ระเบิดสนั่นที่เจดดาห์-ซาอุดีอาระเบีย?!? ทำเจ้าหน้าที่ทูตอียูบาดเจ็บ 4 ราย ใครลงมือ-ใครได้ประโยชน์

1964

เกิดเหตุระเบิดโจมตีที่เมืองเจดดาห์ ของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งฝรั่งเศสได้จัดงานรำลึกสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 มีนักการทูตจากอียูเข้าร่วมหลายประเทศ ส่งผลมีผู้บาดเจ็บ 4 คน ทำให้กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสแถลงประณามเหตุการณ์ ทัังนี้ยังไม่มีองค์กรไหนอ้างเป็นผู้รับผิดชอบ ก่อนหน้านี้ประเทศฝรั่งเศส-ประธานาธิบดีมาครง ถูกโลกมุสลิมคว่ำบาตร เพราะคำพูดและการกระทำที่ทำร้ายจิตใจและล่วงเกินศรัทธาของชาวมุสลิม ข้อน่าสังเกตคือเหตุการณ์นี้ใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์และความเคลื่อนไหวหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร อย่าได้กะพริบตา

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 เกิดเหตุโจมตีในเมืองเจดดาห์ของซาอุดิอาระเบีย ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า เกิดเหตุระเบิดที่สุสานแห่งหนึ่งในเมืองเจดดาห์ ขณะที่นักการทูตจากสถานทูตของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (EU) และอีกหลายประเทศได้รวมตัวกันในพิธีรำลึกถึงการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งนี้ พิธีดังกล่าวจัดขึ้นโดยสถานทูตฝรั่งเศสประจำซาอุดีอาระเบีย

กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสออกแถลงการณ์ประณามการโจมตีในเมืองเจดดาห์ของซาอุดิอาระเบียซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย

เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า เกิดเหตุระเบิดที่สุสานแห่งหนึ่งในเมืองเจดดาห์ ขณะที่นักการทูตจากสถานทูตของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (EU) และอีกหลายประเทศได้รวมตัวกันในพิธีรำลึกถึงการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งนี้ พิธีดังกล่าวจัดขึ้นโดยสถานทูตฝรั่งเศสประจำซาอุดีอาระเบีย

“สถานทูตที่ได้เข้าร่วมพิธีนี้ต่างก็ประณามการโจมตีที่ขี้ขลาดนี้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สมควรเกิดขึ้น เราขอเรียกร้องให้ทางการซาอุดีอาระเบียเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว รวมทั้งตามล่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง” แถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสระบุ  เจ้าหน้าที่ระบุว่าหนึ่งในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเป็นชาวกรีกขณะนี้ยังไม่มีกลุ่มใดอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีดังกล่าว

การคว่ำบาตรฝรั่งเศสจากโลกมุสลิมยังดำเนินต่อไป

สมาคมการค้าชาติอาหรับหลายแห่งประกาศคว่ำบาตรสินค้าของฝรั่งเศส อันเป็นการตอบสนองต่อการแสดงทัศนะล่าสุดของประธานาธิบดีมาครง ของฝรั่งเศสเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม

เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีมาครงให้คำมั่นจะต่อสู้กับ “ลัทธิการแบ่งแยกแบบอิสลาม” ซึ่งเขากล่าวว่า ลัทธินี้สร้างการคุกคามเพื่อควบคุมชุมชนมุสลิมทั่วประเทศฝรั่งเศส

เขายังอธิบายถึงอิสลาม ว่า เป็นศาสนา “ที่ตกอยู่ในวิกฤติ” ทั่วโลก และว่า ในเดือนธันวาคม นี้ รัฐบาลของเขาจะเสนอแก้ไชกฎหมาย ปี 1905 เพื่อให้มีความเข้มงวดขึ้นในการแยกศาสนาออกจากรัฐอย่างเป็นทางการ

การแสดงความคิดเห็นของเขา ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนการตีพิมพ์ภาพการ์ตูนล้อเลียน เหยียดหยามศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ก่อให้เกิดการรณรงค์ต่อต้านฝรั่งเศสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งการชักชวนให้คว่ำบาตรผลิตภัณฑ์สินค้าของประเทศฝรั่งเศสที่ขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศอาหรับ และตุรกี มีการส่งแฮชแท็ค เช่น #คว่ำบาตรสินค้าฝรั่งเศส เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอาหรับ ในหลายประเทศ เช่น คูเวต กาต้าร์ ปาเลสไตน์ แอลจีเรีย จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย และตุรกี

นายนาเยฟ อัล-ฮัจราฟ เลขาธิการสภาความร่วมมือแห่งอ่าว (GCC) ได้กล่าวถึงคำแถลงของมาครง ว่า “ไร้ความรับผิดชอบ” และว่า คำกล่าวนั้นมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชังในหมู่ประชาชน ในช่วงเวลาที่ควรมุ่งเน้นที่การส่งเสริมวัฒนธรรม ความอดทนอดกลั้น และการสานเสวนาระหว่างวัฒนธรรมและศรัทธาอันหลากหลาย

กระทรวงต่างประเทศคูเวต ออกแถลงการณ์เตือนถึงการสนับสนุนนโยบายเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติ ที่แสดงให้เห็นด้วยการเชื่อมโยงอิสลามกับลัทธิก่อการร้าย รวมทั้งการนำความเท็จมาอ้างเพื่อดูหมิ่นคำสอนของอิสลาม และเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ที่ผ่านมา องค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) ได้ประณามการโจมตีต่ออิสลามและมุสลิมอย่างต่อเนื่องของฝรั่งเศส