ครม.ไฟเขียว!!! ปรีดีบริหารหนี้สาธารณะปี 63 แตะ 51.64 % ต่อจีดีพี ในวงเงินกู้ 2.14 แสนล้านบาท  

1957

คณะรัฐมนตรีเคาะ มาตรการปรับแผนหนี้สาธารณะตามที่กระทรวงการคลังนำเสนอ โดยปรับวงเงินกู้เป็น 2.14 แสนล้าน ปรับแผนหนี้สาธารณะ 51.64% ต่อจีดีพี ซึ่งยังไม่หลุดกรอบวินัยการเงินการคลัง ส่วนการแก้เกณฑ์ซอฟท์โลนให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงได้ต้องรอประชุมร่วม คณะใหญ่ ศบค.เศรษฐกิจ 

นายปรีดี ดาวฉาย รมว.การคลัง กล่าวว่า กระบวนการทำงานของกระทรวงการคลังจะเปลี่ยนไป การตัดสินใจ การทำมาตรการต่าง ๆ อยู่ที่ ศบศ. ที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล บทบาทของคลังจากในอดีตจะถูกเปลี่ยนไปบ้าง โดยวันนี้คลังมีเรื่องตัวเงินที่ต้องเข้าไปซับพอร์ต เรื่องวินัยการเงินการคลัง บทบาทเปลี่ยนชัดเจน จะมีข้อมูล และมาตรการในรายละเอียดออกมาจาก ศบศ. หลังจากนี้  

สำหรับความท้าทายระยะสั้น เศรษฐกิจทุกประเทศหดตัวลงหมด ถ้าจีดีพีไทยถูกกระทบมากที่สุด ก็ต้องยอมรับว่ามันมากที่สุด เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ไทยพึ่งพาการท่องเที่ยว ส่งออก ปัญหาเกิดจากคนเดินทางไมได้ ไทยก็ได้รับผลกระทบในส่วนนั้นมากที่สุด ทั้งหมดเป็นเหตุและผล ทุกคนถามว่าเมื่อไหร่จะกลับที่เดิม จะ 1-2 ปีนั่นเป็นความคาดหวัง เป็นกำลังใจ ความไม่แน่นอนยังมีอยู่ เราจะแก้ปัญหากัน 1-2 เดือนหรือแก้ปัญหาจนถึงวัคซีนมา บางเรื่องยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจน เพราะมีเหตุและผลของตัวเอง  

อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติมาตรการปรับแผนหนี้สาธารณะตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังต่อไปนี้

  1. อนุมัติและรับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 2ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 โดยมีการปรับแผนที่สำคัญ ดังนี้ 

1.1) ปรับเพิ่มวงเงินกู้ของรัฐบาลในกรณีรายจายสูงกวารายได้ (Revenue Shortfall) ในปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 214,093.92 ล้านบาท

1.2) นํารายการหนี้ของบริษัท การบินไทยจํากัด (มหาชน) (บกท.) ออกจากแผนฯ เนื่องจาก บกท.                ไดพนสถานภาพการเปนรัฐวิสาหกิจ สงผลใหหนี้เงินกูของ บกท. ไมนับเปนหนี้สาธารณะตามกฎหมาย 

1.3) การปรับกรอบและวงเงินของการบริหารหนี้สาธารณะใหสอดคลองกับความตองการของรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน FIDF)

ทั้งนี้ การปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธาณะข้างต้นส่งผลให้วงเงินตามแผนเดิมมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

(1) แผนการก่อหนี้ใหม ปรับเพิ่มสุทธิ 158,521.85 ลานบาท จากเดิม 1,497,498.55 ลานบาท                เป็น 1,656,020.40 ลานบาท

(2) แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลด 67,267.64 ลานบาท จากเดิม 1,035,777.74 ลานบาท                     เป็น 968,510.10 ลานบาท และ

(3) แผนการชําระหนี้ ปรับลด 22,329.31 ลานบาท จากเดิม 389,373.21 ลานบาท เปน 367,043.90              ลานบาท

2.อนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินในกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (Revenue Shortfall) ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 214,093.92 ล้านบาท 

ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2563 โดยการกู้เงินกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ดังกล่าวเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินตาม พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และสอดคล้องกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้รัฐบาลต้องรักษาระดับเงินคงคลังไว้ในระดับที่จําเป็น  เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอสําหรับการเบิกจ่ายเพื่อการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ  ซึ่งการกู้เงินเพิ่มเติมดังกล่าวจะส่งผลให้รัฐบาลมีระดับเงินคงคลังเพียงพอรองรับการเบิกจ่ายของหน่วยงาน

การปรับปรุงแผนฯ ข้างต้นส่งผลให้ประมาณการยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2563    มีจำนวน 8.21 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.64 ซึ่งไม่เกินร้อยละ 60 ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด