Truthforyou

ดร. นิว กระชากหน้ากาก ขบวนการแต่งนิทานใส่ร้ายสถาบัน ปั่นม็อบทรราษฎร์

ดร. นิว เปิดความจริง กระชากหน้ากาก ขบวนการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย กระทรวงต่างประเทศเยอรมนีได้ยืนยันแล้วว่าพระมหากษัตริย์ไทยมิได้ทรงละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

จากกรณีที่กลุ่มราษฎร ประกาศเคลื่อนการชุมนุมเดินขบวนจากแยกสามย่านไปที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย ถนนสาทรใต้ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา ยื่นหนังสือต่อเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย โดย ลูกเกด ชลธิชา แจ้งเร็ว มายด์ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล และไผ่ ดาวดิน จะเป็นตัวแทนในการยื่นหนังสือและพูดคุยกับเอกอัครราชทูตเยอรมนี

ต่อมาทางด้าน กระทรวงต่างประเทศเยอรมนีได้ยืนยันแล้วว่าพระมหากษัตริย์ไทยมิได้ทรงละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ล่าสุดทาง ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีขบวนการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย โดยระบุข้อความว่า

กระทรวงต่างประเทศเยอรมนีได้ยืนยันแล้วว่าพระมหากษัตริย์ไทยมิได้ทรงละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้งยังได้ชี้แจงด้วยว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงได้รับวีซ่าให้พำนักในเยอรมนีได้เป็นเวลาหลายปีในสถานะบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล และยังทรงได้รับสิทธิ์ปกป้องทางการทูตในฐานะประมุขของประเทศด้วย
ดังนั้นสิ่งที่ถูกนำเสนอโดยนายปิยบุตรและคณะก้าวหน้า ตลอดจนขบวนการแต่งนิทานใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในต่างประเทศ ซึ่งเคลื่อนไหวคู่ขนานกับม็อบราษฎรมาโดยตลอด จึงเป็นเพียงแค่การผูกเรื่อง จับแพะชนแกะ แต่งนิยาย ใส่ร้ายป้ายสีสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยให้ดูน่าเคลือบแคลงสงสัย สร้างความขัดแย้งและความแตกแยกในหมู่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นการทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความต่ำตมทางด้านกฎหมายของนายปิยบุตร ที่ไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญของกฎหมายได้ โดยนายปิยบุตรได้ยก “กฎหมายเยอรมนี” ขึ้นมาอ้าง โดยไม่ได้คำนึง “กฎหมายระหว่างประเทศ” แต่อย่างใด
ถ้านายปิยบุตรมีความรู้พื้นฐานทางด้านกฎหมาย สามารถจัดลำดับความสำคัญของกฎหมายได้ นายปิยบุตรจะพบว่า อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ. 1961 (1961 Vienna Convention on Diplomatic Relations) ได้ตอบคำถามทุกอย่างไว้หมดแล้ว
อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ. 1961 (1961 Vienna Convention on Diplomatic Relations)
ความคุ้มกัน
– สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ รวมทั้งสถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น และพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทนจะได้รับความคุ้มกันจากการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี (ข้อ 22)
– ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ (ข้อ 29)
– ตัวแทนทางทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญา ทางแพ่ง และทางปกครองของรัฐผู้รับ (ข้อ 31)
เอกสิทธิ์
– ตัวแทนทางทูตจะได้รับยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งปวงของชาติ ของท้องถิ่น หรือ ของเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน (ยกเว้นค่าติดพันและภาษีบางประเภท เช่น ภาษีทางอ้อมชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาสินค้าหรือบริการแล้ว ค่าติดพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัวจากซึ่งแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับ เป็นต้น) (ข้อ 34)
หน้าที่
– ตัวแทนทางทูตมีหน้าที่เคารพกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ และไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐผู้รับ (ข้อ 41 วรรคหนึ่ง)
– ตัวแทนทางทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ในรัฐผู้รับ (ข้อ 42)
ดร.ศุภณัฐ
30 ตุลาคม พ.ศ. 2563
#ประชาธิปไตยTheseries by ดร.ศุภณัฐ
Exit mobile version