อดีตบิ๊กข่าวกรอง จี้ จุฬาฯ ทบทวนการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ล้มเจ้า และการอนุมัติปริญญาเอกของ ณัฐพล ใจจริง เพื่อเกียรติภูมิแห่งมหาวิทยาลัย
จากกรณีที่นายณัฐพล ใจจริง ได้มีการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา [พ.ศ.2491-2500] ต่อมาทางด้าน ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และพบว่าข้อมูลในวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว เป็นการกล่าวอ้างขึ้นมาเอง ไม่มีแหล่งอ้างอิง
นายณัฐพล ใจจริง ได้ทำหนังสือชี้แจงยอมรับข้อผิดพลาดและอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจ เสนอขอแก้ใหม่ตัดประเด็นการเป็นประธานการประชุมออกไป แต่ผิดอย่างไรก็ไม่กระทบใจความหลักของทั้งเล่มแต่อย่างใด ทางคณะรัฐศาสตร์ได้หารือกันว่า ให้งดเผยแพร่และอ้างอิง ถ้าจะเผยแพร่ตีพิมพ์จะต้องขออนุญาตบัณฑิตวิทยาลัยก่อน ซึ่งต่อมา สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ได้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว ว่าหนังสือ นั้นได้ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร้องของวิทยานิพนธ์ การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500 เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งติงกลับว่า ไชยันต์นั้นมโน จากนั้น ได้มีการตรวจสอบวิทยานิพนธ์กับหนังสือเล่มดังกล่าว พบว่า ในหนังสือและวิทยานิพนธ์ มีเนื้อหาเดียวกันแต่คนละสำนวน คนละข้อความ แต่หากปรากฏข้อความ สำนวน ในหนังสือ(ที่อ้างว่าแก้ไขแล้ว) แบบที่ยกออกมาจากตัวเล่มวิทยานิพนธ์ที่ถูกระงับเผยแพร่
ทางด้าน ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พูดถึงกรณีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะต้องรับผิดชอบกับวิทยานิพนธ์ที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ พร้อมกับตั้งคำถามว่า ปล่อยผ่านมาได้อย่าไร ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม หรือ… “ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การปล่อยคนบิดเบือน ใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ และสร้างความแตกแยกสู่สังคม” กันแน่?
ล่าสุดทางด้าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ใจจริง ว่า ตามที่จุฬาฯ ได้ให้งดการเผยแพร่หรืออ้างอิงข้อมูลในวิทยานิพนธ์ เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2491-2500) มาตั้งแต่เดือนก.พ. 2562 ของนายณัฐพล ใจจริง เพราะมีข้อมูลคลาดเคลื่อนไปแล้วนั้น ปรากฎว่ายังมีการเผยแพร่หรืออ้างอิงข้อมูลที่คลาดเคลื่อนในวิทยานิพนธ์เล่มดังกล่าวอยู่ ขณะนี้ มหาวิทยาลัยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพิ่มเติมดังนี้
– ขอความร่วมมือเครือข่ายห้องสมุดในห้พิจารณาระงับการเผยแพร่วิทยานิพนธ์
– แจ้งเตือนผู้เขียนวิทยานิพนธ์อีกครั้งหนึ่งให้ดำเนินการระงับการเผยแพร่หรืออ้างอิงข้อมูลที่ผิดพลาดในวิทยานิพนธ์โดยด่วน
– ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเผยแพร่หรืออ้างอิงวิทยานิพนธ์
ล่าสุดทางด้าน นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าว เพื่อให้จุฬาฯ ทบทวนการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ใจจริง และการอนุมัติปริญญาเอกของ ณัฐพล ใจจริง เพื่อเกียรติภูมิแห่งมหาวิทยาลัย โดยระบุข้อความว่า