คณะกรรมฯมาตรา 36 พ.ร.บ.ร่วมทุนรฟม.เปลี่ยนเงื่อนไขทีโออาร์ รถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันตก) หลังบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ร้อง ผ่านสคร. ให้รวมซองเทคนิคและการเงินด้วยกันในการยื่นซองประมูล เอกชนรายอื่นดิ้นสู้ ปรับตัวหวังผลักดันให้เดินหน้าได้ รฟม.ยันกฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ เลื่อนวันยื่นซองออกไปเป็น 6 พ.ย.2563 ลือหึ่งเปิดช่องเอื้อบางราย
นาย ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรฟม แจงผลการประชุม วันที่ 21 ส.ค. 2563 คณะกรรมการ คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน มาตรา 39 แห่งพระราชบัญบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุนฯ 2562 เพื่อตอบคำถามกรณี บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ซื้อซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม( บางขุนนนท์-มีนบุรี ) มูลค่า 1.4แสนล้านบาท รูปแบบ PPP Net Cost (งานโยธาและงานระบบ รวมสัญญา 30 ปี) สรุปผลการประชุมดังต่อไปนี้
-รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม) ระยะทาง 13.4 กม.
-ขยายยื่นซองประมูล จาก 23 ก.ย.2563 เป็น 6 พ.ค.2563
-เซ็นสัญญาเอกชนร่วมลงทุน ธันวาคม 2563
-ปรับเกณฑ์ใหม่ ยื่นซองเทคนิค+ราคา (คะแนนเทคนิค 30%, คะแนนราคา 70%)
เอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุน (Request for Proposal Documents : RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซี่งประกอบด้วย ส่วนงานโยธาช่วงตะวันตก และส่วนงานเดินรถทั้งระบบ สายสีส้ม ระหว่างวันที่ 10 -24กรกฎาคม มีจำนวน 10 รายได้แก่
- บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
- บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
- บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
- บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
ITD เปิดเกมส์รุก-ชิงเปลี่ยนกฎขอรวมซอง
“การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างแบบปกติ แต่เป็นการคัดเลือก เอกชนร่วมลงทุนรัฐ ซึ่งมูลค่า ที่เอกชนจะขอสนับสนุน ส่วนงาน และ แบ่งผลประโยชน์ให้รัฐจะต้องมีความสัมพันธ์กับวิธีการ แผนงาน คุณภาพ และ ประสิทธิภาพ ของงานที่เอกชนจะดำเนินการให้แก่รัฐ ดังนั้น รัฐไม่ควร พิจารณา ให้ผู้ชนะการคัดเลือก เป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์ ทางการเงินสูง สุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุด แก่รัฐในภาพร่วมที่จะทำให้โครงการ ของรัฐประสบความสำเร็จ ได้ โดยพิจารณาถึงปัจจัยผลประโยชน์ ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง “
บมจ.อิตาเลียน ไทย ต้องการให้ รฟม. นำซองเทคนิกกับราคา รวมอยู่ในซองเดียวกัน โดยไม่ควรตัดสินที่ ราคาเพียงอย่างเดียว ก่อนหน้านี้ ได้เคยมีข้อเสนอในลักษณะนี้ แต่ รฟม.มองว่า ผิดหลักการและเงื่อนไข ที่เคย ดำเนินโครงการมา
รฟม.รื้อเกณฑ์เดิม รวมซองตาม ITD เสนอ
นาย ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ยืนยันว่า วันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมาเป็นการประชุมตอบคำถาม ของภาคเอกชน ที่ร้องเรียนมา แต่ เงื่อนไขทีโออาร์ ยังคงเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่มติบอร์ดกลับไม่ได้เป็นตามนั้น ล่าสุดลงมตินำซองเทคนิครวมซองราคา ตามที่ บมจ.อิตาเลียนไทยร้องขอ ไม่สนใจกรณีรีฐจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนต่ำหรือไม่ ทั้งนี้อ้างเหตุผล มีพ.ร.บ.ร่วมทุนรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพิ่งออกมา 12 พ.ค.2563 ซึ่งมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ต้องพิจารณาการประกวดราคาตามประกาศ ของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) จึงต้องมีการปรับปรุง และพิจารณาประเด็นอุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น จึงต้องรอบคอบ ทั้งนี้ไม่ขัดพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างแต่อย่างใด และขยายวันยื่นประมูลจากวันที่ 23 ก.ย.2563 เป็น 6 พ.ย.2563
เอกชนรายอื่นปรับตัวสู้
กลุ่มบีทีเอส ได้ยื่นหนังสือขอคงเกณฑ์เดิม คือพิจารณาซองเทคนิค แล้วจึงพิจารณาราคา ซึ่งรถไฟฟ้าสายอื่นๆ และการประมูลรถไฟความเร็วสูงก็ดำเนินการแบบเดิมมาตลอด และผลคือภาครีฐได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านเทคนิค และราคาค่าตอบแทนที่รัฐจะได้รับ อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มบีทีเอส เตรียมผนึกบริษัทพันธมิตรจากจีนที่เชี่ยวชาญด้านการทำอุโมงค์ใต้ดินมาสู้อย่างเต็มที่
บมจ.ช.การช่าง แจงยินดีทำตามที่รัฐบาลกำหนดทุกรูปแบบและต้องการให้โครงการเดินหน้าต่อไปโดยเร็ว
รูปแบบการลงทุน PPP Net Cost โดยภาครัฐจะลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนค่างานโยธาและลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและให้บริการการเดินรถไฟฟ้าทั้งระบบ เงื่อนไขทีโออาร์การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งนี้ จะแตกต่างจากเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ที่ปกติแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติทั่วไป คุณสมบัติด้านเทคนิค ด้านการเงินและข้อเสนอเพิ่มเติมอื่น ๆ โดยผู้ยื่นประมูลต้องผ่านคุณสมบัติทั่วไป แลและคุณสมบัติด้านเทคนิค จึงจะได้รับการพิจารณาให้เปิดซองราคาและยึดถือเอาผู้ที่เสนอผลประโยชน์หรือผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดเป็นเกณฑ์ชี้ขาด
การปรับเกณฑ์พิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 (ด้านเทคนิค) และข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านการเงิน) รวมห่อกันไปเลย ไม่ต้องมาทีละสเต็ปตามที่เคยทำกันมาย่อมมีผลต่อการตัดสินใจเสนอราคาประมูล และการเตรียมตัวในการแข่งขัน ของเอกชนรายอื่นๆ ซึ่งแน่นอนใครลงมือก่อน เตรียมตัวก่อนย่อมได้เปรียบ แม้รฟม.จะยืดเวลาการยื่นซองประมูลออกไป ก็ไม่พ้นข้อครหาว่า มันจำเป็นเร่งด่วนขนาดไหน และดีกว่าเกณฑ์เดิมอย่างไร เพราะคำชี้แจ้งมีแค่ว่า กฎหมายให้ทำได้ และพิจารณารอบคอบแล้ว ขณะที่ก่อนหน้านี้ยืนยันไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง งานนี้ไม่น่าจะราบรื่นตามใจใครบางคนง่ายๆ ถ้ารฟม.ยังแจงสาธารณชนไม่ได้ชัด?!