Truthforyou

ดร.นิว โพสต์ตัวอย่างข้อดีของการที่สำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ภายใต้การดูแลของในหลวง

จากกรณี พลเอก หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล หรือ ท่านใหม่ ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย มีพระเมตตากับประชาชนอีกครั้ง และจะมีต่อไปในการช่วยเหลือพสกนิกรของพระองค์

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นหาที่สุดมิได้ #พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระมหากรุณา #พระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย

บริเวณถนนราชวิถี เขตดุสิต ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่มหาวิทยาลัยสองแห่ง ประกอบด้วย #มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 60 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา #มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 37 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา

อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของเยาวชนของชาติ เพราะฉะนั้น…“ข่าวลือ…ข่าวเล่าอ้างว่า ด้านลบ” ควรจบกันได้แล้วครับ ที่สำคัญ… คณาจารย์และนักศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต

พึงสำเหนียกตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณ ในครั้งนี้เป็นที่ยิ่ง ด้วยความจงรักภักดีเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม พร้อมปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ให้เป็นที่เทิดทูนของปวงชนชาวไทยตลอดกาลนาน เพื่อสนองในพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นหาที่สุดมิได้ในครั้งนี้ เลิกชูสามนิ้วกันได้แล้วครับ ความจริงได้กระจ่างออกมาแล้ว เลือกทางเดินกันเองนะครับ ว่าใครทำเพื่อตัวเอง หรือทำเพื่อประโยชน์ให้กับประเทศชาติ อันเป็นที่รักของเรา

ขณะที่ทางด้าน ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas สหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความว่า

ตัวอย่างข้อดีของการที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้การดูแลของในหลวง พระองค์สามารถนำทรัพย์สินเหล่านี้ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จากข้อมูลที่มีการแชร์กันอยู่ในขณะนี้…เราจึงได้เห็นถึงน้ำพระทัยของพระองค์ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 37 ไร่ 1 งาน 10 ตรว. และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 60 ไร่ 1 งาน 80 ตรว. ราคาประเมินตารางวาละ 250,000 บาท มูลค่าที่ดินของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตจะอยู่ที่ราว 3,727,500,000 บาท และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจะอยู่ที่ราว 6,045,000,000 บาท มูลค่ารวมประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาท

#สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันประชาธิปไตย
#สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นกำลังของประชาชน
#ราชประชาสมาสัยนำไทยสู่อนาคต

Exit mobile version