จากที่เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ในรายการถามตรงๆ กับจอมขวัญ ได้พูดคุยกับ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ หรือ หมอตุลย์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อหลากสี และ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โดยได้ถกเถียง(ดีเบต) เกี่ยวกับประเด็นสถาบัน กับทิศทางการเมืองไทย 2564
ต่อมา ดร.ณสันต์ หมวดเมือง ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กระบุชื่อ Nasun Moadmuang โดยมีเนื้อหาเปิดเผยว่า
คอการเมืองห้ามพลาดนะครับเทปนี้ เป็นเทปส่งท้ายปีของคุณจอมขวัญที่ผมถูกใจมากครับ
ความเห็นส่วนตัว ผมว่าอาจารย์ ปิยบุตร ดีเบทได้ดีกว่าคุณหมอตุลย์ นอกจากนั้นผมยังเห็นว่าคู่ดีเบตของอาจารย์ ปิยบุตรจริงๆแล้วควรจะเป็น อาจารย์ วิษณุ หรือ อาจารย์ มีชัย ถึงจะเหมาะสมครับ
“ทั้งนี้ ผมเห็นเพื่อนผมโพสต์บอกว่าอยากเห็นอาจารย์ Arnond Sakworawich กับอาจารย์ ปิยบุตร แต่ผมมองว่าอาจารย์อานนท์ รับมืออาจารย์ปิยบุตร ไม่ไหวหรอกครับ”
นั่นเอง ทำให้ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ต้องออกมาโพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Arnond Sakworawich โดยเนื้อหาระบุว่า
“ผมเอาไม่อยู่ไม่เป็นไร แต่บางคนจะไม่มีแผ่นดินอยู่นะครับ อีกไม่นาน หัวข้อแบบนี้บังควรเอามาดีเบทหรือไม่ คนคิดหัวข้อดีเบต แบบนี้คือเสี้ยมมาก และมีเจตนาดึงฟ้าต่ำ ทำหินแตก แยกแผ่นดิน มีเจตนาอันชั่วช้าจะดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มายุ่งกับการเมือง มีสันดานกำเริบเห่อเหิม สาระแน ไม่รู้จักฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ จะมีอันเป็นไป จะพบแต่ความวิบัติล่มจม อัปรีย์จัญไร จะไม่ได้ตายดี จะต้องตายอย่างทุกข์ทรมานแสนสาหัส พระสยามเทวาธิราช จะลงโทษทัณฑ์ จะมีแต่ความเสื่อมบรรลัยในหน้าที่การงานและในชีวิตในไม่ช้า เพราะคนพวกนี้ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง
กระนั้นเมื่อข้อความของดร.อานนท์ ได้เผยแพร่ออกมา โดยมีการนำภาพข่าว พร้อมหน้าเฟซบุ๊กที่ ดร.ณสันต์ โพสต์ถึงตัวเองมาลงเผยแพร่นั้น ทำให้มีคนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นและให้กำลังใจอย่างมากมาย รวมทั้ง ศุภมาส เสนะเวส นิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตผู้ก่อตั้ง“ขบวนผู้หญิงกับการปฏิรูปการเมือง” ที่เข้ามาคอมเมนต์ว่า
“คนคิดประเด็นนี้มาเชิญแขกออกทีวีช่างไร้จรรยาบรรณแห่งความเป็นสื่อที่ดี เหิมเกริมเกินขอบเขต พวกมันจะตกต่ำหมดอนาคตในที่สุดค่ะ”
อย่างไรก็ตามเนื้อหาได้มีบางส่วนพูดถึงการมีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพูดคุยและข้อกฎหมายมาตรา 112 โดยนายปิยบุตรได้เสนอว่าควรมีการปรับแก้ไขกฎหมายข้อดังกล่าวจากกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายแพ่ง และมีโทษเป็นปรับก็เพียงพออแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งคือกฎหมายมาตรา112 นั้นอยู่ในหมวดความมั่นคง ทำให้ไม่สามารถประกันตัวได้ และมีโทษที่สูงมากจนเกินไป
ขณะเดียวกัน หมอตุลย์ได้กล่าวชี้แจงว่า “สิ่งที่น้องๆปราศรัยนั้นไม่เข้าข่ายการวิพากษ์วิจารณ์โดยชอบแน่ๆ ในส่วนของกฎหมายมาตรา 112 นั้นการละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ส่งผลกระทบต่อสังคมและความมั่นคง เนื่องจากประมุขของรัฐถูกละเมิด จึงจำเป็นต้องตรามาตรานี้ไว้ กฎหมายลักษณะนี้ตราขึ้นไว้เพื่อ ให้ผู้ที่ทราบมีความยับยั้งชั่งใจ ในการที่จะพูดพม่าหรือกล่าวร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์เพราะโทษสูง ไม่ได้มีเจตนาที่จะไปบังคับคุมขังจริงๆ สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเรื่องของความมั่นคงของรัฐ เพราะ ถ้าประมุขของรัฐลงใส่ร้ายความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว นายที่ปราศรัยทั้งหมดถ้ามีคนหลงเชื่อไปหรือคนต่างชาติหลงเชื่อจะทำให้เกิดความรู้สึกและภาพที่ไม่ดีต่อสถาบัน เพราะฉะนั้นมาตรา 112 จึงจำเป็นต้องมี แลเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องระมัดระวังในการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ถึงกับขาดสิทธิและเสรีภาพในการพูด”
ทั้งนี้จากเนื้อหาทั้งหมดแล้วสรุปได้ว่า การหมิ่นประมาmให้ร้ายกับเสรีภาพในการพูดนั้นไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ซึ่งหากการพูดถึงสถาบันเป็นเพียงการวิพากษ์วิจารณ์หารือโดยเจตนาบริสุทธิ์นั้นย่อมไม่มีความผิด แต่หากแกนนำยังคงดึงดันที่จะปราศัยจาบจ้วงล่วงเกินให้ร้ายสถาบันแบบที่ผ่านมา จะพูดที่ไหน ก็ผิดกฎหมายอยู่ดี!!
นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้ นายปิยบุตรได้โพสต์ข้อความว่า
“ทราบมาว่า รายการ “ถามตรงตรง” กับคุณจอมขวัญ ออกอากาศวันนี้เป็นตอนสุดท้ายแล้ว
ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปออกรายการนี้ในประเด็นปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อยู่ 2 ครั้ง แต่คู่สนทนาอีกฝ่ายมักจะไม่ว่าง ไม่สะดวกมาออกรายการกับผมเสมอ มาครั้งนี้ รายการก็เกือบจะล่มอีก มีการติดต่อหลายคนไป แต่ละคนก็ไม่ว่าง ไม่สะดวก บางคนตอบรับแล้ว แต่พอใกล้วันออกอากาศก็ไม่ตอบรับยืนยัน ทางรายการจึงแจ้งยกเลิก เพราะเกรงใจผม ไม่อยากให้ผมต้องรอยืนยันจนไม่ได้ไปทำอย่างอื่น แต่ผมเสนอไปว่า ทาบทามคู่สนทนาอีกฝ่ายได้เต็มที่ จนนาทีสุดท้าย ผมก็ยังรอ ถ้าไม่ได้จริงๆ ค่อยยกเลิกก็ได้ ในท้ายที่สุด คุณหมอตุลย์ตอบรับมาออกรายการ ต้องขอบคุณคุณหมอตุลย์ ที่สละเวลามาออกรายการด้วยครับ ผมเคยร่วมเวทีอภิปรายที่คณะสังคมวิทยา มธ กับคุณหมอตุลย์ คุณรุ้ง และอาจารย์ธีรภัทร์ เมื่อไม่กี่เดือนก่อนนี้ เวทีครั้งนั้นสนุกมาก มาครั้งนี้ ก็เช่นกัน ผมเชื่อว่ารายการวันนี้จะเป็นประโยชน์และถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์แน่นอน
ฝากทุกท่านติดตามชมทางไทยรัฐ ทีวี ตั้งแต่ 17.15 น. ครับ”
จากข้อความของนายปิยบุตร จะเห็นได้ว่ามีการพยายามเชิญนายปิยบุตร ไปออกรายการในประเด็นปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อยู่ถึง 3 ครั้ง ซึ่งราวกับว่าต้องการพุ่งประเด็นไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งก่อนหน้านี้มีรูปแบบรายการที่ค่อนข้างเอนเอียงไปในฝั่งใดฝั่งหนึ่งอยู่เสมอ จนน่าสงสัยว่าทางผู้จัดมีเจตนาอย่างไรและมีทัศนคติเช่นไรต่อสถาบัน ถึงได้พยายามจัดรายการในประเด็นที่มีความละเอียดอ่อน สร้างความแตกแยก และส่งผลต่อความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศ