Truthforyou

รัฐกันชนปะทุ?!!? เบลาสุสประท้วงไล่รัฐบาล ปธน.ยันไม่ลาออก ขณะปูตินพันธมิตรรัสเซียกร้าว ขออียูหยุดแทรกแซง พร้อมตอบโต้

ผู้นำฝ่ายค้านเบลารุสหนีออกนอกประเทศ ปลุกผู้สนับสนุนหลายหมื่นคน ประท้วงครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ที่กรุงมินสก์ หลังประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโกชนะเลือกตั้งถล่มทลาย ปธน.ลูคาเชนโก ปฏิเสธไม่ลาออกเพราะเลือกตั้งมาอย่างชอบธรรม ขณะที่อียูแทรกแซงเปิดเผยเตรียมคว่ำบาต ทำให้เครมลินต้องออกมาปกป้องเต็มที่ งานนี้ปธน.สีจิ้นผิงแสดงจุดยืนชัดอยู่ข้างพันธมิตรรัสเซีย

วันอาทิตย์ (16 ส.ค.) ฝูงชนเดินขบวนบนท้องถนนมุ่งหน้าสู่จัตุรัสอิสรภาพกลางกรุงมินสก์ สำนักข่าวต่างประเทศประเมินว่า จำนวนผู้เข้าร่วมมากกว่า 100,000 คน ตัวเลขระดับนี้ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่เบลารุสแยกจากสหภาพโซเวียต เว็บไซต์ข่าวอิสระTut.by เรียกการประท้วงครั้งนี้ว่า “ใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอกราชเบลารุส”

การประท้วงครั้งนี้เป็นไปตามเสียงเรียกร้องของสเวตลานา ติคานอฟสกายา ผู้นำฝ่ายค้าน ที่ต้องหนีไปอยู่ลิทัวเนีย หลังจากยื่นหนังสือคัดค้านผลการเลือกตั้งจนถูกควบคุมตัวนาน 7 ชั่วโมง 

สื่อท้องถิ่นรายงานว่า เมืองใหญ่อื่นๆ ก็มีการประท้วงเช่นกัน ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาชาวเบลารุสลงถนนมากขึ้นทุกขณะ เพื่อคัดค้านลูคาเชนโก ที่ถูกกล่าวหาว่าโกงเลือกตั้งจนชนะถึง 80% เมื่อประชาชนประท้วงตำรวจปราบจลาจลใช้กำลังรุนแรงปราบปรามประชาชน และทำร้ายผู้ถูกจับกุม

รายงานข่าวจากสถานีโทรทัศน์ของรัฐเรียกการประท้วงครั้งนี้ว่า “การประท้วงทางเลือก” โดยเผยแพร่ภาพการประท้วงเพียงเล็กน้อย และไม่เผยแพร่ภาพป้ายเขียนข้อความต่อต้านลูคาเชนโกเลย

อียูแทรกแซงเปิดเผย-ประกาศหนุนผุ้ประท้วงเตรียมมาตรการคว่ำบาตร

ในต่างประเทศมีความเคลื่อนไหวเช่นกัน ประชาชนชาวเช็กและเบลารุสหลายร้อยคน รวมตัวกันที่ศูนย์ประวัติศาสตร์ในกรุงปราก เมืองหลวงสาธารณรัฐเช็ก บ้างถือธงชาติแดงขาวของเบลารุส บ้างถือภาพติคานอฟสกายา เพื่อแสดงความสนับสนุนผู้ประท้วงในเบลารุส ที่โรมาเนียและโปแลนด์ก็มีการประท้วงแบบเดียวกันแต่เล็กกว่า

ลูคาเชนโก วัย 65 ปี ผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดปกครองเบลารุสมา 26 ปี กำลังเผชิญความท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

 ไม่เพียงแต่แรงกดดันบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้นทุกวัน แรงกดดันจากต่างประเทศก็ตามมาด้วย ผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) เห็นชอบร่างเป้าหมายการคว่ำบาตรรอบใหม่ ลูคาเชนโกจึงติดสินใจพึ่งพันธมิตร  ทั้งนี้รัสเซีย พันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของเบลารุส ได้แสดงจุดยืนอย่างแจ่มชัดว่าพร้อมสนับสนุนรัฐบาลลูคาเชนโก ขณะที่จีนแสดงจุดยืนพร้อมสนับสนุนทางนี้เช่นกัน

ปธน.ปูติด-ปธน.สีจิ้นผิง ประกาศ พร้อมให้ความช่วยเหลือทางทหารถ้าจำเป็น

รายงานข่าวแจงว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย ได้หารือทางโทรศัพท์กับลูคาเชนโกว่า รัสเซียพร้อมให้ความช่วยเหลือที่ต้องการ รวมถึงในกรณีที่จำเป็นยินดีจะใช้ “CSTO:Collective Security Treaty Organization” พันธมิตรทางทหารระหว่าง 6 รัฐอดีตสหภาพโซเวียต สถานีโทรทัศน์อาร์ที ที่ได้รับการสนับสนุนจากเครมลิน รายงานว่า CSTO ใช้ในกรณีที่มีภัยคุกคามทางทหารจากภายนอก

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ได้แจ้งต่อนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี และประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ว่าความพยายามของกองกำลังภายนอกในการแทรกแซงวิกฤตการเมืองในเบลารุส โดยการเพิ่มแรงกดดันต่อผู้นำในเบลารุสนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้

ด้านนางแมร์เคิล บอกปูตินว่า รัฐบาลเบลารุสของประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ต้องหยุดใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงอย่างสันติ, เข้าสู่การเจรจากับฝ่ายค้าน และปล่อยตัวนักโทษการเมืองทันที

ปธน.ปูตินได้หารือทางโทรศัทพ์กับประธานาธิบดีมาครง แห่งฝรั่งเศสซึ่งมีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในลิเบีย และย้ำว่า การแทรกแซงจากอำนาจภายนอกนั้นรัสเซียไม่อาจยอมรับได้

กระแสเปลี่ยนข้างสุกงอม

ชนวนประท้วงในเบลารุสมาจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 9 ส.ค. ลูคาเชนโกชนะถล่มทลายด้วยคะแนน 80.1% ทำให้ นางติคานอฟสกายา ผู้นำฝ่ายค้าน วัย 37 ปีซึ่งได้คะแนนเสียงไปเพียง 10.12% กล่าวหาฝ่ายรัฐบาลว่าโกงการเลือกตั้ง และว่าหากมีการนับคะแนนอย่างถูกต้องเธอจะได้คะแนน 60%-70% เมื่อประชาชนประท้วงตำรวจต้องปราบปรามอย่างรุนแรง ประชาชนถูกจับกุมกว่า 6,700 คน บาดเจ็บหลายร้อยคน และเสียชีวิต 2 คน

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีลูคาเชนโก ผู้นำเบลารุส ก็กล่าวหาพรรคฝ่ายค้านว่าพยายามก่อรัฐประหารยึดอำนาจ ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนกรณีการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยเขากล่าวว่า การที่บรรดาผู้นำฝ่ายค้านจัดตั้งสภาประสานงานร่วมขึ้นมา ถือว่าเป็นความพยายามที่จะยึดอำนาจ รัสเซียและเบลารุส มีความสัมพันธ์เป็นพันธมิตรด้านการทหารและทางการเมืองอย่างเป็นทางการต่อกัน ผ่านองค์การสนธิสัญญความมั่นคงร่วม หรือ CSTO, สหภาพเศรษฐกิจยูราเซียน หรือ EEU และข้อตกลงรัฐสหภาพ

Exit mobile version