จะรีบไปไหน! จ่ายภาษีก่อน!!จีนใช้ก.ม.ภาษีดัดหลังเศรษฐีจะโยกเงินหนี ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 45% อยู่ที่ไหนก็โดน คนรวยกุมขมับ

2910

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ในฮ่องกงและสิงคโปร์ ได้รับแจ้งจากทางการจีนให้ทำการยื่นเสียภาษีเงินได้ประจำปี 2019 ซึ่งกำหนดอัตราภาษีไว้สูงที่สุดถึง 45% สำหรับรายได้ต่อปีที่สูงกว่า 960,000 หยวน (4.3 ล้านบาท) จากนั้นจะมีการเรียกเก็บภาษีจากชาวจีนในประเทศอื่นๆ ต่อไป

แหล่งข่าวในแวดวงธนาคารและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เปิดเผยว่า กว่าครึ่งของทรัพย์สินเอกชนในฮ่องกงมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ (กว่า 31 ล้านล้านบาท) มาจากเศรษฐีจีนแผ่นดินใหญ่ที่เข้ามาลงทุน และในอดีตเสียภาษีน้อยหรือบางประเภทไม่ต้องเสียภาษี

ชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างประเทศมีจำนวนประมาณ 60 ล้านคน (ไชน่าเดลีย์สื่อรัฐบาลรายงาน) และชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ได้วีซ่าทำงานในฮ่องกงมีประมาณ 340,000 คน

ทั้งนี้บริษัท PwC ในจีนกล่าวว่า ผู้ที่จะต้องเสียภาษีคือคนสัญชาติจีนที่แม้จะอยู่ต่างประเทศ แต่รัฐบาลยังถือว่ามีภูมิลำเนาในจีนอยู่ ซึ่งจะไม่รวมคนฮ่องกงและมาเก๊าที่เป็นเขตปกครองพิเศษ และคนไต้หวันที่รัฐบาลปักกิ่งไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้

ในทางทฤษฎี กฎหมายเก็บภาษีทั่วโลกนั้นมีมานานหลายปีแล้ว แต่เพิ่งจะมีการบังคับใช้อย่างจริงจังในปีนี้ เมื่อเกิดการชุมนุมประท้วงขอกลับไปอยู่ใต้ปกครองของอังกฤษและสหรัฐฯอย่างยืดเยื้อ และสุดท้ายเมื่อพ่ายแพ้  สหรัฐฯตัดขาดฮ่องกง  ลงนามตัดสิทธิพิเศษ  จึงเกิดกระแสบรรดาเศรษฐีจีนเตรียมโยกทรัพย์สินออกจากฮ่องกงไปที่อื่น เพราะเกรง กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่สภาประชาชนจีนผ่านความเห็นชอบ  จะเปิดทางให้ทางการจีนแผ่นดินใหญ่ตรวจสอบ ทรัพย์สินของเศรษฐีทั้งหลายในฮ่องกงได้

แม้ว่าฮ่องกงกำลังจะสูญเสียความได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางการเงินแห่งสำคัญของโลก เพราะเงินทุนและบุคลากรที่มีความสามารถพากันไหลออกไปที่อื่น

แต่ดูเหมือนว่าจีนจะไม่สนใจ  ในระหว่างการชุมนุมที่ดุเดือดตลอดหลายเดือน  ข้อมูลการสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงในฮ่องกง การให้สัมภาษณ์สนับสนุนผู้นำกลุ่มต่อต้าน  คงทำให้จีนได้รู้ว่าใครเป็นใครในฮ่องกงอย่างชัดเจน

และสถานที่แห่งใหม่ที่จีนได้เตรียมไว้สำหรับบทบาทศูนย์กลางเศรษฐกิจการเงินใหม่ก็คือ “เซิ่นเจิ้น” ที่พร้อมแล้วกับบทบาทใหม่ที่รัฐบาลจีนคาดหวัง

……………………………………..

https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-07-14/bankers-shocked-by-45-china-tax-rate-consider-leaving-hong-kong