ซูเปอร์โพล เผย ประชาชนส่วนใหญ่ ชี้ ให้ม็อบหยุดคุกคามผู้อื่น หยุดสร้างความเดือดร้อน!?!

2616

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ราษฎร จะไปต่อ ทางออกประเทศไทย

กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 2,108 ตัวอย่างดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา

เมื่อถามถึง ความเห็นของราษฎร เรื่อง การหยุดม็อบคุกคามผู้อื่น หยุดเบียดเบียนผู้อื่น หยุดสร้าง
ความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นที่ต้องการเดินทางสัญจรไปมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.2 ระบุ หยุดได้แล้ว
ในขณะที่เพียงร้อยละ 1.8 ระบุว่า ทำต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความรู้สึกเบื่อหน่ายของราษฎร ผล
สำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.6 รู้สึกเบื่อหน่าย บรรดารัฐมนตรีที่เอาแต่เปิดงาน นิทรรศการ วันเปิด
คือวันปิด เสียดายงบประมาณ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ควรทำอะไรที่เป็นโครงการที่เด็กและเยาวชนและ
ประชาชนจับต้องได้จะดีกว่า

ที่น่าพิจารณา คือ เมื่อถามถึง ความต้องการของราษฎร เรื่อง ที่เป็นประโยชน์เรื่องแรก คือ
นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรเป็นผู้ถือธงนำปฏิรูปการศึกษา ทั้งระบบของประเทศ พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.8 ระบุต้องการให้ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้ถือธงนำปฏิรูป
การศึกษาทั้งระบบของประเทศ ในขณะที่ เพียงร้อยละ 8.2 ไม่ต้องการ

ที่น่าเป็นห่วง คือ เมื่อถามถึง ความเห็นของราษฎร ต่อ อุปสรรคของการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 97.5 ระบุ ตัวเด็ก นักเรียน นักศึกษา เอง คือ อุปสรรค รองลงมาคือ ร้อยละ 96.7 ระบุคุณภาพชีวิต
ของ ครู อาจารย์ ภาระหนี้สิน ค่าตอบแทนที่ไม่ดีพอ ร้อยละ 96.5 ระบุ การเรียนการสอน หลักสูตร ร้อยละ
96.4 ระบุ รัฐบาลและนโยบายด้านการศึกษา ร้อยละ 96.1 ระบุ ความไม่พร้อมของแต่ละโรงเรียน และ
สถานศึกษาแต่ละแห่ง ร้อยละ 96.0 ระบุ พ่อแม่ผู้ปกครอง คือ อุปสรรค ร้อยละ 94.2 ระบุ ตัวครู อาจารย์ ไม่
มีความรู้ความสามารถพอ คุณภาพไม่ดีพอ ร้อยละ 93.8 ระบุ ม็อบและการยุยงปั่นกระแส สร้างทัศนคติและ
พฤติกรรมของเด็กเยาวชนเป็นอุปสรรค ในขณะที่ เพียงร้อยละ 28.9 เท่านั้นที่ระบุ การแต่งกาย เครื่องแบบ
นักเรียน นักศึกษา เป็นอุปสรรคของการศึกษามากถึงมากที่สุด

ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึง ความต้องการเร่งด่วนของ ราษฎร ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี ในการใช้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นช่องทางช่วยเหลือเด็กยากจน แก้
อุปสรรคของการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.4 ต้องการ ในขณะที่ เพียงร้อยละ 1.6 เท่านั้นที่ไม่
ต้องการ

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า การปฏิรูปไม่ใช่ยารักษาทุกโรคและการปฏิรูปหลายๆ เรื่องอาจจะนำไปสู่
ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในกลุ่มต่างๆ ของสังคมแต่การตอบโจทย์ตรงเป้าความต้องการของ
กลุ่มเป้าหมายต่ำง ๆ ต่างหากจะช่วยบรรเทาเยียวยาความเจ็บปวด ความทุกข์ยากของ ทุกกลุ่มเป้าหมายได้
ดีกว่า โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปการศึกษาที่กลุ่มราษฎรต้องการให้ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์
โอชา เป็นผู้ถือธงนำการปฏิรูปการศึกษาด้วยตนเองแต่อาจจะเริ่มแก้ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลกำลังทำ
อยู่คือ การใช้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในยุคของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เร่งรัดช่วยเหลือเด็กนักเรียนยากจนพิเศษที่ฝาบ้านไม่ครบสี่ด้าน จะส่งผลดี
เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้ำใจ ความเชื่อมั่นและการสนับสนุนของกลุ่มราษฎรต่อภารกิจด้านกำรศึกษาของ
รัฐบาลได้ ผลที่ตามมาคือ กลุ่มย่อย ๆ ในม็อบราษฎรจะได้รับการตอบสนองแบบเลือกสรรสิ่งที่ตอบโจทย์
ตรงเป้าความต้องการของม็อบราษฎร (Mob Selective Appeal) ทีละกลุ่มย่อย ๆ จนกระทั่งนำไปสู่การ
เดินหน้าต่อของราษฎรที่ดีอันเป็นทำงออกของประเทศด้วยสันติวิธีปกติสุขได้ทำงหนึ่ง