ผวายางขาดตลาดทั่วโลก!?! ทำราคายางไทยพุ่ง 60-80 บาทต่อกิโลฯ คาดราคาดีไปถึงกลางปี ’64

2148

โลกเผชิญปัญหายางขาดตลาด ทำให้ราคามีสิทธิ์จะพุ่ง 60-80 บาท ต่อกิโลกรัม ปัจจัยบวกเพียบ แต่ชาวสวนยางแค่หวังจะไม่โดนรายใหญ่ทุบราคาอีก ในส่วนของภาครัฐที่มีกระทรวงพาณิชย์, กยท.ได้พยายามรับมือกับอุปสรรคจากภายนอก และเสริมสร้างโอกาส ขณะที่อังกฤษเผยผลวิจัย ยางธรรมชาติเหนือยางเคมี ทำโอกาสทองของไทยมาถึงแล้ว ภาวะการได้เปรียบทางการแข่งขันระหว่างไทยกับเวียดนามพอกัน เพราะเจอน้ำท่วม อยู่ที่ฝีมือภาครัฐ-ภาคเอกชนไทย จะเบียดคู่แข่งการค้าชิงตลาดต่างประเทศที่เป็นขาขึ้นได้อย่างไรเท่านั้น คนไทยต้องเอาใจช่วยให้ฝ่าฟันไปให้ได้

สถานการณ์ราคายางประจำวันนี้ (3 ธันวาคม 2563) ราคายางแผ่นรมควันปรับตัวตามความต้องการของผู้ซื้อภายในประเทศ และเกิดอุทกภัยบางพื้นที่ในภาคใต้ ราคากลางเปิดตลาด ประจำวันนี้อยู่ที่ 71.78 บาท/กก. โดยปิดตลาดสูงสุด ณ ตลาดกลางนครศรีธรรมราช ราคาอยู่ที่ 73.29 บาท/กก. ส่วนตลาดกลางสุราษฎร์ธานี และตลาดกลางสงขลา ราคาอยู่ที่ 73.25 บาท/กก. และ 72.50 บาท/กก.

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คาดการณ์สถานการณ์ราคายางพารา ณ วันที่ 3 ธ.ค. ว่า ยางแผ่นรมควัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่ากก.ละ2บาท หรือราคาอยู่ที่ไม่ต่ำกว่ากก.ละ 68 บาท ส่วนราคาล่วงหน้าต่างเปิดตลาดจีน เปิดการซื้อขายทะลุ15,600หยวนต่อตัน หรือ72บาท เพิ่มขึ้น1%ตลาดล่วงหน้าญี่ปุ่น ทะลุ260เยนต่อก.หรือ75บาท บวก +3.8%

ขณะที่ปริมาณยางแผ่นขาดตลาด ราคาน้ำยางสดมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้อีก จากฝนตกหนักและน้ำท่วมในภาคใต้ โดยคาดว่า โรงานเปิดรับซื้อที่กก.ละ58 – 59บาท ลานน้ำยางส่วนใหญ่รับซื้อที่กก.ละ56 – 57บาท และราคาหน้าสวนกก.ละ52- 53บาท

ขณะที่สัปดาห์นี้ คาดว่า จะมีฝนตกและน้ำท่วมในภาคใต้โดยทั่วไป ส่งผลให้แทบไม่มีปริมาณน้ำยาง ยางก้อนถ้วย และคาดว่า โรงงานภาคใต้จะรับซื้อน้ำยางที่กก.ละ41.50 – 42.50บาท โรงงานภาคอีสาน รับซื้อกก.ละ40 – 41บาท

สถานการณ์ผันผวนทั่วโลก-โอกาสในวิฤตยางไทย

-เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงลุกลามไปทั่วโลก รอบสอง ถึงแม้ว่าจะมีทดลองวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ในหลายประเทศ ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อราคายางในช่วงนี้ เป็นไปได้ทั้งทรงและเหวี่ยงสูง

-อุปสงค์ถุงมือยางเพิ่มขึ้น เช่นบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) จำกัด มีคำสั่งซื้อถึงกลางปี 2021 บ่งชี้ว่าอุปสงค์น้ำยางสดยังคงขยายตัว 

-สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีน (CAAM) เผยยอดขายรถยนต์ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยรัฐบาล จีนออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ทำความต้องการยางในอุตฯรถยนตร์มีแนวโน้มเพิ่มสูง

– ความตกลงหุ้นส่วนทำงเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งประกอบด้วยประเทศ สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมถึง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ทั้งหมด 15 ประเทศ ได้บรรลุข้อตกลงการเจรจาภายใต้การประชุม สุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 37 ที่ประเทศเวียดนาม โดยประเทศสมาชิกดังกล่าวจะได้รับการ ปรับลดภาษีศุลกากรสินค้าเป็น 0 ทันที

– โรงงานผลิตถุงมือยาง ท็อปโกลฟ จำนวน 28 แห่ง ในมาเลเซีย ปิดทำการ เนื่องจากมีพนักงานอย่างน้อย 1,067 คน ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งท็อปโกลฟมีพนักงานมากกว่า 21,000 รำย สามารถผลิตถุงมือได้ใน ปริมาณ 9 หมื่นล้านชิ้นต่อปี จากสายการผลิตทั้งหมด 750 แห่ง ในขณะที่ อุปสงค์ของถุงมือยางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และมีคำสั่งซื้อคงค้างสะสม ไปถึงสิ้นปี 2564 ทำให้ท็อปโกลฟอาจจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตชั่วคราวใน สาขาประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลดีต่อราคาน้ำยางสด

-อังกฤษ วิจารณ์ถุงมือยางสังเคราะห์จะทำให้เกิดปัญหาตกค้างในดิน ยากย่อยสลายนับ 100 ปี ส่วนยางธรรมชาติย่อยสลายดีกว่า ขณะที่มาเลเซีย วิจัยว่า เทรนด์ใช้น้ำยางธรรมชาติจะกลับมาแรง เพราะการตื่นตัวเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม

กระทรวงพาณิชย์เตรียมรับมือความผันผวน

มาตรการการแก้ไขปัญหาราคายางเร่งด่วนจากหน่วยงานภาครัฐ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประชุมในวันที่ 12 กันยายน 2563 กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับยางพารา มีข้อสรุปดังนี้ 

1) ตรวจสอบสต็อกยางที่กำหนดให้ผู้ค้าต้องแจ้งปริมาณตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) โดยจัดตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงมหาดไทยการยาง แห่งประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเพื่อจัดทีมงานตรวจสอบปริมาณยางคงเหลือในสต๊อกของ ผู้ประกอบการทั่วประเทศ โดยจะตรวจสต็อกยางของผู้ประกอบการที่จะร่วมโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของภาครัฐด้วย ซึ่งจะ ตรวจสอบทั่วประเทศภายในสิ้นเดือนกันยายน 2563 

2) ให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เร่งรัดโครงการโค่นยางและปลูกพืชทดแทน โดยให้หามาตรการจูงใจเพิ่ม ให้เกษตรกรที่หันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นแทนยาง เพื่อลดพื้นที่ปลูกยางให้บรรลุเป้าหมายโดยเร็ว 

3) ให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) พิจารณาปรับปรุงเงื่อนไข รูปแบบการเข้าร่วมโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ที่ภาครัฐให้การสนับสนุนแก่สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ส่งออก ในวงเงิน 65,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นการซื้อขายยาง ในระบบ ให้การดูดซับปริมาณยางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

4) กระทรวงพาณิชย์จะขยายตลาดส่งออก โดยกำหนดเจรจาธุรกิจทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์เพื่อซื้อขายยางพารา และผลิตภัณฑ์ ในวันที่ 30 กันยายน 2563 และ 1 ตุลาคม 2563 และ

-ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 กระทรวงพาณิชย์จะร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงาน “เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด Thailand Rubber Expo” เพื่อกระตุ้นการซื้อขายยาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ และสินค้านวัตกรรม ที่สามารถนำไปมอบเป็นของขวัญ เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 2564 ได้ โดยเป็นการจัดงาน วิถีใหม่ ที่มีการจัดนิทรรศการ การแสดงสินค้า และการเจรจาธุรกิจซื้อขาย ทั้งระบบออฟไลน์และออนไลน์อย่างไรก็ตามหากพบว่ามีการกดราคา หรือมีพฤติกรรมเป็นการเอาเปรียบทางการค้า ซึ่งกรมการค้าภายในจะประสานสำนักงานคณะกรรมการ แข่งขันทางการค้าดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1569