Truthforyou

ตลาดหุ้นสหรัฐหวือหวา?!? มะกันสูงวัยขายหุ้นในพอร์ตกว่า 75 พันล้านดอลลาร์ ขณะคนเจนวายกวาดซื้อเก็งกำไรระยะสั้น

คนอเมริกันสูงวัยชาวเบบี้บูมเมอร์ เป็นเจ้าของหุ้นจำนวนมากและลดการถือครองลงอย่างมีนัยยะสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปลี่ยนไปซื้อตราสารหนี้และเก็บเงินสดแทน ในขณะที่นักลงทุนวัยหนุ่มสาวตามเก็บแบบหวือหวา เก็งกำไรระยะสั้น เป็นปรากฏการณ์ที่นักวิเคราะห์หุ้นส่วนมาก มองว่าสามารถเป็นตัวส่งสัญญาณคาดเดาเศรษฐกิจในปีที่จะมาถึงได้ค่อนข้างแม่นยำ ต่างมองว่าสถานะคึกคักของตลาดหุ้นเป็นตัวชี้วัด การเจริญเติบโตและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ  แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า เศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดูที่ตลาดหุ้นเป็นเช่นนั้นจริงหรือ สัญญาณเทขายหุ้นบลูชิพที่อดีตมองว่ามั่นคงยิ่ง บอกภาคการผลิตที่แท้จริงของสหรัฐว่ายังแข็งแกร่งหรืออ่อนแอกันแน่?

การแบ่งกลุ่มประชากรตามแนวคิดนักเศรษฐศาสตร์ แบ่งกลุ่มตามเจเนอเรช้่นคือ กลุ่ม 1.Baby Boomer หรืออีกนัยหนึ่งคือ กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งได้แก่ กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 54-72 ปี, กลุ่มที่ 2. คือ Gen X ซึ่งได้แก่ กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 38-53 ปี, กลุ่มที่ 3. คือ Gen Y หรือบางครั้งเรียกลุ่มมิลเลเนียล อายุระหว่าง 21-37 ปี, กลุ่มที่ 4. คือ Gen Z อายุระหว่าง 8-20 ปี โดยแต่ละกลุ่ม ในแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่องผู้ซื้อผู้ขาย มีพฤติกรรมการแตกต่างกัน ขณะเดียวกันโลกยุคนี้เป็นยุคที่ประกอบไปด้วยกลุ่มเจนY การพัฒนาประเทศอยู่ในมือกลุ่มคนเหล่านี้

เบบี้บูมขายเจนY ซื้อ?

รายละเอียดเจ้าของหุ้นครัวเรือนและหุ้นทุนซึ่งถือครองโดยเจเนอเรชั่น แสดงว่า หุ้นในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าครึ่งมีเจ้าของถือครองโดยกลุ่มคนวัยเบบี้บูมเมอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองถึงกลางปี 1960 อายุ 55-72 ปี มากกว่านี้เป็นคนที่เกิดก่อนสงครามถือว่าเป็นผู้อยู่ในวัยชรา

กลุ่มที่เรียกว่ามิลเลเนียลหรือเรียกอีกอย่างว่า GEN Y เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากใหญ่ที่สุด ยังขาดซึ่งขนาดเงินทุนที่จะดูดซับหุ้นที่กลุ่มคนสูงวัยทั้งหลายขายออกมาได้หมด ข่าวดีคือผู้ถือครองหุ้นสนใจสถิติผลสำเร็จจากการดำเนินงาน คนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้จึงไม่ต้องการเทขายหุ้นผลตอบแทนสูงของเหล่าผู้มั่งคั่งเพื่อรับเงินแบบวันต่อวันมาใช้ในยามเกษียณเพราะตัวเองยังหนุ่มสาว  เฟดรายงานว่าครัวเรือนของคนรวยที่สุด 10% ถือครองหุ้น 88% ของหุ้นทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ ในนามส่วนบุคคล

นี่หมายถึงในระยะยาวของคนกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ได้เทพอร์ตของตนทั้งหมดให้ตลาดหลักทรัพย์และทำให้มูลค่าของหุ้นลดลง  ซึ่งเป็นข้อมูลที่อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะสถิติการเทขายแบบต่อเนื่องทำมาหลายปีแล้ว ไม่ใช่มาเทในช่วงนี้เท่านั้น

ฮาร์เลย์ บาสแมน ผู้บริหารรายได้ระยะยาวของเมอร์รินลินช์ และผู้เขียนบทความลงจดหมายข่าวคอนเว็กซิตี มาเวนกล่าวว่า การเทขายขนาดใหญ่และเพิ่มขึ้นเป็นเอกสิทธิ์ตามกฎหมาย ไออาร์เอแอสเซ็ท ตัวอย่างเช่น การเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจในการถอนหุ้นเริ่มทำได้ถึงอายุ 72 ปี  ซึ่งคนอเมริกันมากกว่า 2.5 แสนคนเริ่มอายุย่างเข้า 70 ปีในทุกๆเดือน มีมูลค่าหุ้นในกลุ่มนี้ถึง 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

มีการคำนวณว่าภายในปีนี้จะมีการขายหุ้นออกไป 75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงปีละ 250 พันล้านดอลลาร์สหรัฐถึงปี 2030 สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้มีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐที่ 30 ล้านล้านดอลลลาร์สหัฐ แต่แสดงถึงคลื่นใต้น้ำที่มีพลังและมีความแน่นอนในทางการตลาดฯซึ่งไม่อาจมองข้ามได้นั่นเอง

มีการเทขายหุ้นออกไปอย่างช้าๆ

การถอนตัวจากตลาดหุ้นอย่างเป็นระบบตั้งเป้าไปเป็นทุนในวันที่จะต้องเกษียณ การวางแผนกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ ที่เป็นที่นิยมคือเปลี่ยนจากถือหุ้นไปเป็นซื้อตราสารหนี้แทน หรือถือเงินสดจำนวนมากจนกว่าจะถึงวันเกษียณ มีประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในกองทุนเหล่านี้ ซึ่งมักมีทางเลือกสำเร็จรูปในแผนงานคอปปอเรท 401(k) มีจำนวนมากกว่า 40% ของยอดรวมเพื่อเตรียมการสำหรับการเกษียณปี 2020, 2025 และ 2030

 

กองทุนเหล่านี้ ประกอบด้วยแผนนำเสนอสินทรัพย์ประเภทผสม รวมทั้งการขายหุ้นโดยอัตโนมัติเพื่อสร้างสมดุลต่อแผนการทำแผนกระจายความเสี่ยงของพวกเขา ดังนั้นในทางทั่วไปเมื่อตลาดหุ้นขึ้นก็จะเกิดการขายสุทธิ

การถือหุ้นโดยบุคคลมีน้อยกว่าครึ่งของมูลค่าหุ้นในตลาด จึงไม่ทำให้เกิดกระแสเปลี่ยนแปลงกระทบตลาดหุ้นโดยรวม เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น แต่มันอธิบายถึงเหตุที่เงินสดรั่วไหลออกจากทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงสองสามปีมานี้ ตั้งแต่ปี 2018

โครงสร้างการเคลื่อนย้ายเงินทุนหมายถึงมันเป็นการมองหุ้นที่ไหลออกเป็นการส่งสัญญาณแก่สาธารณชนว่าคือความกลัวของตลาดหุ้น นักยุทธศาสตร์วิเคราะห์การไหลออกสะสมของทุนหุ้น ในรอบไม่นานมานี้เป็นการกดดันตลาด ในทางตรรกะตรงกันข้ามกล่าวว่า ตลาดจะพุ่งสูงได้ยากเว้นแต่ว่านักลงทุนรายย่อยจะพากันเข้ามาร่วมซื้อขาย หุ้นเคยตก 20% และ 34% ในตลาด S&P500 ระยะ 15 เดือนในรอบ 2 ปี โดยปราศจากการเข้ามาร่วมซื้อขายอย่างถล่มทลายของนักลงทุนรายย่อยเลยแม้แต่น้อย หุ้นตกอย่างรวดเร็ว 35% ในตลาด S&P500 ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ทำให้ผู้สูงวัยในตลาดหุ้นรู้สึกหวาดวิตก

คนGenY หรือกลุ่มมิลเลเนียลเข้ามาช้อนซื้อเหมาะเจาะ

ชาวมิลเลเนียลเป็นกลุ่มคนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ประสบความสำเร็จในการงานอาชีพ  คนหนุ่มสาวกลายเป็นสมาชิกที่มีคุณค่ากับตลาดหลักทรัพย์ และเข้ามาได้ทันเวลาก่อนที่ตลาดจะท่วมไปด้วยการเทขายของกลุ่มผู้อาวุโส

ข้อเท็จจริงที่เงินทองจากตลาดหุ้นรั่วไหลออกไปเพราะแผนเตรียมการเกษียณของคนสูงวัย แต่ก็ไม่ใช่จะได้เงินจากการลงทุนใหม่ของชาวมิลเลเนียลสักเท่าไร  เบน จอห์นสัน ผู้บริหารของ อีทีเอฟรีเสิร์ชที่มอร์นิ่งสตา กล่าวว่า ตลอดเดือนสิงหาคมของปีนี้ ประมาณ 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ขยับออกไปแล้วเพื่อทุนสำหรับปี 2020, 2025 และ 2030 ขณะที่ 15.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถูกสูลเข้าไปในทุนเตรียมเกษียณสำหรับปี 2050, 2055 และ 2060 จงให้การจัดสรรค์การลงทุนอย่างสูงแก่นักลงมุนหนุ่มสาว นี่คือการชะล้างผลกระทบที่เกิดกับตลาดหลักทรัพย์

แน่นอนว่า การซั้อขายหุ้นขนาดใหญ่อย่างช้าๆมักไม่ค่อยราบรื่น  ประการหนึ่ง นักลงทุนหนุ่มสาวเพิ่มความถี่ในการสั่งซื้อจนทำให้เจ้าหน้าที่ถึงกับช็อคเพราะในรอบหลายๆปีเงินเดือนขึ้นอย่างช้าๆมาโดยตลอด และสถานการณ์ใหม่ทำให้ความมั่งคั่งส่วนตัวกลับคืน และการที่หุ้นเปลี่ยนมือจากคนอเมริกันสูงวัยมาสู่นักลงทุนคนหนุ่มสาว อาจทำให้ไม่เข้าสไตล์กันสักเท่าไหร่  คนหนุ่มสาวชาวอเมริกันส่วนใหญ่สนใจ หุ้นที่เติบโตซึ่งผลิตสิ่งที่พวกเขารู้จักและเคยใช้สอย ต่างจากนักลงทุนรุ่นเก่าที่เน้นหุ้นบลูชิป ที่นักลงทุนชาวเบบี้บูมเมอร์เลือกถือครองมานับทศวรรษ

ขณะที่มีการซื้อการถือครองหุ้นโดยใช้บริการที่ปรึกษาหุ่นยนต์ เติบโตสูงขึ้นในหมู่นักลงทุนหน้าใหม่ การไหลบ่าของนักลงทุนหนุ่มสาวมาในลักษณะลูกค้ารายย่อย และเล่นเก็งกำไรแบบระยะสั้น

โบรกเกอร์ใหม่ๆผุดขึ้นมานับพันบริษัทในปีนี้ จำนวนซื้อขายโดยคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้นตามราคาหุ้น ตามรายงานใหม่ในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และบทความจากวอลสตรีทเจอร์นัลเมื่อสัปดาห์ก่อนกล่าวว่า ความกระตือรือร้นของนักลงทุนหน้าใหม่ที่มองหาหุ้นราคาถูก มาสะสมไว้ให้มากเข้าไว้ก่อน และนี่ไม่ได้ตำหนิความอะเดนาลีนของคนหนุ่มสาวที่เพิ่มมูลค่าให้ตลาดหุ้น แค่ตะลึงในพลังของคนรุ่นใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีความทะเยอทะยานและความหวัง ดีกว่าบรรยากาศแข็งทื่อ รีดเอาแต่ปริมาณทางเทคนิค หรือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเล่นหุ้น ที่ครอบครองตลาดหลักทรัพย์มานานหลายปีแบบชาวเบบี้บุมเมอร์

เบบี้บูมมีประสบการณ์มองออกว่าอะไรเป็นจริง-อะไรคือภาพลวง?

หุ้นบลูชิบของอเมริกา คือเส้นโลหิตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของระบบทุนนิยมหัวขบวนอย่างสหรัฐอเมริกา มาบัดนี้ไม่เป็นที่ต้องการของคนมีฐานะดีรุ่นเบบี้บูม ซึ่งผ่านโลกมานาน ผ่านความยากลำบากช่วงหลังสิ้นสงครามครั้งที่สอง ทำไมจะไม่รู้ว่าสถานการณ์ที่เป็นจริง ทั่วทั้งโลกและสหรัฐ เป็นอย่างไร

– ความจริงที่รัฐบาลสหรัฐชุดปธน.ทรัมป์ และแม้แต่ชุดของไบเดน ยังคงให้ความสำคัญกับ “หุ้น”และตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก เพราะเป็นภาพเดียวที่จะยังยืนยันได้ว่า สหรัฐสบายดี สหรัฐจะไม่เป็นไรท่ามกลางเศรษฐกิจตกต่ำหดตัวทั่วโลก ธุรกิจของสหรัฐกลับมาเดินไม่ได้อย่างที่หวัง ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจการบิน แม้แต่ธุรกิจอาหาร บันเทิง ล้มระเนระนาด ยังยืนอยู่ได้คือกลุ่มเทคครอบโลก อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไมโครซอร์ฟ อเมซอน เป็นต้น

– ที่ตลาดหุ้นยังอยู่ดีมีสุข เพราะทั้ง เฟด-ไอเอ็มเอฟ-รัฐบาลสหรัฐ พยายามส่งข่าวดีมาปลอบโยนทุกสัปดาห์ ต่อลมหายใจให้นักเล่นหุ้นหนุ่มสาว ที่ทำงานที่บ้าน หรือว่างงานแต่ยังพอมีเงินเก็บลงทุนหุ้น ขณะที่อัดฉีดเงินเข้าช้อนซื้อผ่าน เทรดเดอร์รายใหญ่อย่างเป็นระบบ สหรัฐสามารถพิมพ์เงินออกมาโดยไม่ต้องมีทองคำค้ำประกัน ในขณะที่ห้ามคนอื่นทำตัวเองทำได้เพราะครอบโลกผ่านระบบการเงินการธนาคารมาตลอดศตวรรษแห่งทุนนิยมเสรี

– หุ้นคนหนุ่มสาวที่เทรดอย่างหวือหวา ไม่ได้สะท้อนพลังเศรษฐกิจภาคการผลิตที่แท้จริง แต่เป็นพลังของแมงเม่าที่่ไม่เคยกลัวไฟ ที่ไหนก็เหมือนกันไม่เว้นแม้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้เล่นหลักยังเป็นนักลงทุนสถาบันต่างชาติ  ถ้าประเทศไทยฝากความหวังทางเศรษฐกิจไว้กับตลาดหุ้นเป็นหลัก ก็จะมีสภาพไม่ต่างจากสหรัฐแบบนี้แยกไม่ออกว่าอันไหนความจริง  อันไหนภาพลวงตา???

Exit mobile version