“อัษฎางค์” ชำแหละ ปมเหตุ วิทยานิพนธ์ล้มเจ้า ใส่ร้ายผู้สำเร็จราชการแทนในหลวง ร.9

2794

จากกรณีที่ ก่อนหน้านี้ นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊กถึงวิทยานิพนธ์ของณัฐพลใจจริง ระบุว่า

“เพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของณัฐพล ใจจริง

เนื่องจากเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาการและนักวิชาการระดับดุษฎีบัณฑิต จึงทำให้ต้องมีเนื้อหาที่ยาวมาก แต่ถ้าใครขี้เกียจอ่านยาวๆ ผมจะสรุปให้ภายใน 9 บรรทัดในย่อหน้าแรก ดังนี้
ผศ.ณัฐพล ใจจริง กระทำผิดทางวิชาการขั้นร้ายแรง โดยการแก้ไขข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (falsification) ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เพราะฉะนั้นจุฬาฯ จะต้องเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตของเขาตามระเบียบ

และเพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับผู้ที่จะอาศัยความเป็นวิชาการที่สร้างความน่าเชื่อถือกับผู้คน ด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเป็นความผิดขั้นร้ายแรง สูงสุด”

ล่าสุด นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อ “ทำไมธีสิสของณัฐพล ถึงจงใจให้กรมพระยาชัยนาท สวมบทเป็นผู้ร้าย” โดยเนื้อหาระบุว่า

” “ทำไมธีสิสของณัฐพล ถึงจงใจให้กรมพระยาชัยนาท สวมบทเป็นผู้ร้าย”
หรือคำตอบคือ กรมพระยาชัยนาท เป็นลูกเลี้ยงของย่าของในหลวงร.9 ซึ่งทรงรักและเลี้ยงมาเหมือนลูกแท้ๆ และถูกเลี้ยงดูให้เติบโตมาพร้อมกับเจ้าฟ้ามหิดล พ่อของในหลวง ร.9
หรือเขาจงใจให้ร้ายในหลวง ว่าทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย โดยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังสั่งการให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เข้าแทรกแซงการเมือง
ตามกลยุทธ์ล้มเจ้า เพื่อหาเหตุล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์
เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ประสูติในพระบรมมหาราชวัง
หลังประสูติได้ 11 วัน พระมารดาก็ถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์มาพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ด้วยพระองค์เอง พร้อมกับตรัสว่า
“…ให้มาเป็นลูกแม่กลาง…”
สมเด็จพระบรมราชเทวีก็ทรงรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ไว้ในอุปการะ โดยทรงเลี้ยงดูพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งมีพระชันษาใกล้เคียงกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เหมือนกับพระราชโอรสของพระองค์เอง
พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมันนี และเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น”พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร” เมื่อพ.ศ. 2457 ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการ และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2458
พระองค์เป็นผู้โน้มน้าวสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ซึ่งในขณะนั้นเพิ่งลาออกจากการรับราชการเป็นทหารเรือ ให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์ จนไปสำเร็จศึกษาวิชาการแพทย์ในที่สุด
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงงานราชการอันสร้างคุโณปการต่อชาติไทยหลายตำแหน่ง อาทิ
ทรงจัดตั้งวิชาแพทย์ปรุงยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัย ซึ่งต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2476 พระองค์ได้รับการเชิดชูพระเกียรติเป็นพระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย
เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย อธิบดีกรมสาธารณสุข เป็นองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7
รวมทั้งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2481ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ในกบฏพระยาทรงสุรเดช
จากบันทึกของพระโอรส หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทฯ ทรงเขียนถึงเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็น “เคราะห์กรรม” ของครอบครัวพระองค์ไว้ว่า
“…พ.ศ. 2482 ปีมหาอุบาทว์ ปีที่มี 9 เดือนเท่านั้น ใกล้เข้ามาแล้ว สองเดือนก่อนถึงวันที่ 1 เมษายน 2482 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแบบเก่าครั้งสุดท้าย เสด็จพ่อถูกตำรวจของรัฐบาลพลตรีหลวงพิบูลสงคราม จับในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา กับเจ้าพระยาพิชเยนทร์โยธิน สองผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ก็ลงชื่อในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษ…
โดยพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้มีอำนาจตั้งผู้พิพากษาของศาลพิเศษ ทั้งอำนาจตั้งอัยการประจำศาลผู้ทำหน้าที่เป็นโจทก์ (แต่จำเลยไม่มีสิทธิ์ตั้งทนาย) ศาลพิเศษนี้ผู้พิพากษาเป็นนายพลเพื่อนนายกรัฐมนตรีส่วนใหญ่ ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีเดียวคือคดีที่เสด็จพ่อทรงติดร่างแหไปด้วย
นักกฎหมายทุกคนเห็นว่าเป็นการผิดหลักนิติธรรมที่ประเทศซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีสภานิติบัญญัติ และอยู่ในภาวะปกติไม่มีสงครามหรือการจลาจลได้ออกกฎหมายพิเศษให้รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมผู้ที่มีอำนาจตั้งโจทก์ ตั้งผู้ว่าคดี และตั้งผู้พิพากษาเองทั้งหมด”
การพิจารณาคดีในครั้งนั้น ประกอบด้วยอัยการที่จอมพล ป เป็นคนตั้งขึ้นมาเอง รวมทั้งยังมีผู้พิพากษาเป็นนายพลเพื่อนของจอมพล ป เป็นผู้ตัดสินโดยไม่ให้จำเลยแต่งตั้งทนายสู้คดี และพิจารณาตัดสินให้ประหารชีวิต
แต่นายพลโท พระยาเทพหัสดินทร กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป จำเลยทำความดีมาก่อน ประกอบกับเมื่อได้ระลึกถึงเหตุผลที่ว่าๆ ไปแล้ว ควรได้รับความปรานี จึงลดโทษให้ 1 ใน 3 ตามมาตรา 59 และมาตรา 37 คงให้จำเลยทั้ง 3 นี้ ไว้ตลอดชีวิต…”
ตามมาด้วยการถอดฐานันดรศักดิ์ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมด โดยให้ออกนามใหม่ว่า “นักโทษชายรังสิต”
นักโทษชายรังสิต ถูกกักขัง ณ เรือนจำกลางบางขวาง ในข้อหา “กบฏ”
จนนำมาความเสียพระราชหฤทัยของสมเด็จพระพันวัสสาประหนึ่งจะขาดพระทัยอย่างแสนสาหัส ที่ช่วยลูกชายไว้ไม่ได้

แต่หลังถูกกักขัง ณ เรือนจำกลางบางขวาง เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ก็ถูกปล่อยท่านให้เป็นอิสระ และได้ทรงคืนสู่ฐานะ “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โปรดเกล้าฯให้เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2493 จึงโปรดเกล้าฯให้เป็น
ให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
กรมขุนชัยนาทนเรนทร ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระชันษายืนที่สุด
หลังจากสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมเป็น
“สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร”

เมื่อครั้งกรมพระยาชัยนาทนเรนทรยังมีพระชนม์ชีพเคยถูกใส่ความ และถูกพิจารณาคดีที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังมีการสร้างหลักฐานและพยานเท็จมากมาย เพียงเพราะเป็นบุคคลที่รัฐบาลสงสัยว่าเป็นปฏิปักษ์ให้ได้รับโทษ อย่างไร้ความยุติธรรม
และหลังจากสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2494 ผ่านมาเกือบ 70 ปี ก็ถูกอาจารย์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นนิสิตปริญญาเอก ยัดเยียดบทตัวโกงให้พระองค์ ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของณัฐพล ใจจริง ที่กล่าวหาอย่างเลื่อนลอย ด้วยการบิดเบือนหลักฐาน หรือสร้างหลักฐานเท็จว่า
เมื่อครั้งกรมพระยาชัยนาท ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้พยายามทำการแทรกแซงทางการเมือง โดยเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งนำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี อยู่บ่อยครั้ง
ประหนึ่งเป็นการประชุมคณะเสนาบดี ภายใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
คือการพยายามชี้เป้าให้ประชาชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อว่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจแทนในหลวงรัชกาลที่ 9 แทรกแซงทางการเมือง
หรือไม่ก็พยายามพูดอ้อมๆ ว่า ในหลวงทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย โดยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังสั่งการให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เข้าแทรกแซงการเมือง
กลุ่มปฏิกษัตริย์นิยมล้วนมีพฤติกรรมคล้ายกับณัฐพล ใจจริง คือมองพระมหากษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์เป็นตัวร้าย และมักให้ร้ายป้ายสี บิดเบือน สร้างหลักฐานเท็จ เพื่อหาเหตุล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนกลุ่มปฎิกษัตริย์นิยมด้วยการอนุมัติวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่บิดเบือนให้ร้าย ด้วยหลักฐานเท็จ อย่างนั้นหรือ
ขอให้สังคมไทยจับตาเอาไว้ให้ดี

อัษฎางค์ ยมนาค
รวบรวม เรียบเรียง”

ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) ได้แสดงความคิดเห็นในโพสต์ดังกล่าวว่า

“สมควรที่คุณหญิงปรียนันทนา รังสิต และพระทายาทในราชสกุลรังสิต จะฟ้องร้องดำเนินคดีกับ ณัฐพล ใจจริง ให้ถึงที่สุด
ไม่ใช่เพื่อปกป้องบรรพบุรุษของราชสกุลรังสิตแต่อย่างเดียว
แต่ต้องทำเพื่อปกป้องพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร์ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรด้วย
ด้วยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเคารพรักยิ่ง
ด้วยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็นพระราชปิตุลา (ลุง) ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร์ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรทรงเคารพรักและไว้วางพระทัยเป็นที่ยิ่ง