Truthforyou

คริปโทดิจิทัล & หยวนดิจิทัล เปลี่ยนโลกการเงินแน่

คริปโทดิจิทัล & หยวนดิจิทัล เปลี่ยนโลกการเงินแน่
The Wind of Change…Here you are!
กระแสตื่นตัวถึงสกุลเงินใหม่ดิจิทัลที่จีนประกาศผลักดัน ชูขึ้นแทนเงินกระดาษ
ปะทะเงินดิจิทัลฝั่งตะวันตกในนาม กลุ่มคริปโทฯ สร้างความฮือฮากับทุกภาคส่วนว่า
โลกใหม่หลังวิกฤติในมิติของเศรษฐกิจการเมืองจะเป็นเช่นไร เมื่อระบบเงินโลกถูก Decentralization
จากธนาคารอย่างแท้จริง
คริปโทเคอร์เรนซี (Crypto Currency) หรือ เงินตราเข้ารหัสลับ
เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งออกแบบให้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน
ที่ใช้วิทยาการเข้ารหัสลับเพื่อรับประกันธุรกรรม เพื่อควบคุมการสร้างหน่วยเงินเพิ่ม
และยืนยันความถูกต้องของการโอนทรัพย์ เป็นรูปแบบหนึ่งของเงินดิจิทัล เงินทางเลือก และเงินเสมือน
ซึ่งควบคุมโดยกระจายศูนย์กลาง (Centralization)ในสหรัฐอเมริกา บิตคอยน์เรียกว่าเป็น
สินทรัพย์เสมือน (virtual assets)
ในเดือนธันวาคม 2017 ค่าธรรมเนียมมัธยฐานของอีเธอร์อยู่ที่ $0.33 (ประมาณ 10 บาท)
แต่เมื่อเทียบกับบิตคอยน์ที่ $23 (ประมาณ 693 บาท)มีค่าสูงกว่า
ทำให้ความนิยมในเงินคริปโทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แต่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองอาจเข้ายึดคริปโทเคอร์เรนซีได้ยากกว่าเงินสกุลปกติเพราะยากควบคุมหรือสืบหา
ต้นตอเมื่อเกิดปัญหาการทุจริตหรืออาชญากรรมมาเกี่ยวข้อง สภาพที่กำกับดูแลยากส่งผลให้ในปีถัดมา
เดือนมกราคม 2018 กลับมีคริปโทเคอร์เรนซีงอกกว่า 1,384
สกุลที่อยู่ในตลาดและก็ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พูดง่ายๆว่าถูกใจสายดาร์กมากกว่า ฝั่งธุรกรรมสุจริต
มุมมองของนักการเงินและนักวิเคราะห์ฝั่งตะวันตกหลังจากนวัตกรรมเงินตราดิจิทัลเปิดตัว stablecoins
เริ่มขึ้นในปี 2017 ตามมาด้วย “ปีแห่งบิตคอยน์(Bitcoin: BTC)”ในปี 2019
ถือเป็นปีแห่งการกระจายอำนาจทางธุรกรรมด้วยเงินดิจิทัลที่ชัดเจนมากขึ้น ทำให้ในปี 2020 นี้
ทุกฝ่ายจึงคาดว่าสถานภาพของเงินดิจิทัลกลุ่มนี้จะมั่นคงขึ้น
ช่วงต้นปีนี้เหล่านักคิดค้นคริปโทของฝั่งตะวันตกตื่นเต้นยกใหญ่ เมื่อจอห์น แม็คฟี(John McAfee)
ประเมินว่าบิตคอย์นจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเหรียญในสิ้นปีนี้
และเชื่อว่าจะครองตลาดโลกอย่างแน่นอน โดยมั่นใจว่าความต้องการจะพุ่งและ
การใช้ดอลลาร์กระดาษจะไม่เป็นที่นิยมในอีกไม่ช้านาน ขณะเดียวกันเจ้าของ Snapchat อย่างเจอร์เรมี่
ลิว(Jeremy Liew) กับผู้ก่อตั้งบล็อกเชน ปีเตอร์ สมิธ (Peter Smith)
ฟันธงว่ามูลค่าสินทรัพย์คริปโทจะขึ้นถึง 500,000 ดอลลาร์ต่อเหรียญภายในปี 2030 แต่พอล
ครุกแมน(Paul Krugman) ผู้ได้รางวัลโนเบิลสาขาเศรษฐศาสตร์ เห็นต่าง เขาไม่เคยชอบบิตคอยน์
และกล่าวซ้ำหลายครั้งว่า มันเป็นแค่ฟองสบู่ที่จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้นาน ส่วนวอเร็น บัฟเฟ็ตต์
ย้ำคริปโทเคอร์เรนซี่จะมีจุดจบไม่ดีแน่นอน
มีคำถามหลายอย่างจากนักการเงิน นักลงทุนต่อการใช้คริปโทเคอร์เรนซี่ว่า
มีพื้นฐานมาจากการให้ค่าแก่อะไรที่มีคุณค่าน้อยหรือไม่มีเลย แต่ผู้คนกลับยอมจ่ายแลกเปลี่ยนกับมัน
ด้วยแรงจูงใจบางอย่าง(มันไม่มีคุณค่าจริงแต่ปั่นขึ้นเกินจริง) ,
ไม่มีการควบคุมแบบรวมศูนย์และไม่น่าไว้วางใจต่อความปลอดภัยทางการเงิน
(ไม่เคยชินว่าใครจะรับผิดชอบถ้าเกิดกรณีทุจริตหรือสินทรัพย์หาย ฯลฯ)

สำหรับ หยวนดิจิทัล (Yuan Digital Currency) เป็นสกุลเงินที่ถูกสร้างขึ้นโดยธนาคารกลางของจีน
ซึ่งเงินหยวนดิจิทัลนั้นจะเข้ามาแทนที่การใช้เงินในรูปแบบเงินสดหรือรูปแบบกระดาษ
เป็นความต้องการของรัฐที่จะแก้ปัญหาความล่าช้าของระบบในปัจจุบัน
ให้มีความรวดเร็วและคล่องแคล่วมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เหมือนกับการใช้บัตรเครดิต
หรือการชำระเงินออนไลน์ที่แพร่หลายในปัจจุบัน
เงินหยวนดิจิทัลนั้นจะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐเหมือนกับเงินในรูปแบบกระดาษ
ที่สำคัญมีแบ็คอัพเป็นทองคำเช่นเดียวกับหยวนกระดาษ
วิวัฒนาการของสังคมไร้เงินสดของจีนนั้นเริ่มมาจากการใช้ QR CODE
หรือบาร์โค้ดในการชำระเงินผ่านแพลตฟอร์ม Alipay และ WeChat Pay
ต่อมาก็ได้เริ่มพัฒนาการชำระเงินผ่านระบบตรวจจับใบหน้า (facial recognition)
โดยผู้ใช้สามารถยืนยันตนกับทางธนาคารและสแกนหน้าผ่านเครื่องที่ร้านค้าเพื่อชำระเงิน
สิ่งเหล่านี้ได้เริ่มทำให้ชาวจีนจำนวนมากนั้นสามารถออกจากบ้านแบบไร้กระเป๋าเงิน และค่อย ๆ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ดิจิทัล
ซึ่งในตอนนี้รัฐบาลก็ได้เข้ามาสนับสนุนระบบการเงินแบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
โดยการริเริ่มใช้สกุลเงินหยวนดิจิทัลแทนเงินในรูปกระดาษ
ที่จะเข้ามาปรับเปลี่ยนและยกระดับสังคมเงินสดของจีนขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
แต่เท่าที่ทราบมาว่าคนจีนหนุ่มสาวและวัยทำงานนิยมเงินเสมือนกันมาก
แต่อาม่าอากงยังคงชอบเงินสดมากกว่า
ความแตกต่างระหว่างเงินคริปโทดิจิทัล กับเงินหยวนดิจิทัลหลักสำคัญอยู่ที่ มูลค่า
เพราะมูลค่าของหยวนดิจิทัล เท่ากับ 1 หยวนดอลลาร์ และมั่นคงโดยธนาคารแห่งรัฐ ส่วนคริปโทดิจิทัล
มีมูลค่าขึ้นๆลงๆตามการคำณวนทางคณิตศาสตร์ซึ่งไม่มีใครคาดเดาล่วงหน้าและไม่สามารถควบคุม
ทำให้ไม่อาจวางแผนทางธุรกิจที่แน่นอนได้ ทั้งสองชนิดใช้ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนเหมือนกัน
ประการที่สองค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมแตกต่างกันอย่างชัดเจน
คริปโทดิจิทัลก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายแม้จะน้อยกว่าการทำธุรกรรมเงินสด แต่ก็ยังต้องจ่ายให้ธนาคารอยู่ดี
เพราะเจ้าของเป็นเอกชน ไม่ใช่ธนาคารแห่งรัฐ
แต่หยวนดิจิทัลเป็นของธนาคารรัฐและไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเลยในทุกขั้นตอน
เป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้หยวนดิจิทัลเหนือกว่าหลายขุม
ประการสำคัญที่สุดคือ เป็นครั้งแรกที่ธนาคารจะถูกกันออกจากห่วงโซ่อุปทานทางการเงิน
เพราะผู้บริโภคสามารถชำระเงินหรือทำธุรกรรมทุกอย่างได้โดยตรง และไม่ต้องถูกหักค่าธรรมเนียมใดๆ
เรียกว่าเป็นการDecentralization อย่างแท้จริง เปลี่ยนจากทุกอย่างในโลกนี้ต้องผ่านนายเงิน
นายธนาคารมาเป็น จากผู้บริโภคสู่ผู้บริโภคโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น B2B, B2C, C2C เป็นต้น
(เกิดความสะใจเล็กๆ)
จะมีใครหาญกล้าท้าทายนายเงินโลก
จะมีใครที่จะเปลี่ยนความเคยชินของระบบรวมศูนย์ทางการเงินได้เท่าจีนอีกเล่า
เดิมพันครั้งนี้จึงสูงยิ่งนักของทั้งสองฝั่ง

…………………………………………………………………

Exit mobile version