ชำแหละแนวคิดล้มเจ้า ระดับผู้นำทัพแก๊งส้ม ทุกการเคลื่อนไหวที่ผ่านมา ก๊วนนี้มีเอี่ยว?

3637

จากกรณีกลายเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในโลกโซเชียลฯ กรณีเมื่อ ผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อว่า Kath Khangpiboon @kathnong ซึ่งเป็นของ นายคทาวุธ ครั้งพิบูลย์ หรือ ครูเคท ผู้มีความหลากหลายทางเพศ อีกทั้งยังพบว่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ได้ทวีตข้อความเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ระบุว่า “ปีนี้ล้มเหลว ปีหน้าล้มเจ้าค่ะ”

ทั้งนี้ สำหรับ นายคทาวุธ ครั้งพิบูลย์ หรือ ครูเคท นั้น เมื่อครั้งวันที่ 15 มีนาคม ที่อาคารแวร์เฮาส์ เจริญกรุง 30 นายธนาธร และนายปิยบุตร แถลงเปิดตัวพรรค ตั้งชื่อว่า “อนาคตใหม่”

โดยในตอนนั้น รายชื่อผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ นอกจาก นายธนาธร นายปิยบุตร แล้ว ยังมีรายชื่ออื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย อาทิ นายกฤตนัน ดิษฐบรรจง แกนนำกลุ่มเยาวชนอาสา ทำงานกับกลุ่มวัยรุ่นผู้ติดเชื้อเอชไอวี, นายกันต์พงศ์ ทวีสุข ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศก้อปันกัน, น.ส.กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักวิชาการอิสระด้านการศึกษา, นายไกลก้อง ไวทยการ ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาสังคม จากสถาบันเทคโนโลยีเพื่อสังคม (Social Technology Institute)

นายคริส โปตระนันทน์ นักธุรกิจ-นักกฎหมาย, นายเคท ครั้งพิบูลย์ นักปกป้องสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ, นายชำนาญ จันทร์เรือง อาจารย์พิเศษด้านการเมืองและกฎหมาย ผู้ยกร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร, น.ส.โชติรส นาคสุทธิ์ นักเขียนเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจของมนุษย์ เรื่องเพศและสิทธิเหนือร่างกาย, นายไชยวัฒน์ วรรณโคตร นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น.ส.ฑิตฐิตา ซิ้มเจริญ นักเขียน นักแปลอิสระ, นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร นักปรุงเบียร์ นักธุรกิจ มัคคุเทศก์อิสระ

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตและเกิดการตั้งคำถามว่าล่าสุดนี้ นายเคท ครั้งพิบูลย์ ทวีตข้อความว่า “ปีนี้ล้มเหลว ปีหน้าล้มเจ้าค่ะ” นั้น เป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับนายธนาธร และนายปิยบุตร เมื่อครั้งก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ จึงเกิดคำถามที่ว่า การที่เคท ครั้งพิบูลย์ ออกมาทวีตข้อความเช่นนี้ นายธนาธร นายปิยบุตร นั้นคิดเห็นอย่างไร??

อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อมูลอีกว่า นายเคท ครั้งพิบูลย์ เป็น 1 ใน 1,118 อาจารย์ที่นัดหยุดสอนทั่วประเทศ โดยวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ที่ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ท่าพระจันทร์ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) นำโดย นายอนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. และ นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ พร้อมอาจารย์เดินเท้ามายังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นแถลงการณ์เรื่อง หยุดสลายการชุมนุมและขจัดผู้เห็นต่าง สร้างทางออกให้ประเทศไทย

ในครั้งนั้น นายอนุสรณ์ อ่านแถลงการณ์ว่า การชุมนุมของนักเรียนนิสิตนักศึกษา รวมถึงประชาชนตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาบนฐานของข้อเท็จจริง หลักการ และเหตุผล โดยมีผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นตัวตั้ง อีกทั้งยังเป็นไปอย่างสงบและปราศจากอาวุธ แต่รัฐบาลไม่รับข้อเสนอ และยังขัดขวาง ทั้งการตั้งข้อหาและจับกุมคุมขังแกนนำและผู้เข้าร่วม

โดยเฉพาะการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงและการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมคืนวันที่ 16 ต.ค. ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและสถานการณ์บานปลาย ไม่มีแนวโน้มจะคลี่คลายลงแต่อย่างใด

คนส. พร้อมกับนักวิชาการ รวมถึงประชาชนที่มีรายชื่อแนบท้ายจำนวน 1,118 รายชื่อ จึงขอแสดงจุดยืนและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลดังนี้

1.ขอประณามการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม บริเวณแยกปทุมวันคืนวันที่ 16 ต.ค. เพราะเป็นการจัดการกับการชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามหลักการและขั้นตอนที่เป็นสากล และใช้กำลังที่ไม่ได้สัดส่วนหรือเกินกว่าเหตุ เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ได้มีอาวุธ ไม่ได้มีพฤติการณ์รุนแรง และจำนวนมากเป็นเยาวชน รัฐบาลจะต้องยุติการสลายการชุมนุมและรับผิดชอบต่อความผิดพลาดนี้

2.รัฐบาลต้องยุติการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือขจัดผู้เห็นต่าง ต้องยกเลิกการตั้งข้อหาและต้องปล่อยตัวผู้ชุมนุมทุกคนอย่างไม่เงื่อนไข ต้องยกเลิกการใช้กฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เอาผิดผู้แสดงความเห็นต่างหรือวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล รวมถึงต้องยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงและการบังคับใช้กฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนอย่างไม่สมควรแก่เหตุ

3.รัฐบาลต้องรับข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมไปพิจารณาอย่างจริงจัง ทั้งการให้ นายกฯ ลาออก การแก้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการปฏิรูปสถาบัน ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย โดยตั้งคณะกรรมการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะที่มาจากตัวแทนฝ่ายต่างๆ ในภาควิชาการ ประชาชน และนักเรียนนิสิตนักศึกษา เพราะปราศจากการเขียนกติกาสูงสุดที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น