Truthforyou

บิ๊กตู่พร้อมช่วยคนเจอพิษโควิด-19 รอบนี้เตรียมหารือเงินเยียวยา จ่ายหนัก 40 ล้านราย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 5 ม.ค. 2563 อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19

โดยจะได้ล็อตแรก 8 หมื่นโดส ปลายเดือน มี.ค.64 เพื่อฉีดให้กับประชาชน 4 แสนคน ส่วนเดือน เม.ย.64 จะได้รับเข้ามาอีก 1 ล้านโดส เพียงพอกับประชาชน 5 แสนคน และปลายเดือน พ.ค.64 อีก 26 ล้านโดสสำหรับประชาชนอีก 13 ล้านคน

สำหรับกลุ่มเป้าหมายแรก เป็นบุคคลกรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ โดยวัคซีนทั้งหมดต้องผ่านมาตรฐานองค์การอาหารและยา (อย.) ของไทยและต่างประเทศ

“ขณะนี้ได้มีการสั่งจองเพิ่มวัคซีนจากบริษัท แอสตราเซนเนก้า อีก 35 ล้านโดส ซึ่งจะเพียงพอกับประชาชน 66 ล้านคน โดยแบ่งฉีด 2 ครั้งต่อ 1 คน พร้อมกันนั้นจะดำเนินการตามข้อตกลงกับ แอสตร้าเซนเนก้า ที่จะผลิตร่วมกับบริษัท สยามไบโอไซด์ ให้ได้ปีละ 200 ล้านโดส ซึ่งจะเพียงพอทั้งประเทศ”

ส่วนล็อตต่อไปจะมีการติดต่อวัคซีนจากประเทศอื่น ๆ เพื่อให้รวดเร็วและเพียงพอต่อต้องการ าคเอกชนที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการจัดหาวัคซีน ก็เปิดโอกาสให้สามารถจัดหาได้เอง แต่ต้องผ่านมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หากผลข้างเคียงกับประชาชนถือว่ามีสัดส่วนที่ต่ำยอมรับได้ ซึ่งจะต้องติดตามต่อไป

“ต้องการให้คนไทยปลอดภัย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ การจำกัดการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วที่สุด และนำคนป่วยมารักษาในพื้นที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยยืนยันว่าทางการมียารักษาเพียงพอ”

ขณะที่ทางด้านนพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การทำสัญญาจองซื้อวัคซีนล่วงหน้ากับบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 26 ล้านโดสนั้น จากเดิมจะได้รับวัคซีนในไตรมาส 2/63 แต่จากการเจรจาน่าจะได้วัคซีนมาเร็วกว่ากำหนด ซึ่งจะทยอยส่งตามแผนการฉีดวัคซีน โดยมีองค์การเภสัชกรรมเป็นผู้จัดส่งและกระจายวัคซีนไปยังสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ

 

นอกจากนี้ ยังมีการจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่น ๆ จาก COVAX Facility อยู่ระหว่างพิจารณาเงื่อนไขและเจรจาต่อรอง และได้รับจัดสรรงบประมาณเพิ่ม เพื่อให้ได้วัคซีนครอบคลุมประชาชนไทยร้อยละ 50 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

อย่างไรก็ตามในส่วนของการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ได้มอบหมายให้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ เพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ จะดูแลได้อย่างไรในสองเดือนนี้

มาตรการเยียวยาโควิดต่าง ๆ จะออกมาจะออกมาเพิ่มเติม ส่วนของเดิม เช่น เราเที่ยวด้วยกัน ฯ มีการจองโรงแรมแล้ว ก็ขอทางสมาคมโรงแรมให้ยืดเวลาออกไป อย่าเพิ่งไปเก็บเงินเขาตอนนี้ ส่วนเรื่องที่ให้ไปแล้วก็ให้บริหารจัดการให้ได้ “ซึ่งการดูแลในช่วงเวลา 2 เดือนนี้ กำลังพิจารณาอยู่นะครับ สำหรับคน 40 กว่าล้านคน ไม่ได้ให้เฉพาะพื้นที่เสี่ยงเท่านั้น ต้องใช้เงินจำนวนมากเหมือนกัน ยืนยันว่ารัฐบาลยังมีเงินพอเพียงอยู่ครับ

Exit mobile version