สหรัฐตกงานพุ่งทำสถิติ!?! 1 สัปดาห์เพิ่ม 53,000 คน คาดก่อนเลือกตั้งสูงถึง 11.4 ล้านคนขณะที่งบฯช่วยเหลือยากผ่านสภาฯ

2171

จำนวนคนว่างงานที่ลงทะเบียนขอเงินเยียวยาจากรัฐบาลกลางสูงกว่า 830,000 คนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จากรายงานของสนข.วอลสตรีท  ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม และเป็นสัญญาณลบแสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานอ่อนไหวและเสี่ยงสูง นักวิเคราะห์ต่างพากันวิตกคาดการณ์ว่า ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่สถิติผู้ป่วยยังสูงไม่หยุดในขอบเขตทั่วประเทศ เศรษฐกิจระดับประชาชนคนธรรมดายากฟื้น อาจทำสถิติตกงานพุ่งถึง 11.4 ล้านคนในไม่ช้านี้ ขณะที่แผนส่งงบฯช่วยเหลือเยียวยาภาค2 ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ทัน เพราะเดโมแครตและรีพับลิกันไม่มีใครยอมใคร

ภาคแรงงานของคนอเมริกัน คนว่างงานทำสถิติสูงสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวน 898,000 คน นักวิเคราะห์เศรษฐกิจตลาดหุ้นดาวโจนส์ประเมินว่า 830,000 คน ยอดณวันที่ 10 ต.ค.2563 สูงสุดเทียบกับยอดวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา นั่นแสดงว่าภาคแรงงานยังอ่อนไหวและดิ้นรนท่ามกลางการระบาดโควิด-19 ที่เกิดระลอกใหม่ทำคนป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงในอัตราเร่ง และย่อมส่งผลไปถึงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ตัวเลขสถิติช่วงเวลา 1 สัปดาห์คนตกงานเพิ่ม 53,000 คนจากยอด 845,000 ก่อนหน้านี้รวมเป็น 898,000 คนในปัจจุบัน

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกจำนวน 898,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 830,000 ราย หลังจากอยู่ที่ระดับ 845,000 รายในสัปดาห์ก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ดี ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกต่ำกว่าระดับ 1 ล้านรายเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน หลังจากพุ่งเหนือระดับ 1 ล้านรายเป็นเวลานาน 5 เดือน นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเดือนมี.ค. กล่าวคือมีผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานแตะระดับ 6.867 ล้านรายในช่วงปลายเดือนมี.ค.เพราะได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ภาคธุรกิจปิดกิจการ และมีการปลดพนักงานจำนวนมาก หมายถึงแม้ต่ำกว่าล้านรายแต่มีแนวโน้มกลับไปว่างงานพุ่งขึ้นจากปัจจัยต่างๆ

คาดว่างงาน 11.4 ล้านคนก่อนเลือกตั้ง

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าน่าจะว่างงานถึง 11.4 ล้านตำแหน่งก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 3 พ.ย.ที่จะถึงนี้ และครึ่งหนึ่งของผู้ว่างงานยังคงมีงานชั่วคราว ฟรีแลนซ์ด้วย แม้ตำแหน่งการว่างงานจะลดลด 7.9% ถ้าเทียบกับตอนระบาดโควิด-19 ใหม่ๆ แต่ยังทรงตัวที่ระดับสองเท่าในทุกๆเดือนอยู่ ดังนั้นตัวเลขการลดลงในภาพรวมจึงไม่น่าทำให้คลายความกังวลได้จริง ประเมินว่าอีก 4 สัปดาห์ข้างหน้าคนว่างงานอาจพุ่งไปถึง 11.4 ล้านคน มาจากแรงกดดันสภาพแวดล้อมในการกลับเข้าประกอบธุรกิจ ของภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมแม้พยายามเปิดเมืองแล้วก็ตาม

การขอเยียวยาจาก 91,000 รายเป็น 372,981 ราย โครงการช่วยเหลือรอบแรกให้ผลถึงคนที่ทำงานฟรีแลนซ์และธุรกิจที่รับช่วงด้วย ผู้รับเงินเยียวยาในรอบแรกมีจำนวนครึ่งหนึ่งของคนว่างงานตามยอดสถิติในวันที่ 26 กันยายนซึ่งมียอดผู้ขอเข้ารับเงินเยียวยาจำนวน  800,000 คนเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา

แอนดรูว์ ฮอลเลนฮอร์ส นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ของบริษัทซิตี้กรุ๊ปมองว่า ยอดคนว่างงานที่ลดลงใน2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจากคนที่เข้ารับความช่วยเหลือมาตรการ PEUC ซึ่งรัฐบาลกลางหนุนธุรกิจให้กลับมาจ้างงานในเดือนกันยายนและต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 4 ซึ่งวงเงินงบฯลดลงจาก 25.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 25.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อ 26 สิงหาคม 2563 

รายงานตัวเลขด้านการจ้างงานที่แคลิฟอเนียร์กล่าวว่า ได้บริหารจัดการตำแหน่งงานและเสริมเทคโนโลยี ป้องกันการฉ้อฉลในองค์กรแล้ว ภาษาชาวบ้านคือลดขนาดองค์กร  ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้ใช้ยอดคนมีงานทำจากยอดเดิม 225,000 ตำแหน่งก่อนที่บริษัทในแคลิฟอเนียร์จะใช้มาตรการดังกล่าว นั่นคือความเป็นจริง ณ ปัจจุบันอาจมีตำแหน่งว่างงานเพิ่มโดยยังไม่ปรากฏในรายงานของกระทรวงแรงงานก็เป็นได้

ข่าวดีทีแปลกแยกจากแนวโน้มอนาคต

“ดังที่เราเห็นว่าคนจำนวนมากเข้าสู่การว่างงานในระยะยาว มันบอกเราว่าไม่ใช่การหวนคืนสู่การผลิตในระดับปกติ แต่เป็นการบ่งบอกถึงความเสียหายในระยะยาวมากกว่ามองผลที่ได้รับจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น” ฮอลเลน ฮอร์สกล่าว

เฟดรายงานเมื่อวันพฤหัสบดี(15 ต.ค.)ว่าโรงงานต่างๆได้กลับเข้าสู่การผลิตอีกครั้ง สัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานรายงานว่ายอดคนว่างงานลดลง

ถ้าแยกจากจำนวนตัวเลขเบื้องต้น การที่คนสมัครรับการช่วยเหลือเยียวยาว่างงาน หรือคนที่รับการช่วยเหลือจากงบฯจากรัฐบาลกลางช่วยคนตกงานที่สมัครเข้าโครงการจำนวน 372,891 รายในช่วงวันที่ 10 ต.ค.2563 ที่ทำให้ตัวเลขคนว่างงานลดลง ในตัวเลขคนที่ได้รับเงินเยียวยา 11.2 ล้านรายเป็นช่วง 26 กันยายน 2563 ตัวเลขทั้งสองนี้ถูกใช้ในการรายงานของกระทรวงแรงงานซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงทั้งหมด

ทางตันของแผนฟื้นฟูระยะสองตกลงกันไม่ได้

วันที่ 15 ต.ค.2563 สตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยต่อสื่อว่าการผ่านร่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้นยังคงมีการหารือระหว่างทั้งสองพรรคอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุข้อตกลงได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยความขัดแย้งในหลายประเด็นที่ยังมีอยู่ทำให้การผ่านร่างมาตรการก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้นั้นอาจเป็นไปได้ยาก

ข้อเสนอให้จ่ายเงินแก่ผู้รับเยียวยาจำนวน 600 ดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็นประเด็นถกเถียงที่สองพรรคใหญ่เดโมแครตและรีพับลิกัน อ้างไม่ยอมผ่านความเห็นชอบ เมื่อ CARES Act:มาตรการฟื้นฟูเยียวยารอบที่1 ที่หมดอายุลงในปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา การออกมาตรการระยะสองยังทำไม่ได้ ขณะที่ปธน.ทรัมป์ประกาศพร้อมลงนาม ขอให้เดโมแครตรีบอนุมัติแผนฟื้นฟูระยะที่สองจากสภาผู้แทน เพื่อให้วุฒิสภาผ่านอนุมัติ แต่ล่าสุดยังไม่อาจตกลงกันได้ และไม่แน่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไรก็ไม่อาจยืนยันว่า แผนฟื้นฟูจะได้รับอนุมัติจากสภาฯ และ แผน PEUC aid: Pandamic Emergency of Compensation กำลังจะหมดอายุในเดือนธันวาคม 2563 นี้