สุดยอด!!! “ไทย” เบอร์หนึ่งโลก 2 ปีซ้อน ดีที่สุดทำธุรกิจในเอเซีย-แปซิฟิค เพราะคือห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัย บริษัทยักษ์สหรัฐฯยันปักหลักไม่ย้าย

2241

ธนาคารโลกและหน่วยจัดอันดับความนิยมในการทำธุรกิจของโลก ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ประเทศไทยยึดอันดับหนึ่ง “ประเทศที่ดีที่สุดในการเริ่มทำธุรกิจ” ควบ 2 ปีซ้อน (2019-2020) และเอกอัคราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ได้ตอกย้ำคุณสมบัติเด่นข้อนี้ในบทความที่นำเสนอในวาระครบรอบ 187 ปีความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ และบรษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่ในไทยยืนยันไม่ย้ายฐาน

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าวต่างประเทศของสหรัฐฯและธนาคารโลก ได้เผยแพร่ข่าว ความเห็น และผลการจัดอันดับต่างๆที่ได้รับความนิยมและมีอิทธิพลต่อชาวอเมริกัน และเผยแพร่ผลการจัดอันดับประเทศที่เหมาะในการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดในโลกประจำปี 2020 (Best Countries to Start a Business) โดยพบว่า ประเทศไทย ยังคงรักษาอันดับ 1 ของประเทศที่เหมาะสมในการเริ่มต้นธุรกิจต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

ธนาคารโลกได้รายงานในการจัดอันดับว่า ประเทศไทยยังคงรักษาอันดับหนึ่งของการจัดอันดับได้ มาตั้งแต่ปี 2019 โดยการเริ่มต้นทำธุรกิจในไทย ใช้เวลาเพียง 2 วันกับ 3 ขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน ทั้งยังมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่่มีราคาถูกกว่าประเทศอื่นๆ ลดค่าใข้จ่ายการจดทะเบียนจาก 6,600 บาทเป็น 5,800 บาท10 อันดับแรก ประเทศที่เริ่มต้นทำธุรกิจดีที่สุดในโลก ได้แก่

อันดับ 1 ประเทศไทย
อันดับ 2 ประเทศมาเลเซีย
อันดับ 3 ประเทศจีน
อันดับ 4 ประเทศสิงคโปร์
อันดับ 5 ประเทศอินเดีย
อันดับ 6 ประเทศฟิลิปปินส์
อันดับ 7 ประเทศเม็กซิโก
อันดับ 8 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
อันดับ 9 ประเทศอินโดนีเซีย
อันดับ 10 ประเทศแคนาดา

จุดเด่นของประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับคือเกณฑ์การตัดสิน 5 ประการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล ระเบียบราชการ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ความเชื่อมโยง และการเข้าถึงเงินทุน นอกจากนี้ ไทยเป็นที่รู้จักดีในด้านคุณภาพของระบบการสาธารณสุข ซึ่งรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

และในวาระครบรอบ 187 ปี ความสัมพันธ์ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยฯพณฯ นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นท่านทูตสหรัฐคนแรกที่มาจากภาคเอกชน จึงทั้ง “รู้ใจ” และ “รู้จัก” ความต้องการของภาคธุรกิจเอกชนเป็นอย่างดี ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ท่านทูตได้เปิดเผยมุมมองเกี่ยวกับศักยภาพของประเทศไทยในฐานะ ฐานการผลิตที่สำคัญของบริษัทอเมริกันในภูมิภาคเอเอเซีย-แปซิฟิค และการเป็นที่ตั้งของห่วงโซ่อุปทาน ที่มั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้ ตลอดจนคุ้มค่ากับการลงทุน

ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ที่เกิดขึ้น และความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน องค์กรทางเศรษฐกิจล้วนวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัว หรือไม่ก็จะชะลอการเติบโตลงอย่างมาก แต่ท่ามกลางวิกฤตินั้นมีโอกาสเสมอสำหรับความร่วมมือระหว่างไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา

ท่านเอกอัคราชทูตฯ ระบุว่า “ในทุกๆวิกฤติย่อมมีโอกาส และนั่นก็เป็นประเด็นที่ผมให้ความสำคัญและมีการหารือกับรัฐบาลไทย คือเราควรใช้โอกาสนี้ดึงดูดบริษัทอเมริกันเข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าในช่วงสองสามปีมานี้ บริษัทเอกชนจำนวนมากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับซัพพลายเชน ฐานที่ตั้งการผลิตและระบบโลจิสติกส์ว่าพวกเขาจะสามารถนำสินค้าที่ผลิตไปยังตลาดเป้าหมายได้อย่างสะดวกราบรื่นหรือไม่ หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทำให้พวกเขาต้องไตร่ตรองและพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับที่ตั้งฐานการผลิต”

ประเทศไทยมีโอกาสที่ดีอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความมั่นคง ปลอดภัย และเชื่อถือได้ สำหรับการดำเนินธุรกิจ ขณะเดียวกันก็ได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐของไทยที่ต้องการร่วมมือกับภาคธุรกิจขับเคลื่อนการลงทุน และดึงดูดซัพพลายเชนจากสหรัฐมายังประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมที่ไทยและสหรัฐมีศักยภาพที่จะร่วมมือกัน ได้แก่ อุตสาหกรรมอากาศยานและการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยต้องการส่งเสริมให้เกิดขึ้นภายในประเทศอย่างจริงจัง

บริษัทอเมริกันขนาดใหญ่ล้วนตบเท้าเข้าไทยต่อเนื่อง
ปลายปี 2562 บริษัทการ์เดียน กลาส ธุรกิจชั้นแนวหน้าด้านการผลิตกระจกประหยัดพลังงานที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่น ๆ เป็นอีกตัวอย่างของบริษัทอเมริกันที่ดำเนินการผลิตในไทยมาตั้งแต่ปี 2534 และในปี 2562 บริษัทก็ได้เลือกกรุงเทพมหานครเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยเหตุผลที่ว่า “ไทยมีชื่อเสียงที่ดีทั้งในด้านการต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ” มีเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังขยายตัว และเป็นศูนย์กลางการส่งออกไปยังทั่วโลก

นอกจากนี้ บริษัทอลิอันซ์ ลอนดรี้ ของสหรัฐยังได้เปิดโรงงานในต่างประเทศแห่งล่าสุดที่ไทยเมื่อปีที่แล้ว โดยพิจารณาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ก้าวหน้าของไทยในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่น่าสนใจ รวมทั้งผลงานด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค

บริษัทอเมริกันจำนวนมากได้ลงทุนในไทยซึ่งดำเนินการในไทยมาหลายทศวรรษ เช่นซิตี้แบงก์ เชฟรอน และฟอร์ด และยังคงเชื่อมั่นว่าไทยเป็นที่ตั้งที่เหมาะสมจึงไม่มีนโยบายย้ายฐานจากไทย

บริษัทซีเกท ซึ่งดำเนินการในไทยมากว่า 30 ปี อีกหนึ่งตัวอย่าง ที่ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งในการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและวิชาการในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้บริษัทซีเกท คงตำแหน่งผู้นำระดับโลกด้านการผลิตฮาร์ดไดร์ฟไฮเทคและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำสมัยอื่น ๆอีกด้วย

หากพิจารณาจากโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ก้าวหน้าของไทยในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่น่าสนใจ และผลงานด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ผ่านมาซึ่งทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ในสายตาของสหรัฐฯ และประเทศมหาอำนาจอื่นๆ
ขึ้นอยู่กับว่าประเทศไทยจะจัดบทบาทของตนเองให้สมดุลในการเปิดรับโอกาสทางเศรษฐกิจ แบบไหน อย่างไร โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ภาครัฐ-ภาคเอกชน -และภาคประชาสังคม พ้ฒนาก้าวหน้าไปอย่างยั่งยืน !

………………………………………….