เพจดังไขข้อสงสัยวัคซีนโควิด ซาบซึ้งพระเมตตาในหลวง 2 พระองค์ ก่อตั้งบ.สยามไบโอไซเอนซ์

2245

จากกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้จัดรายการเฟซบุ๊กไลฟ์พิเศษ ในหัวข้อ “ประเทศไทย 2021 : ข้อเสนอจัดการโควิดและวิกฤติเศรษฐกิจ” เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา

 

โดยมีใจความบางช่วงบางตอน ที่ได้ตั้งคำถามถึงงบประมาณจัดสรรการซื้อวัคซีนโควิด-19 และบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ที่ก่อตั้งด้วยทุนของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และมาจากพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9 ) ซึ่งระบุว่า

“เริ่มที่ปัญหาวัคซีน ตอนนี้ที่เป็นข่าวอยู่คือทางรัฐบาลได้ร่วมมือกับ Siam Bioscience และบริษัท AstraZeneca ในการจัดหาวัคซีนสำหรับคนไทยจำนวน 26 ล้าน โดส 1 คนใช้ 2 โดส เพียงพอสำหรับคน 13 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด แผนนี้เราไม่เคยได้รับรู้รายละเอียดเลยว่าคนที่เหลือจะทำอย่างไร จะจัดสรรด้วยงบประมาณอย่างไร

ที่จะทำให้คนได้วัคซีนอย่างถ้วนหน้าและเป็นธรรม เมื่อตอนโควิดแพร่ระบาดใหม่ ๆ ในปีที่แล้ว ทั้งคณะก้าวหน้าและพรรคก้าวไกลได้นำเสนอประเด็นนี้ไปแล้ว ว่า พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทนั้น ควรจะต้องตั้งเอาไว้เลย 6.7 หมื่นล้านบาท เพื่อจัดสรรวัคซีนให้กับคนไทย จนเพียงพอที่จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้นในประเทศ เสียดายที่รัฐบาลไม่เคยกันงบประมาณส่วนนี้ไว้ จนถึงวันนี้เราจึงยังไม่เคยเห็นว่ารัฐบาลจะมีตัวเลขประชากรเป้าหมายที่จะต้องได้รับวัคซีนเท่าไหร่ ใช้งบประมาณเท่าไหร่ จะไปหาจากบริษัทไหน”

ทั้งนี้ความสำคัญของทางรอดวิกฤตครั้งนี้ ทางบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตวัคซีนโควิด-19 ซึ่งบริษัทนี้ ถูกจัดตั้งมาจากพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสเรื่องสุขภาพของประชาชน ด้วยทรงเห็นว่า ‘คน’ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาประเทศ สร้างความพอมี พอกิน และทรงให้ความสำคัญในการฟื้นฟูปัญหาสุขภาพของประชาชน เพื่อการพัฒนาประโยชน์สุขให้เกิดกับส่วนรวมและประเทศชาติ

ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2552 โดยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถือหุ้น 100% ด้วยทุนจดทะเบียน 5,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 2 บริษัทหลักคือ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด และบริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด โดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด จะดำเนินการวิจัย พัฒนา และผลิตยา เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆ มีการวิจัยพัฒนาและผลิตครบวงจร ตั้งแต่ตัวยาสำคัญและสารออกฤทธิ์ จนถึง ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : จูงมือกันไปอ่านหนังสือก่อนมั้ย? “ธนาธร-อานนท์” พล่ามไม่หยุด โจมตี “บริษัทสยามไบโอฯ” เตรียมผลิตวัคซีนโควิดช่วยคนไทย เจตนาชัดจงใจลบหลู่พระเกียรติ ร.9

ล่าสุดในเพจเฟซบุ๊ก Street Hero Project ได้โพสต์ในเนื้อหาปักหมุดในหัวข้อ “#เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด ไทยเรามาถูกทางแล้วหรือยัง ?” ระบุว่า ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า วัคซีนโควิดต้องฉีดทุกปีเหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่ครั้งเดียวจบ วัคซีนโควิดที่ผลิตมามีอายุการใช้งานอยู่ราวประมาณ 6 เดือน – 1 ปี วัคซีนโควิดเป็นที่ต้องการทั้งโลกแต่โรงงานที่พร้อมผลิตมีไม่เยอะ และวัคซีนโควิดทุกยี่ห้อยังไม่มีที่ไหนผ่านการทดลอง 100 %


ทีนี้เรามาดูกันว่าวัคซีนที่เมืองนอกได้ฉีดแล้วมีอยู่ 3 ยี่ห้อ คือ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแอสตราเซนนิกา ในเมกาและยุโรป และมีอีก 3 ยี่ห้อ ในจีนและรัสเซีย ไทยเลือกทำสัญญากับทางบริษัทแอสตราเซนเนก้าเป็นหลัก มีสัญญาการสั่งซื้อเบื้องต้น 26 ล้านโดส

#ด้านคุณภาพ วัคซีนทุกยี่ห้อยังอยู่ในช่วงการทดลอง และอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ยังไม่มีที่ไหนสมบูรณ์และได้อนุมัติให้ใช้ตามปกติ ที่ฉีด ๆ กันอยู่จึงมีความเสี่ยงพอ ๆ กัน แต่ทั้ง 3 ยี่ห้อนี้ ถือว่าผ่านการทดลองขั้น 3 แล้วเหมือนกันถือว่ามีความปลอดภัยพอสมควร ประสิทธิภาพเกิน 90%

#ด้านราคา วัคซีนของแอสตราเซนนิกา ซึ่งต้องใช้ 2 โดสมีราคาอยู่ที่ประมาณ 3-4 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 90-120 บาท) ต่อโดสเท่านั้น ทั้งนี้ ราคาอาจสูง 150-170 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับวัคซีนอีกสองตัว พบว่าราคาต่ำกว่าวัคซีนของไฟเซอร์ (600 บาทต่อโดส) และโมเดอร์นา (970-1,120 บาทต่อโดส) อย่างมาก

#ด้านการจัดเก็บ ขนส่ง และกระจายวัคซีนโควิด ไฟเซอร์จัดเก็บที่อุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส โมเดอร์นาจัดเก็บที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส แอสตราเซเนก้าจัดเก็บที่ 2-8 องศาเซลเซียส

หากเราเลือกไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา เราจะต้องซื้อตู้เย็นที่ทำอุณหภูมิติดลบได้ขนาดนั้น ตู้หนึ่งก็หลักแสนแล้วต้องซื้อกี่ชุดกระจายทั่วประเทศ ใช้งบอีกเท่าไหร่ที่สำคัญจะมีของไหม ดังนั้นการเลือกเอสตร้าเซนนิก้าจึงเหมาะสมกับประเทศไทยทั้งด้านคุณภาพ ราคา และการจัดเก็บ

#แต่สิ่งที่โคตรวิเศษ คือ ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกให้โรงงานของบ.สยามไบโอไซเอนซ์ เป็นเพียงไม่กี่โรงงานในโลกที่พร้อมผลิตวัคซีนให้คนไทยรวมถึงคนทั่วโลกได้ใช้ในภาวะวิกฤตนี้

ในเอเชียเอสตร้าเซนเนก้าเลือกโรงงานที่อินเดีย และไทย ผลิตวัคซีนโควิดตัวนี้​และไทยรับผิดชอบผลิตให้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ดังนั้นในระยะยาวจึงเป็นผลดีต่อคนไทยอย่างมากทั้งในแง่การผลิต หรือวิจัยและพัฒนา

ต้องขอขอบคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 และ 10 ที่ก่อตั้งและสานต่อให้ บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์เป็นเพียงไม่กี่โรงงานที่ช่วยกันผลิตวัคซีนโควิดออกมาให้ประชาชนในโลกได้ใช้

ขณะที่ทางด้านรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์ “โควิด-19” ผ่านทางเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” โดยมีเนื้อหาดังนี้…


สำหรับเมืองไทยเรา…มีแนวโน้มว่ามาตรการต่าง ๆ จะเป็นไปในลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลหลายประการ

คาดว่าจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านมาตรการหลัก ไปจนกว่าจะสิ้นเดือนมกราคม และหากเป็นเช่นนั้น ให้ทำใจเผื่อไว้ว่า แม้จะปฏิบัติกันตามแนวทางที่มีอย่างเต็มที่ ก็จะทำได้เพียงยันกระแสการระบาดได้ระดับหนึ่ง เปรียบเหมือนน้ำท่วมทะลักเข้าพื้นที่ แต่มาตรการต่าง ๆ อันเปรียบเหมือนกำแพงและเครื่องสูบน้ำนั้นมีไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ในพื้นที่มีน้ำขังอยู่มากบ้างน้อยบ้างตามแต่จะจัดการกันไป หวังเพียงไม่ท่วมหนักจนจมน้ำหายใจไม่ออก

การรับมือการระบาดซ้ำครั้งนี้ต่างจากรอบที่แล้ว เพราะไม่ได้สั่งการให้ดำเนินการ แต่ใช้ลักษณะยุทธวิธีน่ารักแบบเทเลทับบี้ รณรงค์ให้ทำ และเกลี่ยความรับผิดชอบให้แต่ละพื้นที่ไปจัดการกันเอง วิเคราะห์ในแง่ดี คือ แนวทางการกระจายอำนาจการจัดการไปสู่ระดับจังหวัด หากทำอย่างเต็มรูปแบบ ไม่มายกเลิกกันแบบต่อหน้าต่อตาก็จะดี แต่ละจังหวัดทั้งหน่วยงานในพื้นที่และประชาชนจะได้มีอิสระในการปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองอย่างเต็มที่

แต่อุปสรรคใหญ่ที่เรากำลังจะเจอในไม่ช้า และบางแห่งก็กำลังเผชิญอยู่แล้วคือ โครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันมาก ทำให้เกิดการขาดแคลนทั้งเรื่องคน เงิน อุปกรณ์ต่าง ๆ จนหลายแห่งที่ระบาดหนักจำเป็นต้องเปิดขอรับบริจาคหรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ ในสังคม งนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราทุกคนต้องดูแลตัวเองและครอบครัวให้ดี อย่างน้อยที่สุดคืออย่าให้ติดเชื้อหรือป่วย เพราะจะทำให้เสี่ยงทั้งต่อตัวเองที่จะได้รับการดูแลได้ไม่ทั่วถึงแล้ว ยังเป็นภาระแก่ระบบต่างๆ ในสังคมด้วย

การดูแลตนเองให้ดีนั้นแม้จะยากลำบากสักหน่อย หรือฝืนการดำเนินชีวิตประจำวันไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่เป็นหัวใจหลักในการต่อสู้กับศึกโรคระบาดซ้ำครั้งนี้ เพราะ”ยุทธวิธีน่ารัก”นั้นจะไม่สามารถจัดการการระบาดได้ในระยะเวลาสั้น จึงต้องอาศัยความอึดเป็นหลักในการรักษาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย แบบ Survivor game
มีหลายท่านถามมาเมื่อวานนี้ว่า ถ้าจะเลือกวิธีสู้ จะสู้แบบไหน ผมตอบไปว่า หากย้อนกลับไปสองสัปดาห์ก่อน ผมจะเลือกทำ Regional lockdown ในระยะสั้น เพื่อให้จัดการศึกนี้ไม่ให้ลุกลามครับ

แต่ตอนนี้ย้อนเวลากลับไปไม่ได้แล้ว การระบาดกระจายไปทั่ว และยากที่จะตรวจหาคนติดเชื้อได้ครบถ้วนทุกพื้นที่ เพราะมีติดเชื้อแฝงไปทั่วในชุมชนต่าง ๆ ทั้งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มคนทั่วไป แถมระบบการตรวจของประเทศก็มีศักยภาพที่จำกัด หากจะจัดการตอนนี้จำเป็นต้องเข้มข้นอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศให้ทันเวลาทอง ไม่งั้นก็ยาวอย่างที่วิเคราะห์มา

เอาใจช่วยทุกคนให้มีกำลังกายกำลังใจป้องกันตนเองและครอบครัว รวมถึงบุคลากรในพื้นที่ทุกท่าน