ม.ฮาร์วาด โดยแดเนียล แอลเลน และ แฟร์รีด ร่วมมือกันทำวิจัยกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อไวรัส โควิด-19 เพื่อติดตามสถิติหลังการตรวจเชื้อและติดตามการใช้ชีวิตประจำวันแม้ยังไม่มีอาการป่วย โดยใช้ GPS เป็นหลักเพื่อ contracted tracing ตามคำแนะนำของ WHO แม้จะมีข้อกังวลเรื่อง ความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล ขณะนี้อยู่ในระยะทดลองเก็บข้อมูล ขณะที่ประเทศไทยใช้ แอพฯ “ไทยชนะ” ติดตามการแพร่ระบาดโควิด ได้ผลประสบความสำเร็จได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประชาชนเข้าใช้งาน 18 ล้านคนแล้ว
การใช้การระบุพิกัดจาก GPS นั้นอาศัยการรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งที่อยู่ ส่วนใหญ่มักมีจุดประสงค์เพื่อแจ้งเตือนกรณีที่ผู้ใช้เข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีเชื้อแพร่ระบาด หรือใช้เพื่อบันทึกประวัติการเดินทางย้อนหลังมากกว่าจะเป็นการวิเคราะห์ความใกล้ชิด เนื่องจากการใช้ข้อมูล GPS นั้นมีความคลาดเคลื่อนสูง รวมถึงมีข้อจำกัดเมื่อใช้งานภายในอาคารหรือ
เมื่อเดินทางด้วยยานพาหนะบางรูปแบบ
การระบุพิกัดโดยใช้ข้อมูลจาก GPS นั้นมีประเด็นข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากถึงแม้ข้อมูลจาก GPS จะยังไม่สามารถระบุพิกัดได้อย่างแม่นยำมากนัก แต่หากใช้ข้อมูลพิกัดร่วมกับข้อมูลวันเวลาและข้อมูลแวดล้อมอื่น ๆ ก็อาจสามารถประเมินหรือคาดเดาพฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆ ได้ เช่น สถานที่พักอาศัย สถานที่ทำงาน รวมถึงเส้นทางและรูปแบบ
การเดินทางที่ใช้งานประจำ
สำหรับประเทศไทยมีการคิดค้นแอพพลิเคชั่นหลายชนิด มารับมือสถานการณ์การระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างค่อนข้างครอบคลุม นอกจากแอพพลิเคชั่น “ไทยชนะ” ที่เปิดตัวเมื่อเดือน พฤษภาคาได้รับความนิยมจากบริษัท ห้างร้านสถานศึกษา แล้ว ประเทศไทยยังได้สร้างสรรค์แอพฯอื่นๆอีก 5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
1.“ใกล้มือหมอ” เป็นแอพพลิเคชั่นในการ เช็คอาการโควิด-19 เบื้องต้นแค่ปลายนิ้วโดยไม่ต้องตรวจเองที่โรงพยาบาล จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
2. แอพฯDDC-Care ระบบติดตามผู้มีความเสี่ยงติดโควิด-19 เป็นแอพฯสำหรับติดตามและประเมินสุขภาพผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่เป็นเขตติดต่ออันตราย ซึ่งจะต้องกักตัวเองอยู่ภายในที่พักอาศัยเป็นระยะเวลา 14 วัน
3. แอพฯ AOT Airports แอพสำหรับผู้ที่มาจากประเทศสุ่มเสี่ยง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) โดยเฉพาะเพื่อมาใช้เก็บข้อมูลเพื่อติดตามนักท่องเที่ยวต่างชาติทุกคนที่เดินทางเข้าสู่ราชอาณาจักรไทย รวมถึงชาวไทยที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
4. SydeKick for ThaiFightCOVID แอพสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องกักตัวที่บ้านและแรงงานไทยที่กลับจากประเทศเสี่ยง ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสำหรับติดตามและเฝ้าระวังผู้มาจากประเทศสุ่มเสี่ยงและต้องกลับไปกักตัวที่ภูมิลำเนา โดยทุกคนต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชันดังกล่าว เพื่อแสดงตัวตนที่อยู่ในจังหวัดตามภูมิลำเนาของตัวเองก่อนออกจากศูนย์กักกันฯ โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะมีคิวอาร์โค้ดศูนย์กลาง และแต่ละเขตทั้ง 50เขต รวมถึง 76 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการลงทะเบียนเชื่อมต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อคอยตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของกลุ่มเสี่ยง
5.COVID-19 tracker แอพเช็คการระบาดในพื้นที่แบบเรียลไทม์ ศูนย์เช็คข่าวโควิด19 อัพเดทเรียลไทม์รวมข้อมูลข่าวสารการระบาดของเชื้อในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย รวมถึงแจ้ง Fake News โดยดึงข้อมูลจากสื่อหลักเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเอง
สำหรับแอพพลิเคชั้น “ไทยชนะ” ประชาชนลงทะเบียนใช้งานกว่า 18 ล้านคน ลงทะเบียน 1.2 แสนคนเฉพาะจาก 17 พ.ค.-มิ.ย. 2563 (กระทรวงดีอีเอส) และอยู่ในช่วงพัฒนาภาษาต่างประเทศทั่วโลก
………………………………….
Cr:edition.cnn