“นิพนธ์” นำทัพทุกหน่วยงาน หารือแก้วิกฤต pm 2.5 นัดบิ๊กคลีนนิ่งบรรเทาความเดือดร้อน

1699

นิพนธ์ฯ นำทุกหัวหน้าหน่วยงานเกี่ยวข้องถกเร่งแก้วิกฤติ ฝุ่น pm 2.5 ทำทันที มาตราการชะลอควบคุมกิจกรรมก่อมลพิษในเขตก่อสร้าง เข้มงวดรถยนต์ที่ก่อมลพิษสูง พร้อมบิ๊กคลีนนิ่งพรุ่งนี้ กำชับผู้ว่าฯปริมณฑลควบคุมพื้นที่อย่างเข้มข้น

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 16 ธันวาคม 2563 ที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นทีกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พล.ท. สรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผบช.น. ผู้แทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม

นายนิพนธ์ กล่าวว่า “นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยประชาชนจึงได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานที่ผ่านมาให้รัฐนตรีทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาฝุ่น (PM 2.5) เร่งรัดแก้ไขเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่น (PM2.5) และลดผลกระทบด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันให้มากที่สุด โดยได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยจัดประชุมเพื่อติดตาม และดำเนินการหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM.2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นการเร่งด่วน”

ทั้งนี้ได้สั่งการถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดในขตปริมณฑลให้ดำเนินการ ดังนี้

1. ให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และ
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เป็นหลัก ในการอำนวยการสั่งการควบคุมและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ร่วมกับกฎหมาย และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.ข้อให้ทบทวนและจัดทำแผนผชิญเหตุสำหรับใช้แก้ปัญหาในพื้นที่รับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำรายละเอียดการแบ่งพื้นที่ การกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนตลอดจนการจัดชุดปฏิบัติกรที่สามารถข้าไปยังจุดที่ก่อให้เกิดการเผา หรือการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ได้อย่างครอบคลุมในทุกพื้นที่
3.เน้นย้ำการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ตันทาง (แหล่งกำเนิด) โดยบูรณาการหน่วยงานรับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งการการควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะ การควบคุและลดมลพิษจกการก่อสร้าง การควบคุมและลดมลพิษจากอุตสาหกรรม การควบคุมและลดมลพิษจากภาคครัวเรือน
4.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเร่งสร้างความเข้มแข็ง และเสริมสร้างความรู้ให้ผู้นำชุมชนประชาชนจิตอาสา และอาสาสมัคร ในการสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวัง ติดตาม และตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งขยายเครือข่ายเพื่อแจ้งเตือน และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทราบถึงสถานการณ์ที่ถูกต้อง
5.ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจถึงสถานการณ์ ข้อมูลด้านสุขภาพ แนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของประชาชนของกระทรวงสาธารณสุข มาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ และข้อกฎหมายให้กับประชาชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองของพื้นที่ และหากสถานการณ์ฝุ่นละอองอยู่ในภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ให้บูรณาการหน่วยงานในการให้ความช่วยเหลือประชาชนโดยเร็ว เช่น การแจกจ่ายหน้ากากอนามัย ฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศ การกวาดล้างทำความสะอาดถนน

โดยยังคงจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลสนับสนุนมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ โดยในวันพรุ่งนี้ กทม. ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นและลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ ควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมตรวจจับยานพาหนะที่มีควันดำเป็น 50 จุดทั่วกทม.ซึ่งกว่า 50% ของมลภาวะมาจากยานพาหนะ

รวมถึงการควบคุมในกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นในพื้นที่ก่อสร้างต่างๆ พร้อมประสานจังหวัดปริมณฑลดำเนินมาตรการควบคุมการเผาอย่างเคร่งครัดอย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชนใช้รถโดยสารสาธารณะ งดเว้นการเผาขยะและเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อป้องกันสถานการณ์มิให้รุนแรงมากขึ้นอีกด้วย”