Truthforyou

สังคมอเมริกาถึงจุดแตกหัก?!? อดีตซีไอเอฟันธง ไบเดนแห่งเดโมแครตประกาศชัยแค่เริ่มต้นสงครามต่อต้านสองขั้ว

สื่อทุกค่ายฟันธงแล้วไบเดนชนะ แต่ปธน.ทรัมป์และผู้สนับสนุนไม่ยอมรับ ฝ่ายสนับสนุนไบเดนย่อมแตกหักเช่นกัน อดีตCIA วิเคราะห์ว่านั่นคือสัญญาณการต่อต้านที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง เป็นจุดเริ่มต้นของ “การต่อสู้เพื่อจิตวิญญาณแห่งอเมริกา” เพราะคะแนนสูสีชนะไม่ขาด โอกาสการตอบโต้ของทรัมป์เมื่อไม่อาจยอมรับว่าแพ้ย่อมเกิดขึ้นทุกวิถีทาง ทั้งทางกฎหมายทางการสนับสนุนเชิงลึกจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม ที่ไม่ยินดีในการมาของเดโมแครต และกระจายอยู่ทุกองคาพยพของหน่วยงานรัฐ อเมริกาไม่อาจเหมือนเดิมได้อีกเพราะความแตกต่างทางความเชื่อ สุกงอมถึงจุดที่ปะทุเป็นความขัดแย้งรุนแรงอย่างแน่นอนเหมือนที่ทรัมป์ส่งสัญญานว่า “เลือกตั้งมันยังไม่จบ” 

ไบเดนกวาดคะแนนอีเล็คโทรัลโหวตคว้าชัย

ซีเอ็นเอ็น, เอ็นบีซี นิวส์ และซีบีเอส รายงานตรงกันว่า ณ เวลา 23.30 น.วันเสาร์(7 พ.ย.2563)ตามเวลาไทย นายไบเดนได้รับชัยชนะในรัฐสมรภูมิสำคัญอย่างเพนซิลเวเนีย ซึ่งมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Vote) 20 คะแนน ทำให้คะแนนรวมทั่วประเทศเพิ่มเป็น 273 คะแนน เกินกึ่งหนึ่งหรือ 270 คะแนนแล้วเฉือนประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ที่ได้ 214 คะแนน ส่งผลให้ ไบเดน ชนะการเลือกตั้ง จะได้เป็นประธานาธิบดี คนที่ 46 ของสหรัฐอเมริกา “ผมจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาของทุกคน ไม่ว่าคุณจะเลือกผมหรือไม่ก็ตาม” ถ้อยแถลงครั้งแรกของว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดแถลงทางโทรทัศน์ในเวลา 20.00 น.ของวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 08.00 น.วันอาทิตย์ของไทย

ประธานาธิบดีทรัมป์ วัย 74 ปี ยังไม่ประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมอ้างว่าถูกโกงคะแนนในหลายรัฐและจะฟ้องคัดค้านต่อศาล แต่ไม่ได้แสดงหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้งแต่อย่างใด ทรัมป์ ซึ่งออกรอบตีกอล์ฟอยู่ขณะที่เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ช่องใหญ่ๆของสหรัฐรายงานว่า ไบเดน เป็นผู้ชนะ กล่าวหา ไบเดน ทันทีว่ารีบสวมรอยเป็นผู้ชนะอย่างผิดๆ “การเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่จบ”

นายไบเดน วัย 77 ปี ถือเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐที่อายุมากที่สุด และหากสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือน ม.ค. ปีหน้า เขาจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐที่อายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยวัย 78 ปี ชัยชนะของนายไบเดนมีขึ้นหลังเอาชนะในรัฐสมรภูมิสำคัญหลายรัฐซึ่งนายทรัมป์เคยคว้าชัยได้ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2559

ทรัมป์โวยถูกโกง-ดันถึงศาลสูงตัดสิน

ทรัมป์แถลงข่าว “เริ่มตั้งแต่วันจันทร์นี้ (9 พ.ย.) ทีมหาเสียงของเราจะเริ่มกระบวนการฟ้องร้องต่อศาล เพื่อรับประกันว่ามีการปฏิบัติตามกฎการเลือกตั้งโดยสมบูรณ์ และให้ผู้ชนะที่ถูกต้องได้ตำรงตำแหน่ง” 

“ผมจะไม่หยุดจนกว่าประชาชนชาวอเมริกันจะได้รับการนับคะแนนอย่างซื่อสัตย์ที่พวกเขาสมควรได้รับตามหลักประชาธิปไตย”

“บรรดาผู้สังเกตการณ์ไม่ได้รับอนุญาตให้ดูการนับคะแนนผลเลือกตั้งในห้อง ผมคือผู้ชนะการเลือกตั้ง ได้คะแนนป๊อปปูลาร์โหวต 71 ล้านคะแนน แต่มีเรื่องแย่ๆ เกิดขึ้น ผู้สังเกตการณ์ของเราไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตามการนับคะแนน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน บัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์เป็นล้านๆ ใบได้ถูกส่งถึงประชาชนซึ่งไม่ได้ยื่นขอ”

ขณะที่สื่อหลังรายงานว่า ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการนับคะแนนยืนยันว่าไม่เห็นความผิดปกติในกระบวนการนับคะแนน

ไบเดนประกาศชัย-แค่เริ่มต้นขัดแย้งต่อต้าน

เวลานี้ไบเดนชนะแล้วแต่อย่างไม่เป็นทางการ  อดีตเจ้าหน้าที่สภาความมั่นคงสหรัฐสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งต่อสถานะการเป็นประธานาธิบดีคนที่ 46 ของไบเดนไว้อย่างน่าสนใจว่า กลุ่มผู้สนับสนุนทั้งของทรัมป์ และไบเดนจะต่อต้านแตกหักไม่อาจประณีประนอม

การที่ผลอย่างไม่เป็นทางการทั้งการเลือกตั้งทั่วไป (Popular Vote)และ การลงคะแนนเลือกคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Vote) ไบเดนจะคว้าชัยได้แม้จะไม่ชนะขาดก็คือชนะ เป็นเพียงครึ่งทางและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการต่อต้านอย่างชัดเจน

การจับมือกันอย่างหลวมๆของพันธมิตรและกลุ่มอิลิทของเดโมแครตและผู้มีอิทธิพลของโซเชียลมิเดียไม่ใช่การสะท้อนชัยชนะของเดโมแครต แต่เป็นการปฏิเสธทรัมป์อย่างถล่มทลาย เพราะผลงานของทรัมป์บอกจุดยืนที่ส่วนทางเทรนด์ใหญ่ของอิลิท อย่างที่ทีมของไบเดนเรียกว่า “การต่อสู้เพื่อจิตวิญญาณแห่งอเมริกา” ท่ามกลางคะแนนดิบที่ไบเดนได้ประมาณ 4 ล้านคะแนนเสียง มากกว่าสมัยฮิลลารี คลินตันที่ชนะทรัมป์อยู่ 3 ล้านคะแนนเสียง ซึ่งไม่อาจระบุว่าเป็นชัยชนะที่สามารถทำลายล้างแนวคิดและแนวทางการเมืองของสหรัฐได้อย่างแท้จริง นั่นคืออาจเป็นชัยชนะทางเทคนิคเท่านั้น (คะแนนสูสีกันหลายรัฐ แต่สื่อใช้คำว่าถล่มทลาย)

เรื่องนี้ จอห์น ซิฟเฟอร์ อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอ ชี้ถึง”การต่อต้าน” ที่ดูจากการทวิตของทรัมป์ในคืนวันอังคาร(3 พ.ย.2563)ว่า “พวกเขาไม่เข้าใจประเทศของเขา” ซึ่งคือเสียงสะท้อนการวิเคราะห์ถึงการต่อต้านทรัมป์ที่มาจากทั้งเดโมแครต(ฝ่ายซ้าย)และรีพับลิกัน(ฝ่ายอนุรักษ์นิยม) และความเชื่ออันยิ่งใหญ่(MEGA Faithful) ของชาวอเมริกันก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เดโมแครตชู ส่วนใหญ่ยังเป็นอนุรักษ์นิยม

ทรัมป์ยังกุมกลไกอำนาจรัฐ-ซึ่งอาจคือรัฐลึกฝ่ายทรัมป์

เมื่อทรัมป์ย้ายออกจากทำเนียบขาว เขาจากไปภายใต้พรรครีพับลิกันที่ประทับภาพจำในตัวเขา เหมือนเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เขาพยายามใช้ครอบงำ นั่นคือทำให้ทรัมป์อยู่ในสถานะมีกองกำลังหนุนต่อต้านของเขาเอง  ส่วนหนึ่งคือการรวมตัวของกลุ่มเจ้าหน้าที่ความมั่นคงผู้จงรักภักดี ผู้ซึ่งทรัมป์สนับสนุนให้จัดตั้งบริษัทตัวแทนด้านความมั่นคง ซึ่งให้บริการด้านความปลอดภัยแก่ทรัมป์ เช่นกลุ่มกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ ตัวอย่างเช่นในวันพฤหัสบดี (5 พ.ย.2563) อดีตผู้อำนวยการสภาความมั่นคง ริชชาร์ด กรีเนล ปรากฏตัวหน้ากล้องทีวีว่า พวกเดโมแครตกำลังขโมยคะแนนโหวตในเนวาดา  เมื่อไม่มีทรัมป์อยู่ในทำเนียบขาว แนวร่วมต่อต้านเดโมแครตก็ย่อมมีสถานะไม่มั่นคง

ขณะที่ฝ่ายความมั่นคงที่ต่อต้านทรัมป์ก็ไม่มั่นใจว่าสาวกทรัมป์ในสายงานความมั่นคงสัมพันธ์ลึกแค่ไหนในหน่วย ODNI หรือซีไอเอ และแม้แต่ในศาลสูง กองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ สภาหน่วยตระเวนชายแดน(the National Border Patrol Council:NBPC) เป็นต้น ซึ่งหลายคนอยู่ในกลุ่มสาวกทรัมป์ด้วย ถ้าลูกจ้างหน่วย DHA เห็นว่าการเมืองเปลี่ยนข้างย่อมกระทบผลประโยชน์ที่ตัวเองลงทุนไปในสมัยทรัมป์ ย่อมต้องวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มมาใหม่ในทางลบแน่นอน ประเด็นนี้นางเจน บัดด์ อดีตหน่วยลาดตระเวนชายแดนกล่าวว่า ผู้ร่วมงานของเธออาจจะเข้าข้างไบเดนในการต่อต้านกันในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือไม่ก็จะทำตัวเกียร์ว่าง หรือปล่อยข้อมูลรั่วไหลเพื่อให้มั่นใจว่าไบเดนจะยอมรับดำเนินการ ตามวาระของทรัมป์ที่เคยปลูกฝังไว้

ในเดือนสิงหาคมที่สหภาพหน่วยลาดตระเวนชายแดน, สภาหน่วยตระเวนชายแดนแห่งชาติ (The National Border Patrol Counci:NBPC) ได้ประกาศสนับสนุนทรัมป์เหมือนกับที่สหภาพตำรวจ NYPD 

ประกาศสนับสนุนทรัมป์ หน่วยงานชายแดนล้วนสนับสนุนนโยบายของทรัมป์ เพราะพวกเขาต้องเผชิญงานหนักในพื้นที่ และรู้สึกดีขึ้นตลอดเวลาที่มีการต่อต้านผู้อพยพในพื้นที่ชายแดนทางใต้ เพื่อนร่วมงานของเจน บัดด์มองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเหยียดผิวด้วย “หน่วยตะเวนชายแดนมีแนวคิดวัฒนธรรมเหยียดผิวอย่างนี้มาแต่ต้นแล้ว” ซึ่งประเด็นนี้จะกดดันว่าที่ประธานาธิบดีไบเดนแน่นอน

ตราบใดที่ทรัมป์ยังสามารถใช้กลไกอำนาจรัฐตอบโต้ไบเดนและกลุ่มต่อต้านทรัมป์ได้ สงครามชิงอำนาจนี้ย่อมยังไม่เสด็จน้ำ สงครามยังไม่จบไม่อาจนับศพทหาร

อดีตเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงให้สัมภาษณ์ว่า มีความหวังว่ากลุ่มต่อต้านที่เป็นสาวกทรัมป์จะไม่ใช้ความรุนแรง แต่ไม่มีใครเชื่อมั่นเต็มที่ “มีคนกลุ่มน้อยส่วนหนึ่งของประชาชนอเมริกันที่ปฏิเสธไม่ยอมรับสถานภาพทางกฎหมายของไบเดนและคณะบริหารของเขา และคำถามคือ “พวกเขาจะแสดงออกอย่างไร?”

Exit mobile version