100 ซีอีโอผวาเศรษฐกิจโลก และโควิด-19 ระบาดรอบ 2 ฉุดเศรษฐปลายปีดิ่ง พบว่า 71% หวังทีมเศรษฐกิจใหม่ออกมาตรการระยะสั้น-ยาว รับมือเศรษฐกิจดิ่ง เกือบครึ่งเชื่อมั่นทีมเศรษฐกิจใหม่ เห็นว่าต้องเร่งผลักดันสภาพคล่อง ฟื้นกำลังซื้อ ฟื้นท่องเที่ยวจึงได้ผล คาดเศรษฐกิจปลายปีติดลบถึง 10% หอการค้าต่างประเทศแนะช่วยพยุงสองทาง ทั้งช่วยผู้ตกงาน ขณะเดียวกันช่วยผู่ประกอบการด้วย
นสพ.กรุงเทพธุรกิจได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากซีอีโอ ของบริษัทที่ครอบคลุมทุกเซกเมนท์ทางธุรกิจ ได้แก่ ภาคการผลิต ภาคเกษตร พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก การเงิน และไอที ดิจิทัล ในหัวข้อ “ความคาดหวังของซีอีโอ ต่อครม.เศรษฐกิจชุดใหม่” พบว่า ซีอีโอ 80% คาดหวังทีมเศรษฐกิจใหม่สามารถทำงานได้เลย และต้องมีคุณสมบัติ เข้าใจเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยอย่างลึกซึ้ง ที่สำคัญต้องเข้าใจการทำธุรกิจและการลงทุนของภาคเอกชน สามารถทำงานร่วมกับภาคเอกชนได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ยอมรับของทุกส่วน
ประมวลความคิดเห็นของซีอีโอได้ดังนี้คือ
1.หวั่นเศรษฐกิจโลกทรุด และการระบาดโควิด-19 รอบ 2
57.6% เศรษฐกิจโลกจะฟื้นหรือจะทรุด มีผลต่อเศรษฐกิจไทยจะฟื้น หรือจะทรุดลากยาว
56.6% มองว่า การระบาดโควิด-19 ต่อเนื่องหรือคลี่คลาย มีผลต่อเศรษฐกิจไทย
50% กัลวลการระบาดโควิด-19 ระลอก2 ในไทย มีผลต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย
33.3% มองว่าโฉมหน้าครม.ใหม่มีส่วนต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย
45.5% มองว่าถ้าทีมครม.นำโดยนายกรัฐมนตรี ไม่เหมาะสม ควรหามืออาชีพที่ฝีมือดีเป็นทีมที่แข็งแกร่งดีกว่า
38.4% มองว่าปรับทีมใหม่ก็เหมือนเดิม
- ภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้ทีมเศรษฐกิจทำคือ 1) ให้ออกมาตรการระยะสั้น-ยาว และทำไปพร้อมๆกัน และ 2) เน้นขอให้อัดฉีดสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นการบริโภคกำลังซื้อภายในประเทศ 3) ฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพราะเป็นรายได้ที่กระจายไปสู่ชุมชนต่างๆได้เร็ว โดยเฉพาะท่องเที่ยวในประเทศ
ความเห็นอื่นๆที่สำคัญได้แก่
– ครม.ใหม่ต้องมีความชัดเจนในโครงการสำคัญ ไม่ให้นักลงทุนสับสน เช่น EEC,
– การเป็นกลางทางการเมืองระหว่างประเทศ
– การสร้างระบบ Cross KPI ระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ เช่น คลัง-พาณิชย์-คมนาคม เป็นต้น
3.ขอให้รัฐบาลออกมาตรการเข้มข้นรับมือการระบาดรอบ 2
– เร่งสนับสนุนการวิจัยวัคซีน ให้เห็นผลโดยเร็ว สร้างความเชื่อมั่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-ร่วมมือกับเอกชนอย่างใกล้ชิด หนุนมาตรการป้องกันตามแหล่งท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า ที่สาธารณะ ร้านอาหาร เป็นต้น
สำหรับมาตรการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีทั้งสนับสนุนและคัดค้านเป็น 49% เห็นว่าจำเป็น 49% บอกไม่จำเป็นและ 50% บอกส่งผลกระทบธุรกิจน้อย ขณะที่ 14% บอกกระทบธุรกิจ
สำหรับหอการค้าต่างประเทศเสนอความเห็นไว้มีสาระสำคัญคือ
นายแสตนลีย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศ (JFCCT) กล่าวว่า “นักธุรกิจต่างชาคิ กำลังรอดูรายชื่อรัฐมนครีทีมใหม่ และแนวทางการทำงานเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่วนชื่อที่ปรากฎในสื่อ ถือว่าเป็นที่ยอมรับ” นอกจากนี้ยังได้ให้ความเห็นถึงการสำรวจนักธุรกิจต่างชาติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยน่าลงทุนแต่ต้องแก่ไขปัจจัยที่เป็นอุปสรรค เช่น ค่าเงินบาทแข็งค่า เป็นต้น สำหรับระยะยาว ไทยควรพิจารณาข้อตกลงการค้า (FTA) ในกรอบใหม่ เปิดตลาดใหม่ๆ ไม่ควรเน้นตลาดเก่าอย่างเดียว ผ่อนปรนกฎหมายที่ล้าสมัย และพัฒนาบุคคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธาน องค์การส่งเสริทการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กล่าวว่า ใครเป็นทีมเศรษฐกิจก็ตาม ขอให้รับฟังความเห็นจากบริษัทญี่ปุ่นในไทยต่อไป เปิดเผยว่า การสำรวจล่าสุดมิถุนายน ที่ผ่านมา ดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทย ต่ำสุดในรอบ 35 ปี เจโทรมองว่า รัฐบาลควรกระตุ้นเศรษฐกิจ และเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 57% และมาตรการรองรับผลกระทบโควิด 42% และกล่าวว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในไทย 60% ยืนยันไม่ย้ายฐาน
นายสนั่น อังอุบลกูล รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า รายชื่อทีมเศรษฐกิจทีปรากฎตามสื่อถือว่าดี เป็นที่ยอมรับและเคยร่วมงานกันมาก่อน น่าจะเข้าใจกันและประสานงานกันได้อย่างดีชมว่า นายปรีดี ดาวฉาย เป็นทั้งบู๊และบุ๋นมีความรู้ความเหมาะสม นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ เป็นบุคคลที่คลุกคลีด้านพลังงานอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสองน่าจะเหมาะสมที่สุด นโยบายเร่งด้วนที่ทางหอการค้าเสนอแนะคือ
-กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เน้นแก้ปัญหาปากท้องประชาชย
-ช่วยเหลือเอสเอ็มอี โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเงินกู้ซอฟท์โลน ให้กระจายถึงมือ เอสเอ็มอี รายย่อยให้ได้
……………………………………………………………….