อังกฤษBrexit อย่างไม่มีข้อตกลง!?!ทำเศรษฐกิจหดตัวสาหัส ค่าเงินปอนด์ผันผวน คาดตกงานกว่า 2.6 ล้านคน

1807

นักเศรษฐศาสตร์มองความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากการที่อังกฤษ Brexit แยกออกจากสหภาพยุโรปอย่างไม่มีข้อตกลง หนักหนากว่าปัญหาระบาดโควิด-19 ทำให้ค่าเงินปอนด์ผันผวน รายได้ลดลง แนวโน้มคนตกงานสูงขึ้น ปัญหาหนี้สาธารณะและขาดดุลการชำระเงิน จะเกิดความเสียหายในระยะยาวอย่างมาก เส้นทางนี้ประชาชนอังกฤษพร้อมใจกันเลือกเพราะมองว่าการคงอยู่ในสหภาพยุโรป ต้องแบกภาระประเทศที่มีปัญหาเศรษฐกิจ และมีค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่จำเป็น และมองว่าทำให้มีอิสระในการทำข้อตกลงการค้ากับประเทศอื่นๆได้ ซึ่งสวนทางกับนักวิเคราะห์การเงินทั้งฝั่งอเมริกาและอังกฤษ ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรคงจะเห็นผลชัดเจนในไตรมาสแรกปี 2564

โควิดระบาดกระทบหนัก-วิกฤตรายได้จากBrexit อย่างไม่มีข้อตกลงหนักกว่า

สนข.บลูมเบิร์กรายงานว่า นักเศรษฐศาสตร์มองการBrexit ของอังกฤษ จะทำให้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนักจากการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ยังไม่ร้ายแรงเท่าการออกจากอียูอย่างไม่มีข้อตกลง (No-deal Brexit)

ประการแรกคือ ผลกระทบต่อ GDP จะลดลงน้อยกว่าตอนอยู่ในสหภาพยุโรป และการออกจากอียูอย่างไม่มีข้อตกลง จะส่งผลต่อการค้าต่างประเทศที่จะมาถึงหลังวันที่ 1 มกราคม 2564 เนื่องจากระยะเวลาเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 นี้

การระบาดโควิด-19 ทำให้สหราชอาณาจักรประสบเศรษฐกิจดิ่งหนัก เทียบกับตั้งแต่เผชิญวิกฤตปี 1709 นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ว่า ปี 2025 GDP ของสหราชอาณาจักรจะเหลือแค่ 3% น้อยกว่ามูลค่าGDPในเดือนมีนาคาปีนี้ ประเมินโดยสำนักงบประมาณฯ(OBR: Office for Budget Responsibility) ซึ่งได้ออกเผยแพร่ในวันพุธ (26 พ.ย.2563) การคลังมีปัญหาเนื่องจากผลผลิตน้อย ขายได้น้อย มีเงินจ่ายภาษีน้อย ทำให้รัฐเก็บภาษีเข้าพกเข้าห่อได้น้อย

ในทำนองเดียวกัน OBR กล่าวว่าการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีกับอียู ทำให้มูลค่าGDP อยู่ที่ 4% ในระยะยาว แต่การออกจากอียูแบบไม่มีข้อตกลง หมายถึงออกจากกฎเกณฑ์ของ WTO ทำให้GDP จะลดลงไป 1.5% แดน แฮนสันจากฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจบลูมเบิร์ก บวกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก 7%ของGDP

การว่างงานอาจเพิ่มขึ้นสูงถึง 7.5% หรือแรงงาน 2.6 ล้านคนต้องตกงาน ปีหน้าหลังBrexitแบบไม่มีข้อตกลง การตกลงการค้าอาจทำให้มีภาระเพิ่มถึง 8.3%

การบริการด้านการเงิน และการส่งออกในประเภทสินค้าอุตสาหกรรมเช่นอุตสาหกรรมรถยนต์, อาหานและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ จะอยู่ในภาวะเปราะบางเมื่อการเจรจาBrexit ไม่ประสบความสำเร็จ

กระทบการมีงานทำ: การระบาดโควิด-19 ทำให้บริษัทและกิจการห้างร้านต่างๆ ไม่ได้เตรียมตัวรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า บรรดาบริษัทเอกชนต่างต้องจ่ายเงินในการรับมือกับปัญหาการระบาดโควิด-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม จนไม่เหลืองบประมาณในการมาพัฒนาธุรกิจ และรับมือความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดคิดได้  ธนาคารแห่งอังกฤษได้ทำการสำรวจ พนักงานระดับสูงด้านการเงิน-ซีเอฟโอ ขององค์กรเมื่อเดือนที่ผ่านมา มีแค่ 4% ได้เตรียมตัวเต็มที่เพื่อรับผลกระทบจากการออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ในช่วงสินปีนี้

ก่อนการระบาดโควิด-19 ธุรกิจเอกชนเตรียมพร้อมงบประมาณในการตั้งตารอผลการBrexit ของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปอย่างใจจดจ่อ แต่เมื่อมีการระบาดโควิดเพิ่มเข้ามา ซ้ำเติมขีดความสามารถในการพัฒนาและการแข่งขันในอนาคตของพวกเขา

กระทบต้นทุนสินค้าและบริการ

ไม่ว่าจะอย่างไรการออกจากBrexit และก้าวเข้าสู่เงื่อนไขของข้อตกลงการค้า WTO กลับเสี่ยงที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นในระยะยาว ทำให้กระทบคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้าได้เมื่อต้นทุนสูงขึ้น

การตกต่ำของเศรษฐกิจยิ่งมีขนาดใหญ่แค่ไหน ก็ยิ่งกระทบผลประโยชน์ต่องบประมาณของรัฐซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องหามาเพิ่มเติมให้พอเท่านั้น

ถ้าข้อตกลงทางการค้าหยุดชะงัก ค่าใช้จ่ายและรายได้จะสมดุลได้ต้องมีงบฯ 27 พันล้านปอนด์ (36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) จะดำเนินการโดยเก็บภาษีเพิ่ม หรือตัดค่าใช้จ่ายก็ต้องขึ้นกับสำนักงบประมาณ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะต้องใช้งบฯจำนวน 34 พันล้านปอนด์ ทั้งนี้ต้องได้จากการเก็บภาษีศุลกากร และจากมาตรการควบคุมการค้ากับสหภาพยุโรปนั่นเอง

มูดี้ส์ฟันธงเศรษฐกิจอ่วมกว่าเดิม

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษในวันศุกร์ (26 พ.ย.2563) โดยระบุถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19, การแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และการขาดแผนการด้านงบประมาณที่ชัดเจนจากรัฐบาลของนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ทั้งนี้ มูดี้ส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษลงสู่ระดับ Aa3 จาก Aa2 ซึ่งทำให้อังกฤษมีเครดิตอยู่ในอันดับเดียวกับเบลเยียม และสาธารณรัฐเชค มูดี้ระบุว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษอ่อนแอกว่าคาดอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต

เศรษฐกิจของอังกฤษซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกหดตัวลงมากที่สุดในบรรดาประเทศในกลุ่ม G7 ในไตรมาส 2/2563 และหนี้สาธารณะของอังกฤษพุ่งแตะ 2 พันล้านปอนด์ (2.58 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งเกินกว่า 100% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

มูดี้ส์ระบุว่า หากอังกฤษไม่สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าหลัง Brexit กับสหภาพยุโรปได้ ก็จะยิ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจที่ถูกกดดันอยู่แล้วจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากนี้ มูดี้ส์ยังระบุด้วยว่า อังกฤษสูญเสียระเบียบวินัยด้านงบประมาณ และหนี้สินที่ระดับสูงก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะลลงได้อย่างรวดเร็ว