ทรัมป์ดิ้นหาช่องนิรโทษกรรม?!? ความมั่นคงระส่ำ ทำไบเดนหวั่นสงครามใน-นอกบ้าน ศัตรูฉวยจังหวะสูญญากาศโอนถ่ายอำนาจ

3013

ทรัมป์ดึงดันถึงที่สุด หาทางนิรโทษตัวเอง แบะท่าไม่เข้าร่วมพิธีสาบานตนรับตำแหน่งปธน.ของโจ ไบเดน เรื่องนี้ไบเดนไม่สนใจเพราะชนะแบเบอร์ แต่วิตกกังวลว่าการโอนถ่ายอำนาจการบังคับบัญชาด้านความมั่นคงยังขลุกขลัก ทั้งเลขาธิการความมั่นคง สายทหาร ตำรวจ รวมทั้งงบฯที่ยังไม่ลงตัวอาจเสร็จสิ้นไม่ทันวันสาบานตน ทำให้เกิดสูญญากาศด้านความมั่นคงภายในสหรัฐและตัวปธน.คนใหม่ สุ่มเสี่ยงศัตรูฉวยโอกาส  จับตาการดิ้นรนของทรัมป์ อาจก่อสงครามเย็นรอบใหม่ ภายในสหรัฐและโลก ท่ามกลางสงครามเชื้อโรคไวรัสมรณะโควิด-19 กลายพันธ์ุ ที่ทำให้สหรัฐติดเชื้อวันเดียวทะลุ 2.6 แสนรายแล้ว

ล่าสุด นสพ.นิวยอร์ก ไทมส์ เปิดเผยว่า ปธน.ทรัมป์กำลังหาช่องทางทางกฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมตนเอง

สหรัฐฯจะจัดการกับทรัมป์แบบไหน?

“รัฐธรรมนูญมาตราที่ 25” ระบุว่า หากรองประธานาธิบดีและเสียงเกินครึ่งของคณะรัฐมนตรีเห็นว่า ประธานาธิบดีไม่อาจจะทำหน้าที่ของตนได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม มีสิทธิ์แจ้งให้ประธานสภาทั้งสองทราบว่ารองประธานาธิบดีจะเข้ารับตำแหน่งแทนแต่ดูเหมือนมาตรการนี้ ไมค์ เพนซ์ รองปธน.ยังเงียบแม้ว่า ไมค์ ปอมเปโอ รมว.ต่างประเทศของทรัมป์เสนอตัวรวมเสียงปลดทรัมป์เอง ตามคำขอของแนนซี เปโลซีแห่งเดโมแครต จึงต้องใช้มาตรการ อิมพีชเม้น-ถอดถอนโดยสภาคองเกรส

นางแคทเธอรีน คล้าก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐแมสซาชูเซตส์ แกนนำพรรคเดโมแครต กล่าวว่า สภาผู้แทนราษฎรจะดำเนินกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในสัปดาห์หน้า(วันจันทร์ที่ 11 ม.ค.2564) ถ้าหากรองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ และคณะรัฐมนตรีปฏิเสธที่จะดำเนินการดังกล่าว

ทางด้านนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลัง และนายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ กำลังหารือกันเพื่อผลักดันให้มีการใช้บทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 25 เพื่อถอดถอนปธน.ทรัมป์ออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ และนายชัค ชูเมอร์ แกนนำพรรคเดโมแครตในวุฒิสภาสหรัฐ เรียกร้องเช่นกันให้มีการปลดปธน.ทรัมป์ออกจากตำแหน่ง หลังจากที่เขาได้ยุยงปลุกปั่นให้กลุ่มผู้สนับสนุนของเขาบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภา เพื่อขัดขวางกระบวนการประกาศรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของนายโจ ไบเดน

“สิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐสภาถือเป็นการก่อกบฏต่อสหรัฐ โดยได้รับการยุยงปลุกปั่นจากท่านประธานาธิบดี ซึ่งประธานาธิบดีคนนี้ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งนานกว่านี้แม้แต่วันเดียว เขาควรถูกปลดโดยเร็วที่สุด และด้วยวิธีที่ได้ผลมากที่สุด โดยควรจะเกิดขึ้นในวันนี้” นายชูเมอร์กล่าว

สภาคองเกรสของสหรัฐฯ ลงมติรับรองการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Vote) ครบทุกรัฐ ซึ่งปรากฎว่านายไบเดนคว้าคะแนนเสียงไปได้ 306 คะแนน ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกันได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 232 คะแนน ส่งผลให้นายไบเดนผงาดขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ

ทรัมป์ไม่ร่วมพิธีสาบานตนโจ ไบเดน

ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ทวีตข้อความในวันศุกร์(8ม.ค.)ว่า เขาจะไม่เข้าร่วมพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายโจ ไบเดนในวันที่ 20 ม.ค. “ผมขอตอบคำถามผู้ที่สงสัยทุกท่านว่า ผมจะไม่เข้าร่วมพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 ม.ค.” ข้อความในทวิตเตอร์ระบุ

ปฎิกิริยาล่าสุดของนายโจ ไบเดน ต่อกรณีทรัมป์ไม่เข้าร่วมพิธีสาบานตนนี้ ไบเดน กล่าวว่าเขาไม่รู้สึกอะไร เป็นเรื่องที่ดี ที่ทรัมป์จะไม่เข้าร่วม เพราะทรัมป์เป็นความน่าอายของประเทศและไม่เหมาะสมกับตำแหน่งอีกต่อไป

เกิดสูญญากาศอำนาจด้านความมั่นคงช่วงเปลี่ยนผ่าน

ความล่าช้าในสภาคองเกรส เป็นเหตุให้การดำเนินการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกในมลรัฐจอร์เจียล่าช้า แม้ผลออกมาแล้วว่า พรรคเดโมแครตชนะทั้งสองที่นั่ง ทำให้พรรคเดโมแครตครองเสียงหลักในวุฒิสภาได้เป็นครั้งแรก แต่ก็มีความล่าช้าในการประกาศแต่งตั้งเป็นทางการ ทำใหเสียงสนับสนุนไบเดนยังไม่เต็มที่ในการออกมติต่างๆตามที่เดโมแครตต้องการ

เน็ด ไพรซ์ โฆษกฝ่ายความมั่นคงของไบเดนกล่าวว่า “ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา วุฒิสมาชิกทั้งพรรครีพับลิกันและเดโมแครตต่างสงวนความแตกต่างทางความคิดการเมือง เพื่อให้การโอนถ่ายอำนาจเป็นไปอย่างสันติผ่านขั้นตอนต่างๆอย่างเรียบร้อย  ในส่วนของกระทรวงที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยแห่งชาติต่อต้านการก่อการร้ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงเวลานี้ สหรัฐฯมองว่าต้องต่อสู้กับภัยไซเบอร์ การแทรกแซงจากรัสเซีย การเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียมของอิหร่าน วิกฤติระบาดโควิดกลายพันธ์ และความขัดแย้งรุนแรงในประเทศ เป็นช่วงเวลาของการต้องมีผู้นำอย่างยิ่ง”

ในรอบ 45 ปีนี้ ปธน.โจ ไบเดนเป็นคนแรกที่จะไม่มีเลขาธิการความมั่นคงที่ตนเลือกอยู่ข้างกาย ในวันแรกของการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ มีแต่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ในปี 1989 ที่ไม่มีรมว.กลาโหมที่เขาแต่งตั้งจอห์น ทาวเวอร์ และต้องต่อสู้อย่างมากกว่าได้รับการแต่งตั้ง นอกจากนี้ยังมีกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และคณะกรรมการข่าวกรอง ทั้งหมดนี้ยังติดล็อคในช่วงไบเดนเข้ารับหน้าที่