Truthforyou

พชร์ อานนท์ ผู้กำกับหนังร้อยล้าน และผลสำรวจ ตอกชัชชาติเหวอ ปมสติกเกอร์กรุงเทพฯ

พชร์ อานนท์ ผู้กำกับหนังร้อยล้าน และผลสำรวจ ตอกชัชชาติเหวอ ปมสติกเกอร์กรุงเทพฯ แบบใหม่แต่โบราณ สู้ผลงานผู้ว่าฯกทม.เมื่อ 18 ปีก่อน ไม่ได้?

จากกรณีที่ วานนี้ (29 พ.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรุงเทพมหานครทำการเปลี่ยนสติกเกอร์ใหม่บนคานรางรถไฟฟ้า จุดบริเวณทางเชื่อมเหนือ Sky Walk แยกปทุมวัน เนื่องจากสติ๊กเกอร์เดิมซึ่งติดอยู่มานานกว่า 20 ปี มีสภาพซีดจาง ข้อความลบเลือน ไม่สวยงาม และซึมเข้าไปในเนื้อปูน และมีการใช้งบประมาณในการดำเนินการครั้งนี้จำนวนมาก และต่อมาก็ถูกวิพากวิจารณ์อย่างหนัก ในทำนองสู้แบบเก่าไม่ได้ ติดตั้งใหม่ แต่ดูโบราณ  และหลายคนนำไปล้อเลียน ใส่ชื่อห้างสรรพสินค้าเข้าไป ซึ่งคนต่างมองว่า เหมือนป้ายโฆษณาห้างสรรพสินค้าคุ้มค่า มากกว่า ป้ายสัญลักษณ์ที่เป็นแลนด์มาร์คของ กทม. ที่เดิมนั้น จะมีนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างประเทศแวะเวียนมาถ่ายรูปกับป้ายนี้จำนวนมาก

และอีกหนึ่งความเห็นที่สอดคล้องกับกระแสสังคมตอนนี้ สำหรับ “พชร์ อานนท์” ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ที่โพสต์แสดงความเห็นถึง สติกเกอร์ใหม่ของกรุงเทพมหานคร ว่ามีความโบราณมาก ทั้งๆที่เป็นหน้าเป็นตาของเมือง

โดยเมื่อวานนี้ (29 พ.ค.67) “พชร์ อานนท์” ผู้กำกับภาพยนตร์-พิธีกร ชื่อดัง ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงสติกเกอร์ใหม่ของ กทม. โดยระบุว่า

“เปลี่ยนทำไม ของเก่าก็คลาสิคจะตาย ดูทันสมัยเข้าอันสถานที่ อันนี้ใช้ฟร้อนโบราณมาก อย่างนี้นี่เองเด็กสมัยใหม่มันถึงได้ว่าเอ้า จ้างคนออกแบบก็ได้ไม่แพงหรอก มันคือหน้าตากรุงเทพมหานครเลยนะ ต่างชาติคงงง เฮ้อ กูเดินผ่านทุกวัน จะเปลี่ยนอะไรก็ดูสิ่งแวดล้อมด้วยเนอะ ต้องศึกษาคำว่าศิลปะกับคำว่าทันสมัยกันให้เยอะๆหน่อยแล้วนะ”

และอีกโพสต์ ระบุว่า ไม่ไหวจะเคลียร์ เปรียบเทียบให้เห็นกันชัด ๆ ไปเลย พร้อมลงภาพ ป้ายกรุงเทพฯ เมื่อปี 2549 กับป้ายกรุงเทพฯ ปัจจุบัน

ทั้งนี้ สติกเกอร์ดังกล่าว คือ โลโก้บนคานรางรถไฟฟ้า จุดบริเวณทางเชื่อมเหนือ Sky Walk แยกปทุมวัน ซึ่งของเดิมนั้นเลือนไปมากแล้ว เมื่อวานนี้ กทม. จึงได้เร่งเข้าแก้ไข โดย นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร ระบุว่า ได้ติดสติกเกอร์ที่มีข้อความและดีไซน์ใหม่สะท้อนอัตลักษณ์ กทม. ที่ได้ออกแบบไว้ อย่างไรก็ตามภายหลังการติดของใหม่เสร็จสิ้น ก็เต็มไปด้วยเสียงวิจารณ์ถึงความสวยงามที่น้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับของเก่าที่มีมานาน

และล่าสุด ในทวิตเตอร์ได้มีการ ทำสำรวจความคิดเห็นผู้คนในทวิตเตอร์ว่า….

✨ ชอบดีไซน์ป้าย #Bangkok แบบไหน..โดยมีตัวเลือก 2 ข้อคือ ….แบบเก่า ผู้ว่าฯอภิรักษ์ และ แบบใหม่ ผู้ว่าฯชัชชาติ โดยผลสำรวจพบว่า คนชอบดีไซน์ป้ายแบบเก่า ยุค ผู้ว่าฯอภิรักษ์  77.2% ส่วนแบบใหม่ ผู้ว่าฯชัชชาติ มีเพียง 22.8% และในทวิตเตอร์ที่ทำแบบสำรวจ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า… 🩵ปี  2549 ป้าย “Bangkok – City of Life” สมัย ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ ผ่านสโลแกน “กรุงเทพฯ…ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว” เปรียบเทียบกับ ปี 2567 ป้าย “กรุงเทพฯ • Bangkok” ถูกเปลี่ยนใหม่ ในยุค ผู้ว่าฯ ชัชชาติ พร้อม ชวน ประชาชน ถ่ายรูปป้าย Bangkok ใหม่

ทำให้มีคนเข้าไปรีทวิตว่า เทียบเทสการแต่งตัวของ ผว.อภิรักษ์กับชัชชาติ ก็น่าจะเดาเทสเรื่องอื่นได้ อีกคอมเมนต์บอกว่า  ชอบแบบเก่ามากกว่า คำว่า  City of Life มันสื่ออะไรหลายๆ อย่าง ทำให้คำว่า Bangkok มีเอกลักษณ์ สร้างภาพจำให้ นทท ว่า เป็นเมืองที่คึกคัก มีชีวิตชีวา  เอาออกไปเหลือแค่ Bangkok ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากป้ายบอกทาง นทท อยู่ที่ไหนก็เห็นได้ ไม่ต่องถ่อมาถึงใจกลาง กทม หรอก , ของเก่า Font มันสวยนะ ขนาดผ่านมาเป็นสิบ ยี่สิบปียังดูทันสมัยไม่ตกยุคอยู่เลย มีความเป็นธรรมชาติ รสนิยมดี อันใหม่มันดูทื่อๆโบราณๆอ่ะ , ผมว่าอันเดิมมันสร้างอัตลักษณ์ขึ้ยมาได้ สร้างชื่อขึ้นมา มีเอกลักษณ์ดีแล้ว ทำใหม่เนี่ยมันล้างอันเดิมทิ้งเลย เหมือนบอกว่าต้องมานะจุดนี้ๆ ทั้งที่อันเก่ามันไม่ได้แย่ แค่ปรับปรุงก็พอ , เปลี่ยนแล้วช่วยทำให้ดูดีและสมราคาหน่อย , ขวัญใจ 1.3ล้านเสียง โค ตะ ระ ไร้รสนิยม🙄

Exit mobile version