เซ่นโควิด-19?!? สภาพัฒน์ฯหั่นจีดีพีตกแรง ทั้งปีติดลบ 7.8% คาดผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่หนี้ครัวเรือนยังสูงในรอบ 4 ปี

1905

วันนี้ (17 ส.ค.) นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 2 ปี 2563  (มี.ค.-มิ.ย.) ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ผ่านมาจีดีพีติดลบ 12.2% ทั้งปีติดลบ 7.8% หนี้ครัวเรือนสูงสุดในรอบ 4 ปี

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปีนี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เต็มไตรมาส รวมทั้งได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ ปิดสถานที่ต่างๆตามมาตรการการเฝ้าระวังโควิด-19 รวมทั้งภาคการส่งออกที่ติดลบ 10% ทำให้จีดีพีหดตัวลงมาก การลงทุนรวมในไตรมาสก่อนลดลง 8% การบริโภคเอกชนลดลง6.6% 

สำหรับเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกติดลบ 6.9% การลงทุนรวมลดลง 7.2% การลงทุนรวมลงลง 10.2% ขณะที่การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น 1.2% การส่งออกครึ่งปีแรกลดลง 17.8% 

นอกจากนี้สภาพัฒน์ยังปรับประมาณการเศรษฐกิจในปีนี้ลงโดยคาดว่าจะติดลบ7.8  % ถึง  -7.3 % โดยมีค่ากลางที่7.5% จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ในช่วง -5% ถึง -6% หรือมีค่ากลางที่ -5.5%

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2563 หดตัวสูง ในระดับ 2 หลักต้น ๆ จากผลของมาตรการปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เข้มงวดทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วนต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว

โดยอุปสงค์ต่างประเทศหดตัวสูง ทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ และการส่งออกสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอลงมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะเครื่องชี้การนบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวสูง มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวได้และมีบทบาทสำคัญในการช่วยพยุงเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ไตรมาส 2/2563 ซึ่งถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวลึก และลึกที่สุดในประวัติศาสตร์ เทียบจากไตรมาส 2/2541 ที่จีดีพีติดลบ 12.5% ซึ่งในครั้งนี้ก็คาดว่ามีโอกาสที่จะติดลบมากกว่าระดับดังกล่าว จากมาตรการปิดเมืองทั้งในและต่างประเทศ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย โดยมาตรการดังกล่าวมีผลกระทบต่อเครื่องชี้เศรษฐกิจทุกตัว การส่งออก การนำเข้า การลงทุน การบริโภค มีเพียงภาครัฐที่ยังขยายตัวได้ 

โดยจากทิศทางที่ดีขึ้นทำให้มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวน้อยลงเรื่อย ๆ ส่วนจะกลับมาเติบโตปกติก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 คงต้องรอไปถึงปี 2565 ดังนั้นการเห็นเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นน่าจะทำให้สบายใจขึ้นว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่ลงต่อ แต่ระยะต่อไปก็ยังมีความท้าทายรออยู่ด้วย” นายดอน กล่าว

ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ยังส่งผลให้หนี้ครัวเรือนไตรมาสแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 คิดเป็นสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่ร้อยละ 80.1 ซึ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี