สบน.แจงการเงินการคลังไทยแกร่ง!?! หนี้สาธารณะ 42.34%ต่อจีดีพี Fitchให้อันดับน่าเชื่อถือ BBB+ มีเสถียรภาพ

1739

คลังแจงหนี้สาธารณะของไทยอยู่ในกรอบวินัยการคลัง สัดส่วน 42.34% ต่อจีดีพี คิดเป็น 7.8 ล้านล้านบาท(ณ.30 กันยายน 2563) นอกจากนี้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับสากล ได้แก่ S&P, Moody’s และ Fitch ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ เนื่องจากประเทศไทยมีภาคการคลังสาธารณะที่แข็งแกร่ง เป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและรักษาวินัยทางการคลัง

เทียบประเทศอื่น ญี่ปุ่นมีระดับหนี้สาธารณะสูงที่สุดในโลก 266.2 %ต่อจีดีพี สหรัฐฯ กับสิงคโปร์ อยู่ที่ระดับ 131.2 %ต่อจีดีพี ขณะหนี้สาธารณะทั่วโลกต่อจีดีพี 98.7% (ตามคาดการณ์ไอเอ็มเอฟ-ตุลาคม 2563)  

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 ไทยมีหนี้สาธารณะมีจำนวนทั้งสิ้น 7.8 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เท่ากับ ร้อยละ 49.34 ประกอบด้วย หนี้รัฐบาล จำนวน 6.73 ล้านล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 795,980 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 309,472 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 7,821 ล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณโดยตรง จำนวน 6.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39.40 ของ GDP สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ จำนวน 1.5 ล้านล้านบาทใช้แหล่งเงินอื่นมาชำระหนี้ จึงไม่เป็นภาระต่องบประมาณ พร้อมประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ปี 2564 ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังซึ่งกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60

ชี้แจงกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวว่า ปี 2564 รัฐบาลเตรียมกู้เงินเพิ่มจำนวน 3 ล้านล้านบาท ทำให้หนี้สาธารณะทะลุ 9 ล้านล้านบาท ว่า ไม่เป็นความจริง โดยตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ปีงบประมาณ 2564 จะมีรายการก่อหนี้ใหม่ จำนวน 1.47 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 

การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 6.23 แสนล้านบาท และการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้แผนงานตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 จำนวน 5.5 แสนล้านบาท และการกู้เงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จำนวน 1.33 แสนล้านบาท รวมถึงการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวน 1.58 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ในภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันการกู้เงินเพื่อการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นกลไกสำคัญ และเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ผ่านวิกฤตการณ์ดังกล่าวไปได้

“การนำเข้า เผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือน ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” นางแพติเซีย กล่าว

สำหรับแผนการบริหารหนี้เดิม จำนวน 1.28 ล้านล้านบาท เป็นการปรับโครงสร้างหนี้เก่าที่ครบอายุ เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะอยู่ในกรอบต้นทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยไม่ได้เป็นการเพิ่มยอดหนี้ใหม่แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับสากล ได้แก่ S&P, Moody’s และ Fitch ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ เนื่องจากประเทศไทยมีภาคการคลังสาธารณะที่แข็งแกร่ง เป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและรักษาวินัยทางการคลัง

โดยประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2564 ยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 60%

บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อย่ ในระดับมีเสถียรภาพ( Stable Outlook) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Credit Rating) ที่ BBB+ และมุมมองความ น่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยูในระดับมีเสถียรภาพ ( ่ Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีความเข้มแข็ง ภาคการคลังและภาคการเงินต่างประเทศอย่ในระดับสูง ซึ่งมีส่วนช่วยรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง (Shock) และความผันผวนของวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ได้เป็นอยางดี

2) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่งเป็ นผลจากการบริหารจัดการ ทางการคลังอย่างรอบคอบและเป็ นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อรักษา วินัยทางการคลัง ทั้งนี้ การขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจําปี ที่เพิ่ มขึ้นจากการดําเนินนโยบายการคลัง จะทําให้หนี้สาธารณะเพิ่ มขึ้นในระยะสั้น อย่างไรก็ดี Fitch เชื่อมันว่ ่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวและเติบโตในระยะ ปานกลางได้โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะฟื้นตัวขึ้นร้อยละ 3.8 เป็ นผลจากการดําเนินมาตรการ ทางการคลังของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้แล้ว สร้างความเชื่อมั่ นในประสิ ทธิภาพการใช้จ่าย ของภาครัฐในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศมีความเปราะบางได้

3) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความเข้มแข็ง โดยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และทุนสํารองระหวางประเทศอยู ่ ในระดับสูง ่ 

4) ประเด็นที่ Fitch ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ สัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อ GDP และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการดําเนินงานของภาครัฐและ การเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง