Truthforyou

ศ.จีนฟื้นตัวนำRCEP!? หนุนส่งออก-เชื่อมห่วงโซ่อุปทานภูมิภาค ชิงมูลค่าการค้าโลก 817.7 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจจีนฟื้นเร็วเป็นเป้าหมายทางตลาดการค้าและส่งออกที่สำคัญ  และจีนมีบทบาทนำในข้อตกลง RCEP เป็นโอกาสให้ไทยได้กระชับแนวห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคได้เหนียวแน่นขึ้น แม้จะไม่ได้เพิ่มมาตรการต่างๆทางส่งออกจากที่เรามี FTA กับประเทศนอกอาเซียน (Plus 5)อยู่แล้ว สำหรับข้อตกลง CPTPP ยังคงต้องพิจารณาเพราะมีความอ่อนไหวเกี่ยวกับยาและพันธ์ุพืช ที่อุตสาหกรรมยาและอาหารในอนาคตเป็นที่ต้องการมหาศาล ถ้าไม่รอบคอบจะกลายเป็นปิดโอกาสโตของไทยเอง ละเมิดอิสระภาพของคนไทยในการเข้าถึงพืชพันธ์ของเราเอง 

ความตกลง RCEP นับเป็นกรอบการค้าเสรีที่มีทั้งขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกคิดเป็นร้อยละ 31 ของ GDP โลก และขนาดตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนประชากรถึง 2,300 ล้านคนมีมูลค่า 26.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 817.7 ล้านล้านบาท)

สินค้าไทยที่ได้รับประโยชน์โดยตรง:

1.หมวดสินค้าเกษตร: แป้งมันสำปะหลัง สับปะรด สินค้าประมง2.หมวดอาหาร: ผักผลไม้แปรรูป น้ำส้ม น้ำมะพร้าว อาหารแปรรูปอื่น ๆ 3.หมวดสินค้าอุตสาหกรรม: อุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก กระดาษ เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนยายนยนต์ 4.หมวดบริการ: ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจด้านสุขภาพ ธุรกิจด้านภาพยนตร์ บันเทิง แอนิเมชั่น 5.หมวดค้าปลีก

จีนฟื้นเร็วทำบริษัทต่างชาติจำนวนมากไม่ย้ายฐาน

จีน ชาติเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับสองของโลกเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในสายตาบริษัทข้ามชาติชั้นนำทั้งหลาย ตั้งแต่บริษัทแอ๊ปเปิ้ล ผู้ผลิตไอโฟน ไปจนถึงบริษัททิฟฟานี ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับหรูหรา เพราะจีนเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจเนื่องจากมีผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อนับหลายร้อยล้านคน

แมทท์ มาร์กูลีส์ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการในจีนจากสภาธุรกิจสหรัฐ-จีน ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาว่า ธุรกิจของบริษัทหลายแห่งที่เป็นสมาชิกในสภาธุรกิจฯ มีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างดีในช่วงไตรมาสสาม ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของเศรษฐกิจจีนในสายตาบริษัททุกแห่งที่เข้ามาลงทุนในจีน ทั้งยังมีบริษัทอเมริกันมากมายที่ต้องการขายสินค้าให้ตลาดจีนเพราะตลาดของพวกเขาอยู่ที่จีน และมีบริษัทไม่กี่แห่งที่ต้องการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐ

“หลังจากเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว บริษัทข้ามชาติในจีนก็ได้รับแรงกดดันจากสำนักงานใหญ่มากขึ้นและแรงกดดันนี้จะส่งผลต่อการดำเนินงานในงบการเงินปีหน้า”เกร็ก กิลลิแกน ประธานหอการค้าอเมริกันในกรุงปักกิ่งให้ความเห็น

ขณะที่ผลสำรวจบริษัทจำนวนกว่า 6,600 แห่ง ใน12 ประเทศ จัดทำโดยไอเอชเอส มาร์กิตช่วงปลายเดือนต.ค.ที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า บริษัทต่างๆในจีน รวมถึงบริษัทอเมริกัน ระบุว่าธุรกิจฟื้นตัวในอัตราสูงสุดจากที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19และข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐ บ่งชี้ว่า บริษัทอเมริกันที่เข้าไปตั้งบริษัทในเครือในจีนแผ่นดินใหญ่มียอดขายในปี 2561 อยู่ที่ 392.7 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ 4.8%

RCEP หนุนส่งออกไทยไปอาเซียน-จีน

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส.ชี้ภัยธรรมชาติต่างประเทศ ภาวะตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนพฤศจิกายน 2563 ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ,ยางพารา แผ่นดิบมันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้นด้านข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจีนมีความต้องการนำเข้าน้ำตาลเพิ่มขั้นในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าการเกิดขึ้นของ RCEP ช่วยสร้างสมดุลการค้าและการลงทุนในสองฟากฝั่งของโลก โดยเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญของชาติเอเชียที่มีจีนเป็นแกนนำความตกลงเพื่อให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก คานอิทธิพลชาติตะวันตกที่มีต่อประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า RCEP จะกลายเป็นกลุ่มการค้าที่มีห่วงโซ่การผลิตเหนียวแน่น เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตและการค้าในซีกโลกตะวันออก ด้วยจุดเด่นของกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origins: ROOs) ที่เป็นหนึ่งเดียวกันและมีความยืดหยุ่นมากกว่าความตกลง FTA ระหว่างอาเซียนกับประเทศในกลุ่ม Plus 5

สินค้าไทยที่ได้ประโยชน์เพิ่มเติมจาก RCEP นี้อยู่ในกรอบจำกัด เพราะส่วนใหญ่ไทยเปิดเสรีการค้าไปแล้วกับประเทศ Plus 5 แต่ไทยจะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากกรณี Plus 5 เปิดเสรีระหว่างกันเป็นครั้งแรก ทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตของไทย ได้อานิสงส์เพิ่มเติม อาทิ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยานยนต์และส่วนประกอบ เซมิคอนดักเตอร์และ ICs อีกทั้ง RCEP ยังเอื้อให้ไทยสามารถเกาะติดไปกับห่วงโซ่การผลิตของเอเชียได้อย่างเหนียวแน่นยิ่งขึ้น

แม้อาเซียนจะมี FTA กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์อยู่แล้ว แต่การรวมเป็น RCEP โดยมีเป้าหมายการเปิดเสรีในด้านต่างๆ ให้มากที่สุด ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างความน่าสนใจให้ RCEP มีความทัดเทียมกับ CPTPP แต่ในความเป็นจริง ทั้งสองความตกลงไม่สามารถทดแทนกันได้ โดยเฉพาะการ​เชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตที่ RCEP เน้นหนักไปยังภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ CPTPP มีความน่าสนใจตรงที่ สามารถเชื่อมห่วงโซ่การผลิตกับในภูมิภาคอเมริกาได้มากกว่า

อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า FTA เป็นอีกปัจจัยที่นักลงทุนต่างชาติเองก็ให้ความสำคัญในการวางแผนขยายธุรกิจด้วยเช่นกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องเลือกว่า จะปรับตัวให้สอดรับกับมาตรฐานของความตกลง FTA ที่มีมาตรฐานสูง โดยเข้าร่วมเจรจากับ CPTPP หรือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อังกฤษ หรือ จะปรับตัวให้เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติ แม้ไม่มี FTA กับชาติตะวันตก ซึ่งไม่ว่าจะทางไหน ไทยก็ต้องปรับตัว เพราะมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งภาครัฐบาลไทยต้องเตรียมมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

Exit mobile version