.ต้น ใช้ชีวิตอยู่ไปวัน ๆ พ่อแม่ไม่มีรายได้ ไฟฟ้าก็เข้าไม่ถึง….”

ทำให้พิมรี่พาย ตัดสินใจควักเงินจำนวนส่วนตัว จำนวน 5 แสนกว่าบาท ไปติดตั้งไฟฟ้าโซลาเซลล์และมอบทีวีให้เด็ก ๆ

แต่แล้วก็มีกระแสดราม่าตามมาทันที เมื่อมีการนำประเด็นนี้ มาใช้หมิ่นพระเกียรติของในหลวงรัชกาลที่ 9 เริ่มต้นด้วยมีการแชร์ข้อความจากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ที่โพสต์ข้อความว่า “พิมรี่พายขึ้นดอยครั้งเดียวเด็กมีไฟฟ้าใช้ แต่…ขึ้นดอยมา 70 ปี …// ไม่พูดดีกว่า” ต่อมาเมื่อมีตรวจสอบ พบว่าเป็นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง

ล่าสุดทางด้านของ ผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ Natchavich Tiemprasert ได้นำเอกสารของ สหประชาชาติ หรือ องค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งได้มีการพูดถึงโครงการหลวง หรือ Royal project จากการได้ส่งทีมสำรวจขององค์กรลงไปติดตามผล และได้รายงานว่า นี่คือผลงานที่น่าเชิดชูเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาชาวดอย ได้อย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้…

Royal project หรือโครงการหลวง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับสมเด็จย่า ริเริ่มและจริงจังกับการไปช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาผ่านการสู้ประเด็นยาเสพติด จนเป็น case study ของการ approach ปัญหาการปราบยาเสพติดไประดับโลกนี่แหละ ที่เป็นฐานยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวเขาด้านอื่นๆตามมา (UNใช้คำว่า alternative development)

ในเอกสาร UN ระบุ ยกตัวอย่างโครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ consequence ของการริเริ่มครั้งนั้นชาวเขาได้ประโยชน์จริงจนเป็นกรณีศึกษา ทั้งแง่ของรายได้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ตัวเลขคนนอกระบบการศึกษาที่ลดลง หรือการได้รับสัญชาติ (ในวันที่พวกเขาเคยแต่เป็นคนชายขอบหรือ”คนอื่น”ของรัฐไทยมาตลอด)

อยากให้อ่านเอกสารของสหประชาชาติ โดยหน่วยงาน UNODC ที่เขาส่ง professor ลงพื้นที่ ไปศึกษาประชุม ขึ้นลง กรุงเทพฯ ตะเข็บชายแดน ร่วมกับราชสำนัก ในวันที่นักการเมืองที่รับผิดชอบหรือจนท.ส่วนกลางยังไปไม่ถึงพวกเขา
ตอนไปค้น ชอบท่อนนี้เพราะทำให้เห็นภาพได้ดี

“I will never forget the remarks of the Australian ambassador during a helicopter trip to Doi Sam Mun, Chiang Mai province, when he asked: ‘Why has opium poppy been planted in that coffee field?’ I answered: ‘Opium poppy was not planted in that coffee field; coffee was planted in that poppy field.’ ”
Richard Mann, quotes in Renard, op. cit., p. 83.

ความจริงย่อมเป็นสิ่งไม่ตายครับ
เห็นเป็นประเด็นในทวิตเตอร์ ว่าราชสำนักขึ้นดอยไปสร้างภาพ ไปถ่ายรูปสวยๆ เลยคิดว่าอย่างน้อย ในวันที่บรรยากาศการถกเถียงสาระทางประวัติศาสตร์ถูกทำให้บิดเบี้ยวจนน่าเป็นห่วง ผมจึงเห็นว่าเราน่าค้นอะไรที่เป็นสาระ เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บมาฝากกัน ยินดีแลกเปลี่ยนครับ
อ้างอิง

Thailand’s highland areas have enjoyed several major
alternative development (or development] initiatives
since 1969, among them the Doi Tung development pro-
ject, begun in 1988 in Chiang Rai Province, near the
border with Myanmar, on the #initiative #of #Princess
#Srinagarindra.”

As the figures in annex Ill reveal, the average household income of project participants rose sevenfold between 1988 and 2003 and the percentage of those without Thai citizenship dropped from 62 in 1992 to 30 in 2003,9 The ris ing proportion of household income from labour

(see figures II and Ill refers to wages earned in local factories developed by the projeet, processing plants especially for cacao and macadamial, training centres and tourism.” Figure IV also shows that the pro-portion of the population with no cducation dropped slightly between 1992 and 2003, out that those with secondary education rose sharply

ซึ่งแปลได้ดังต่อไปนี้ “พื้นที่สูงของไทยมีความสุขหลายประการ การริเริ่มการพัฒนาทางเลือก (หรือการพัฒนา) ตั้งแต่ปีพ. ศ. 2512 เป็นต้นมาโครงการพัฒนาดอยตุง เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดเชียงรายใกล้กับ ชายแดนติดกับประเทศเมียนมาร์ใน # ความคิดริเริ่ม # ของ # เจ้าหญิง # ศรีนครินทร์ “ขณะที่ร่างในภาคผนวก 3 เปิดเผยว่า รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น เจ็ดเท่าระหว่างปี 2531 ถึงปี 2546

และร้อยละของผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยลดลงจาก 62 ในปี 2535 เหลือ 30 ในปี 2546,9 สัดส่วนรายได้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจากแรงงาน (ดูรูปที่ 2 และ 3 หมายถึงค่าจ้างที่ได้รับในโรงงานในท้องถิ่นที่พัฒนาโดยองค์กร โรงงานแปรรูปโดยเฉพาะโกโก้และแมคคาเดเมียลศูนย์ฝึกอบรมและการท่องเที่ยว “รูปที่ 4 ยังแสดงให้เห็นว่าประชากรส่วนสนับสนุนที่ไม่มีการศึกษาลดลงเล็กน้อยระหว่างปี 2535 ถึง 2546 เนื่องจากผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว”

ท่านที่สนใจอยากเชิญให้โหลดรายงานของ UN อ่านต่อได้ฟรีใน

Alternative_Development_Evaluation_Dec-05