ทั่วโลกจับตามองหลังเกิดเหตุระเบิดท่าเรือ ในกรุงเบรุตของประเทศเลบานอน ว่าเหตุใดจึงปล่อยให้แอมโมเนีย-ไนเตรท 2,750 ตันเก็บไว้อย่างไม่เหมาะสม จนนำไปสู่โศกนาฏกรรม ก่อนเกิดระเบิดไม่กี่วัน บ้านเมืองพังพินาศ ประชาชนเสียชีวิตเกือบ 100 คนบาดเจ็บ 4,000 คน นักวิเคราะห์ไทยชี้เบื้องหลังการระเบิด น่าจะเป็นวินาศกรรมจากกลุ่มมอสสาด(อิสราเอล) และซีไอเอ กลาโหมสหรัฐฯบอกเป็นอุบัติเหตุ
กรณีเกิดเหตุระเบิดท่าเรือหลัก กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ก่อความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล บริเวณคลังสินค้าที่เกิดเหตุ เป็นแหล่งเก็บอาหาร ดอกไม่ไฟและเสบียงคลังต่างๆที่รัฐบาลอิหร่านให้การสนับสนุนมา มีคนเสียชีวิตเกือบ 100 คน บาดเจ็บ 4,000 คน ทรัพย์สินเสียหายโดยเฉพาะข้าวสาลี เสียหายหลายตัน ระเบิดความรุนแรงขนาดเท่า นิวเคลียร์ขนาดเล๋ก (mini-nuke) รัฐบาลเลบานอนประกาศไว้อาลัยผู้เสียชีวิต 3 วัน และประกาศกฎอัยการศึก 2 สัปดาห์ ค่าเสียหาย รัฐบาลประเมินว่าประมาณ 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า บรรดานายพลที่เข้าเข้าพบเกี่ยวกับเรื่องนี้ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “น่าจะเปํนการถูกโจมตี” แต่สื่อกระแสหลัก ไม่มีการขยายความจุดนี้ต่อเนื่องเลย
- กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ออกมาบอกว่าเป็นอุบัติเหตุ โดยภายหลัง มีข่าวออกมาเพิ่มเติมว่าช่างเชื่อมในโกดังเก็บวัตถุอันตรายทำให้เกิดไฟขึ้นมา โดยไม่รู้ว่าในคลังมีแอมโมเนียมไนเตรต
- ผู้แทนอิสราเอลในสหประชาชาติ เคยแถลงในปี 2561 ว่าคลังสินค้าท่าเรือหลักเบรุต เป็นคลังแสงของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ทั้งๆที่เป็นที่เก็บคลังสเบียงที่รัฐบาลอิหร่านส่งมาให้เลบานอน ตลอดจน ดอกไม้ไฟ และสารแอมโมเนีย-ไนเตรท(Amonia-nitrate) ที่รัฐบาลยึดได้จากกลุ่มเครือข่ายก่อการร้ายปี 2557 ระหว่างการส่งมอบให้กลุ่มไอซิสที่ซีเรีย มีน้ำหนักประมาณ 2,750 ตัน กล่าวคืออิสราเอลประกาศจะโจมตีจุดนี้มาหลายครั้ง
- อิสราเอล ไม่พอใจรัฐบาลเลบานอน ที่ยังคบหากับซีเรียและอิหร่าน ก่อนหน้านี้ไม่นานรัฐบาลซีเรียสั่งเปิดพรมแดนทุกจุด ช่วยเหลือประชาชนชาวเลบานอนที่ขาดแคลนอาหาร และนำคนเจ็บเข้าโรงพยาบาลในกรุง ดามัสกัส ซีเรีย เนื่องจากต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา อิสราเอลเพิ่งส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดไปถล่มชายแดนเลบานอน อ้างเหตุผลสนับสนุนกลุ่มเฮซบอลเลาะห์เข้ามาแทรกซึมชายแดนอิสราเอล
ปัญหาพื้นฐานภายในของประเทศ-การเมือง,ผลประโยชน์,ศาสนา อาจเป็นต้นต่อของวินาศกรรมที่เกิดจากความขัดแย้งภายในเอง
เลบานอนประกอบด้วยชนชาติและศาสนาที่หลากหลาย คือมีชาวมุสลิม 61.1% (ซึ่งมุสลิมชีอะห์และซุนนีขัดแย้งกันเอง) ชาวคริสต์ 33.7% (เป็นกลุ่มที่กุมอำนาจทางการเมือง) ชาวดรูซ 5.2% เพราะสาเหตุนี้ทำให้เลบานอนมีความเปราะบางสูง และเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งได้ง่ายและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมือง (ระหว่างปี 1975 – 1990)
หลังสงครามกลางเมืองกลุ่มติดอาวุธศาสนาต่างๆ ยอมวางอาวุธยกเว้นกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ซึ่งเป็นขบวนการของมุสลิมชีอะห์ที่มีสายสัมพันธ์เหนียวแน่นกับอิหร่าน (ที่เป็นชีอะห์เหมือนกัน) ในเวลานี้เป้าหมายของเฮซบอลเลาะห์คืออิสราเอลที่ยึดดินแดนของเลบานอนไป เฮซบอลเลาะห์ก่อวินาศกรรมอิสราเอลหลายครั้งและยังก่อสงครามย่อยๆ ที่ชายแดนโดยไปช่วยรบในสงครามกลางเมืองซีเรียโดยเข้าข้างฝ่ายรัฐบาลซีเรีย (ซึ่งเป็นชีอะห์เหมือนกัน) และรบกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรียที่สนับสนุนโดยสหรัฐ ซึ่งสหรัฐขึ้นบัญชีเฮซบอลเลาะห์เป็นกลุ่มก่อการร้าย
เฮซบอลเลาะห์ได้รับความนิยมอย่างมากในเลบานอนแม้แต่ในหมู่ชาวคริสต์ในฐานะผู้ต่อสู้เพื่อเอกราชของเลบานอน และเป็นผู้ช่วยฟอร์มรัฐบาลอิสราเอลชุดปัจจุบัน แต่รัฐบาลชุดนี้กำลังถูกประชาชนต่อต้านเพราะปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ยุคสงครามกลางเมือง เนื่องจากการะบาดของโควิด-19
นอกจากนี้ ศาลของสหประชาชาติในฐานะคนกลางกำลังพิจารณาคดีสมาชิกเฮซบอลเลาะห์ที่ลงมือสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีราฟิก อัล ฮาริรีแห่งเลบานอนที่เป็นมุสลิมซุนหนี่ด้วยการลอบวางระเบิดในรถบรรทุกเมื่อปี 2005
การพิจารณาคดีครั้งประวัติศาสตร์จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ที่เนเธอร์แลนด์ แต่กรุงเบรุตมาเกิดระเบิดเสียก่อนในวันที่ 4 สิงหาคม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องบังเอิญจนน่าผิดสังเกต และก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน บริเวณใกล้ๆ กับขบวนรถของอดีตนายกรัฐมนตรีซาอัด ฮาริรี
บุตรชายของราฟิก อัล ฮาริรีถูกขีปนาวุธโจมตีจากบุคคลไม่ทราบฝ่ายกล่าวคือ สมาชิกกลุ่มเฮซบอลเลาะห์กำลังจะขึ้นศาลในคดีสังหารผู้นำประเทศที่มาจากฝ่ายตรงข้าม, รัฐบาลสายเฮซบอลเลาะห์กำลังเสียรังวัดจากปัญหาเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุด จนเกิดการประท้วงไปทั่ว และเฮซบอลเลาะห์คือแขนขาของอิหร่านที่สหรัฐกำลังเผชิญหน้าอย่างเคร่งเครียด
ประเด็นเรื่องอุบัติเหตุ
การกระจายข่าวเรื่อง สาเหตุระเบิดเกิดจากช่างที่ใข้เครื่องมือเชื่อมก่อกระแสไฟ โดยไม่รุ้ว่าในโกดังนั้นมีวัตถุอันตรายแอมโมเนีย-ไนเตรทอยู่ ก็กำลังเป็นที่คอยจับตาของทั่วโลกว่า รัฐบาลเลบานอนจะหาข้อสรุปในที่สุดว่าเป็นอย่างไร?ท่ามกลางความขัดแย้งภายในประเทศ และการเมืองระหว่างมหาอำนาจยังดำรงอยู่