Truthforyou

ดิจิทัล 5G !! ดันเมืองอัจฉริยะแจ้งเกิด เริ่มกรุงเทพฯและ 5 จังหวัดนำร่อง หนุนพัฒนาอุตฯเทคโนโลยีชั้นสูง ดูดนักลงทุนต่างชาติ

รัฐบาลประกาศให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน เปิดโอกาสพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด หนุน EEC เป็นเป้าหมาย ดึงดูดนักลงทุนต่างขาติ ปักหมุดพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อยกระดับไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอย่างแท้จริง

ตั้งเป้าโครงข่าย 5G ครอบคลุมทั่วประเทศ

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีบริการ 5G เชิงพาณิชย์ เพราะมีความพร้อมทั้งด้านผู้บริโภค ที่ต้องการใช้บริการ 5G ขณะที่ไทยมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 4G ครอบคลุมทั่วประเทศและพร้อมที่จะพัฒนาเป็น 5Gแล้ว ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนื้ รัฐบาล ยังเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุน 5G สร้างแรงจูงใจดึงดูดนักลงทุนให้เกิดการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม 5G โดยการใช้งาน 5G จะเกิดขึ้นในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และดึงดูดการลงทุนจากบริษัทต่างชาติ

ปักธง 6 จังหวัดเป็นเมืองอัจฉริยะสมบูรณ์แบบ

รัฐบาลกำหนดพื้นที่  6 กลุ่มจังหวัดที่จะได้ประเดิมการใช้งาน 5G เพื่อนำไปสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา และภูเก็ต รวมทั้งท่าอากาศยานที่สำคัญที่จะได้สัมผัส 5G ก่อน

แผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทยในระยะปี 2566-2570 ตั้งเป้าไว้ ให้มีโครงข่าย 5G ครอบคลุมร้อยละ 98 ของประชากรภายในปีพ.ศ. 2570 และมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ในเขตเทศบาลและ 50 Mbpsในทุกพื้นที่ เพิ่มเศรษฐกิจมีมูลค่าเพิ่มจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5Gเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.6 ของ GDP 

จำนวนผู้ประกอบการ SME ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5Gไม่ต่ำกว่า 7,000 ราย จำนวนผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สามารถเข้าถึงบริการดิจิตอลด้านการศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ 5G ไม่ต่ำกว่า 700,000 ราย อันดับการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศของ IMD ด้านประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจและด้านองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิตอล ต้องดีขึ้นไม่น้อยกว่า 8 อันดับ และผลงานวิจัยนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G ต้องขยายผลเชิงพานิชย์อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50  ซึ่งมั่นใจได้ว่า ไทยจะไม่ตกขบวน 5G เพราะได้มีการนำร่องเปิดให้บริการ 5G ในหลายพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้ไทยมีโครงข่ายดิจิทัลที่ทันสมัย เช่น กับประเทศชั้นนำด้านเทคโนโลยี เช่น จีน สหรัฐ และเกาหลีใต้

ทำไมต้อง 5G เชิงพาณิชย์-กสทช.ผลักดันจนสำเร็จ

เทคโนโลยี 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 10 เท่า และปริมาณการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า 1,000 เท่า มีความหน่วงของ เวลาต่ำมาก ทำให้ 5G สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Internet of Things ได้มากถึง 1 ล้านเครื่อง/ตารางกิโลเมตร ส่งผลให้เทคโนโลยี 5G ไม่ได้จำกัดการใช้งานเฉพาะกลุ่มผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น แต่สามารถตอบโจทย์การใช้งานให้กับภาคอุตสาหกรรม

มีการประเมินกันว่า 5G จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของบริการการใช้ข้อมูล อาทิ วิดีโอออนไลน์ การใช้งาน เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง อย่าง ​VR และ AR มากขึ้น ดิจิทัล 5G จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับโอเปอเรเตอร์ และช่วยให้ผู้ใช้งานแบบรายเดือนเพิ่มมากขึ้น และจะช่วยเพิ่ม ARPU เฉลี่ยให้มากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนลูกค้ารายเดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 25% ซึ่งรายได้ ARPU จากลูกค้าแบบรายเดือนมีมูลค่าสูงกว่าแบบเติมเงินถึง 3.5 เท่า

แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี แต่ประเทศไทยได้กลายเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีบริการ 5G เชิงพาณิชย์เกิดขึ้นในปีนี้ เพราะแรงผลักดันของรัฐบาลและผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอย่าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.​ที่ปักธงผลักดันต่อเนื่องทำให้ไทย ได้มี 5G เชิงพาณิชย์ใช้ได้สำเร็จ

Exit mobile version